สมเด็จพระจักรพรรดิอะเลคซันดร์ที่ 1 แห่งรัสเซีย

จักรพรรดิอะเลคซันดร์ที่ 1 หรือพระนามเต็มคือ อะเลคซันดร์ ปัฟโลวิช (รัสเซีย: Александр Павлович 23 ธันวาคม [ตามปฎิทินเก่า: 12 ธันวาคม] ค.ศ. 1777 – 1 ธันวาคม [ตามปฎิทินเก่า: 19 พฤศจิกายน] ค.ศ. 1825) เป็นจักรพรรดิแห่งรัสเซียระหว่าง ค.ศ. 1801 ถึง ค.ศ. 1825 และเป็นกษัตริย์แห่งโปแลนด์องค์แรกที่เป็นชาวรัสเซีย ระหว่างค.ศ. 1815 ถึง 1825 และยังทรงเป็นแกรนด์ดยุกแห่งฟินแลนด์ชาวรัสเซียองค์แรกเช่นกัน นอกจากนี้ พระองค์ยังเป็นบิดาอุปถัมภ์ของเจ้าหญิงอเล็กซันดรินา วิกตอเรีย แห่งเคนต์ (ภายหลังคือสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย)

อะเลคซันดร์ที่ 1
พระสาทิสลักษณ์โดย
จอร์จ ดอว์ ป. 1825–26
จักรพรรดิแห่งรัสเซียทั้งปวง
ครองราชย์23 มีนาคม 1801 – 19 พฤศจิกายน 1825
ราชาภิเษก27 กันยายน 1801[a]
ก่อนหน้าจักรพรรดิปัฟเวลที่ 1
ถัดไปจักรพรรดินีโคไลที่ 1
พระราชสมภพ23 ธันวาคม ค.ศ. 1777(1777-12-23)
เซนต์ปีเตอส์เบิร์ก, จักรวรรดิรัสเซีย
สวรรคต19 พฤศจิกายน ค.ศ. 1825(1825-11-19) (47 ปี)
ตาเกนรอค, จักรวรรดิรัสเซีย
ฝังพระศพ13 มีนาคม 1826
มหาวิหารปีเตอร์และพอล
คู่อภิเษกเยลีซาเวตา อะเลคเซยีฟนา (ลูอีเซอแห่งบาเดิน) (สมรส 1793)
พระราชบุตรนีโคไล ลูกาซ (นอกกฎหมาย)
พระนามเต็ม
อะเลคซันดร์ ปัฟโลวิช โรมานอฟ
ราชวงศ์ฮ็อลชไตน์-ก็อทตาร์ฟ-โรมานอฟ
พระราชบิดาจักรพรรดิปัฟเวลที่ 1 แห่งรัสเซีย
พระราชมารดามารีเยีย เฟโอโดรอฟนา (โซฟี โดโรเทอาแห่งเวือร์ทเทิมแบร์ค)
ศาสนารัสเซียออร์ทอดอกซ์
ลายพระอภิไธย

จักรพรรดิอะเลคซันดร์ที่ 1 เสด็จพระราชสมภพในเซนต์ปีเตอส์เบิร์ก เป็นโอรสของแกรนด์ดยุกพอล เปโตรวิช (ภายหลังคือจักรพรรดิพอลที่ 1) และขึ้นครองราชบังลังก์รัสเซียภายหลังที่พระราชบิดาถูกปลงพระชนม์ พระองค์ปกครองรัสเซียในช่วงที่ยุโรปเกิดสงครามใหญ่ คือสงครามนโปเลียน แม้พระองค์เป็นคนหัวเสรีแต่ก็ทรงใช้นโยบายการปกครองแบบรวมศูนย์ ในปีแรกของรัชสมัย พระองค์ทรงริเริ่มการปฏิรูปขนานเล็กในสังคม และไม่กี่ปีต่อมาก็มีการปฏิรูปสังคมขนานใหญ่ ทรงปฏิรูปการศึกษาให้มีความเป็นเสรี และแม้ว่าทรงให้คำมั่นที่จะปฏิรูปรัฐธรรมนูญและการปฏิรูประบอบทาสอย่างเด็ดขาด แต่ประเด็นนี้ก็ไม่มีอะไรที่เป็นรูปธรรม

