Content-Length: 166438 | pFad | http://th.wikipedia.org/wiki/Constitution_of_3_May_1791

รัฐธรรมนูญ 3 พฤษภาคม ค.ศ. 1791 - วิกิพีเดีย ข้ามไปเนื้อหา

รัฐธรรมนูญ 3 พฤษภาคม ค.ศ. 1791

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Constitution of 3 May 1791)
พระราชบัญญัติการปกครอง
หน้าแรกของต้นฉบับรัฐธรรมนูญ 3 พฤษภาคม ค.ศ. 1791 จดทะเบียน (มุมขวาบน) เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม ค.ศ. 1791
สร้าง6 ตุลาคม ค.ศ. 1788 – 3 พฤษภาคม ค.ศ. 1791
ให้สัตยาบัน3 พฤษภาคม 1791; 233 ปีก่อน (1791-05-03)
ที่ตั้งหอจดหมายเหตุบันทึกประวัติศาสตร์กลาง, กรุงวอร์ซอ
ผู้เขียน

รัฐธรรมนูญ 3 พฤษภาคม ค.ศ. 1791[1][a] หรือพระราชบัญญัติการปกครอง[b] เป็นรัฐธรรมนูญที่นำมาใช้โดยสภาเซย์มใหญ่ ("สภาเซย์มสี่ปี" ซึ่งประชุมใน ค.ศ. 1788–1792) สำหรับเครือจักรภพโปแลนด์–ลิทัวเนีย ซึ่งเป็นรัฐทวิราชาธิปไตยอันประกอบด้วยราชบัลลังก์แห่งราชอาณาจักรโปแลนด์และแกรนด์ดัชชีลิทัวเนีย รัฐธรรมนูญถูกออกแบบมาเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องทางการเมืองของเครือจักรภพ ซึ่งก่อนหน้านี้มีช่วงเวลาแห่งความปั่นป่วนและค่อย ๆ นำเสนอการปฏิรูป โดยเริ่มด้วยการประชุมเซย์มใน ค.ศ. 1764 และการเลือกสตาญิสวัฟ เอากุสตุส ปอญาตอฟสกี ผู้จะกลายเป็นกษัตริย์พระองค์สุดท้ายของเครือจักรภพขึ้นสู่ราชบัลลังก์ รัฐธรรมนูญนี้ถือเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 2 ในประวัติศาสตร์ ต่อจากรัฐธรรมนูญสหรัฐ

รัฐธรรมนูญพยายามที่จะใช้ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น นำเสนอความเท่าเทียมกันทางการเมืองระหว่างชาวเมืองและขุนนาง และกำหนดให้ชาวนาอยู่ภายใต้การคุ้มครองของรัฐบาล บรรเทาการละเมิดที่เลวร้ายที่สุดของทาสติดที่ดิน รัฐธรรมนูญห้ามสถาบันรัฐสภาที่เป็นอันตรายเช่นการยับยั้งเสรีภาพซึ่งทำให้เซย์มตกอยู่ในความเมตตาของสมาชิกของสภาผู้ใดก็ตามที่สามารถยับยั้งและยกเลิกกฎหมายทั้งหมดที่รับรองโดยเซย์มนั้น ประเทศเพื่อนบ้านของเครือจักรภพมีปฏิกิริยาเป็นปรปักษ์ต่อการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พระเจ้าฟรีดริช วิลเฮ็ล์มที่ 2 แห่งปรัสเซียทรงทำลายพันธมิตรของปรัสเซียกับเครือจักรภพโปแลนด์–ลิทัวเนีย และทรงเข้าร่วมกับจักรวรรดิรัสเซียของเยกาเจรีนามหาราชินีและสมาพันธ์ทาร์โกวิกาของผู้ต่อต้านการปฏิรูปชาวโปแลนด์เพื่อเอาชนะเครือจักรภพในสงครามโปแลนด์-รัสเซียใน ค.ศ. 1792

รัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1791 มีผลบังคับใช้ไม่ถึง 19 เดือน[2][3] รัฐธรรมนูญถูกประกาศให้เป็นโมฆะโดยสภาเซย์มกรอดโนที่ประชุมใน ค.ศ. 1793[1][3] แม้ว่าอำนาจทางกฎหมายของเซย์มที่จะทำเช่นนั้นก็ยังมีข้อกังขา[3] การแบ่งดินแดนครั้งที่สองและสามของโปแลนด์ (ค.ศ. 1793, ค.ศ. 1795) ทำให้อำนาจอธิปไตยของโปแลนด์สิ้นสุดลงในที่สุดจนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่หนึ่งสิ้นสุดใน ค.ศ. 1918 ตลอด 123 ปีที่ผ่านมา รัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1791 ช่วยให้ชาวโปแลนด์มีแรงบันดาลใจในการฟื้นฟูอำนาจอธิปไตยของประเทศในที่สุด ในคำพูดของผู้ร่างหลักสองคน Ignacy Potocki และ Hugo Kołątaj รัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1791 คือ "เจตจำนงและพินัยกรรมฉบับสุดท้ายของมาตุภูมิที่กำลังจะสิ้นสุดลง"[c]

