นาดาร์
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
นาดาร์ (อังกฤษ: Nadar) หรือ กัสปาร์ด-เฟลิกซ์ ตูร์นาคง (ฝรั่งเศส: Gaspard-Félix Tournachon) (6 เมษายน พ.ศ. 2363 – 21 มีนาคม พ.ศ. 2453) เป็นนักถ่ายภาพชาวฝรั่งเศส ซึ่งไม่ได้เป็นที่รู้จักเฉพาะงานที่เกี่ยวกับการถ่ายภาพเท่านั้น เขายังเป็นที่รู้จักในพรสวรรค์ของเขาในด้าน นักวารสาร นักแต่งนวนิยาย นักประดิษฐ์บอลลูน และนักสังคม แม้ว่าเขาจะต่ำต้อยแต่เขาก็ก้าวสู่ระดับของสังคมที่สูงขึ้นได้
ประวัติ
[แก้]กัสปาร์ด ฟีลิซ ทัวนาคอน เกิดเมื่อวันที่ (6 เมษายน ค.ศ.1820 ที่เมืองLyon ปารีส ประเทศฝรั่งเศส และเสียชีวิตในวันที่ 21 มีนาคม ค.ศ.1910)
ปี 1838 บ้านของเขาได้ล้มละลาย เขาจึงเริ่มเขียนภาพการ์ตูนประกอบคำบรรยายเป็นเรื่องและลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์เขาใช้นามแฝงว่า "Nadar"
ในปี 1842 นาดาร์ตั้งถิ่นฐานในกรุงปารีสและเริ่มที่จะขายภาพล้อเลียนแก่นิตยสารตลก
ในปี 1853 นาดาร์ได้เปิดร้านถ่ายภาพขึ้นในกรุงปารีส โดยร่วมงานกับน้องชายของเขา ตอนแรกนาด้าร์ได้ถ่ายภาพด้วยกระบวนการดาแกโรไทป์ แต่เมื่อมีกระบวนการกระจกเปียกเข้ามา เขาจึงได้เปลี่ยนมาให้กระบวนการใหม่ทันที และก็เป็นที่นิยมของบุคคลสำคัญที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้นมาก ร้านถ่ายภาพของเขาจึงได้กลายเป็นเขตของท้องถิ่นและเป็นสถานที่ประชุมซึ่งเป็นที่ชื่นชอบของกลุ่มคนในปารีส
ในปี 1856 นาด้าร์ได้ถ่ายภาพบนบอลลูนครั้งแรก เขาได้สร้างบอลลูนที่ใหญ่ที่สุดในโลก และตั้งชื่อว่า “The Giant” โดยนำกล้องถ่ายภาพขึ้นไป การถ่ายภาพจากบอลลูนเป็นการถ่ายภาพแนวใหม่ที่เรียกร้องความสนใจได้มาก
ในปี 1855 เขามีความคิดที่จะใช้ภาพถ่ายบนอากาศ เพื่อใช้ทำแผนที่และการสำรวจ อย่างไรก็ตาม มันยังไม่สำเร็จ จนกระทั่งปี 1858 เขาสามารถถ่ายภาพจากบนอากาศได้สำเร็จ เป็นภาพแรกของโลกจากบอลลูน
ในปี 1858 ความอยากรู้อยากเห็นของเขาทำให้เขาออกจากโรงถ่ายและหันไปถ่ายรูปที่โพรงใต้ดิน ซึ่งเขาเป็น 1 ใน กลุ่มคนแรก ๆ ที่ถ่ายรูปโดยใช้แสงที่สร้างขึ้นเอง ในครั้งหนึ่งขณะที่กำลังถ่ายภาพบนบอลลูน บอลลูนได้เกิดชำรุดขึ้น ทำให้บอลลูนลอยไปตกที่ประเทศเยอรมนี แต่เขาไม่ได้รับบาดเจ็บแต่อย่างใด ทำให้นาด้าร์มีความคิดที่จะจัดกิจการโดยสารด้วยบอลลูน เขาได้จัดตั้งสายการบินเพื่อรับส่งผู้คนจากเมืองหนึ่งไปยังอีกเมืองหนึ่ง แต่กิจการของเขาไม่สำเร็จ นาด้าร์จึงหันกลับมาเขียนหนังสือและได้เลิกกิจการถ่ายภาพ ส่วนด้านธุรกิจเขายกให้ลูกชายเป็นคนดำเนินกิจการต่อไป
กระบวนการถ่ายภาพบนบอลลูน
[แก้]นาด้าร์ ถ่ายด้วยกระบวนการกระบวนการกระจกเปียก ซึ่งต้องทำเพลทให้เสร็จภายใน 20 นาที และถ่ายก่อนแพลทแห้ง นาด้าร์จึงมีมืดในตะกร้าใต้ลูกบอลลูน นาด้าร์ได้เขียนเล่าไว้ว่า "ภายใต้ลูกบอลลูน เราทำกระโจมผ้าใบเล็ก ๆ ไว้หลังหนึ่ง ข้างในมืดสนิทปราศจากแสงใด ๆ มารบกวน นอกจากแสงสีเหลืองเข้มจากกระจกเล็ก ๆ ที่ทำไว้ให้เลื่อนได้เมื่อต้องการ ข้างในค่อนข้างร้อน แต่กระจกเคลือบน้ำยาและเคมีภัณฑ์อื่น ๆ เย็นดี เพราะว่าแช่อยู่ในน้ำแข็ง" หลังจากถ่ายผู้ช่วยที่พื้นดินดึงเชือกกลับมา เพื่อล้างเพลท
ภาพผลงาน
[แก้]-
Jules Favre in 1865
-
Léon Gambetta in 1870
-
Gustave Doré (1859)
-
George Sand (1864)
-
Marquis de Galliffet, the fusilleur de la Commune
-
Le Bris and his flying machine, Albatros II
-
Nadar (Gaspard-Félix Tournachon) - Self-portrait