รัฐธรรมนูญ 3 พฤษภาคม ค.ศ. 1791 ได้รวมสาธารณรัฐที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขเข้ากับการแบ่งอำนาจบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการอย่างชัดเจน โดยทั่วไปรัฐธรรมนูญฉบับนี้ถือว่าเป็นรัฐธรรมนูญแห่งชาติที่ลงลายลักษณ์อักษรสมัยใหม่ฉบับแรกของยุโรปและฉบับที่สองของโลกรองจากรัฐธรรมนูญสหรัฐที่มีผลบังคับใช้ใน ค.ศ. 1789[3][d]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. โปแลนด์: Konstytucja 3 maja; ลิทัวเนีย: Gegužės trečiosios konstitucija ไม่พบไฟล์เสียง "Gegužės_trečiosios_konstitucija.ogg"
  2. โปแลนด์: Ustawa Rządowa
  3. Piotr Machnikowski renders the Polish "Ojczyzna" as "Fatherland".[2] The "literal" English translation of "ojczyzna" is indeed "fatherland": both these words are calques of the Latin "patria," which itself derives from the Latin "pater" ("father"). The English translation of the Constitution of 3 May 1791, by Christopher Kasparek, reproduced in Wikisource (e.g. at the end of section II, "The Landed Nobility") renders "ojczyzna" as "country", which is the usual English-language equivalent of the expression. In this particular context, "Homeland" may be the most natural rendering.
  4. การอ้างสิทธิ์ของรัฐธรรมนูญ "ฉบับแรก" และ "ฉบับที่สอง" ได้รับการโต้แย้ง รัฐธรรมนูญของสหรัฐและโปแลนด์-ลิทัวเนียนำหน้าด้วยเอกสารก่อนหน้านี้ซึ่งไม่ได้แยกอำนาจบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการออกจากกันโดยสิ้นเชิงดังที่มงแต็สกีเยอกล่าวถึง เช่นตราสารรัฐบาล ค.ศ. 1653 และบทบัญญัติแห่งสมาพันธรัฐ ค.ศ. 1777 ซึ่งทั้งสองอย่างนี้รู้จักกันดีแต่ขาดการแบ่งไตรภาคี รัฐธรรมนูญคอร์ซิกา ค.ศ. 1755 ที่มีอายุสั้นและไม่ค่อยมีคนรู้จักก็เช่นกัน[4] ซึ่งแยกฝ่ายบริหารกับฝ่ายตุลาการออกจากกันอย่างชัดเจน[5] ดูเพิ่มที่ประวัติสาสตร์รัฐธรรมนูญ

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Norman Davies (15 May 1991). The Third of May 1791 (PDF). Minda de Gunzburg Center for European Studies, Harvard University.
  2. 2.0 2.1 Piotr Machnikowski (1 December 2010). Contract Law in Poland. Kluwer Law International. p. 20. ISBN 978-90-411-3396-0. สืบค้นเมื่อ 12 July 2011.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 Jan Ligeza (2017). Preambuła Prawa [The Preamble of Law] (ภาษาโปแลนด์). Polish Scientific Publishers PWN. p. 12. ISBN 978-83-945455-0-5.
  4. Dorothy Carrington (July 1973). "The Corsican constitution of Pasquale Paoli (1755–1769)". The English Historical Review. 88 (348): 481–503. doi:10.1093/ehr/lxxxviii.cccxlviii.481. JSTOR 564654.
  5. H. G. Koenigsberger (1986). Politicians and Virtuosi: Essays on Early Modern History (Vol. 49). A&C Black. ISBN 978-0-90-762865-1. สืบค้นเมื่อ 10 December 2017.

แหล่งข้อมุลอื่น

[แก้]








ApplySandwichStrip

pFad - (p)hone/(F)rame/(a)nonymizer/(d)eclutterfier!      Saves Data!


--- a PPN by Garber Painting Akron. With Image Size Reduction included!

Fetched URL: http://th.wikipedia.org/wiki/Constitution_of_3_May_1791

Alternative Proxies:

Alternative Proxy

pFad Proxy

pFad v3 Proxy

pFad v4 Proxy