พระองค์เข้าร่วมกับพันธมิตรต่อต้านนโปเลียนแห่งฝรั่งเศสที่มีสหราชอาณาจักรเป็นแกนนำ โดยในปี 1805 ได้เข้าร่วมกับสหราชอาณาจักรในสงครามสหสัมพันธมิตรครั้งที่สาม จนกระทั่งพบความพ่ายแพ้ใหญ่หลวงในยุทธการที่เอาสเทอร์ลิทซ์ ก็ทำให้พระองค์หันมาผูกมิตรกับนโปเลียน หลังจากนั้น รัสเซียก็หันไปทำการรบย่อยทางทะเลกับสหราชอาณาจักรระหว่างปี 1807 ถึง 1812 อย่างไรก็ตาม พระองค์กับนโปเลียนก็มีความขัดแย้งกันเสมอในเรื่องเกี่ยวกับโปแลนด์ ความขัดแย้งนี้ทำให้พันธมิตรรัสเซีย-ฝรั่งเศสพังทลายลงในปี 1810 และทำให้นโปเลียนยกทัพเข้ารุกรานรัสเซียในปี 1812 ซึ่งนำความพินาศย่อยยับมาสู่กองทัพของนโปเลียน นอกจากนี้ ยังทรงยึดครองดินแดนได้อีกมายมาย อาทิ บางส่วนของจอร์เจีย, ดาจีสถานในปัจจุบัน และยังแย่งชิงอาเซอร์ไบจานมาจากเปอร์เซีย

ความดีความชอบในการมีส่วนร่วมโค่นล้มนโปเลียน ทำให้รัสเซียได้ดินแดนในฟินแลนด์และโปแลนด์บางส่วนมา และพระองค์ยังได้จัดตั้งพันธมิตรอันศักดิ์สิทธิ์เพื่อหยุดยั้งกระแสการปฏิวัติในทวีปยุโรปซึ่งพระองค์มองว่าเป็นภัยคุกคามที่ชั่วร้ายต่อระบอบกษัตริย์ชาวคริสต์อันชอบธรรม ในช่วงครึ่งหลังของรัชกาล อะเลคซันดร์เริ่มกลายเป็นจักรพรรดิผู้บ้าอำนาจ ก่อให้เกิดกลุ่มต่อต้านพระองค์มากมาย และพระองค์เองก็มีจิตหวาดระแวงต่อแผนลับเพื่อโค่นล้มพระองค์ ส่งผลให้การปฏิรูปหลายอย่างที่พระองค์ทำเอาไว้ก่อนหน้าเป็นอันยุติ พระองค์สั่งปิดโรงเรียนที่มีครูต่างชาติ การศึกษามีความยึดโยงกับศาสนามากขึ้น เช่นเดียวกับระบบการปกครองที่ดูโน้มเอียงสู่แบบเก่า

จักรพรรดิอะเลคซันดร์ที่ 1 สวรรคตจากไข้รากสาดใหญ่เมื่อปี 1825 ขณะเดินทางประพาสภาคใต้ของรัสเซีย และเนื่องจากพระองค์ไม่มีทายาท ส่งผลให้แกรนด์ดยุกคอนสแตนติน ปาฟโลวิช พระอนุชาองค์ใหญ่ซึ่งประทับอยู่ในโปแลนด์ กลายเป็นทายาทโดยสันนิษฐาน ในการนี้ แกรนด์ดยุกนีโคลัส พระอนุชาองค์เล็ก เป็นผู้ออกคำประกาศในเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กให้แกรนด์ดยุกคอนสแตนตินเป็นจักรพรรดิองค์ใหม่ แต่เมื่อคำประกาศเดินทางถึงโปแลนด์ แกรนด์ดยุกคอนสแตนตินกลับปฏิเสธราชสมบัติ ส่งผลให้ราชสมบัติตกสู่แกรนด์ดยุกนีโคลัส

หมายเหตุ

แก้
  1. [ตามปฎิทินเก่า: 15 กันยายน]

อ้างอิง

แก้
  • Avery, Peter; Fisher, William Bayne; Hambly, Gavin; Melville, Charles (1991). The Cambridge history of Iran: From Nadir Shah to the Islamic Republic. Cambridge University Press. p. 332. ISBN 978-0-521-20095-0.
  • Baddeley, John F. (1908). The Russian Conquest of the Caucasus. London: Longmans, Green and Company. p. 67.
  • Berlin, A. (1768). "Table 23". Genealogie ascendante jusqu'au quatrieme degre inclusivement de tous les Rois et Princes de maisons souveraines de l'Europe actuellement vivans [Genealogy up to the fourth degree inclusive of all the Kings and Princes of sovereign houses of Europe currently living] (ภาษาฝรั่งเศส). Bourdeaux: Frederic Guillaume Birnstiel. p. 23.
  • Chapman, Tim (2001). Imperial Russia, 1801–1905 (illustrated, reprint ed.). Routledge. p. 29. ISBN 978-0-415-23110-7.


ก่อนหน้า สมเด็จพระจักรพรรดิอะเลคซันดร์ที่ 1 แห่งรัสเซีย ถัดไป
จักรพรรดิพอลที่ 1    
จักรพรรดิแห่งรัสเซีย
(24 มีนาคม ค.ศ. 1801 – 1 ธันวาคม ค.ศ. 1825)
  แกรนด์ดยุกคอนสตันติน
(โต้แย้ง)
pFad - Phonifier reborn

Pfad - The Proxy pFad of © 2024 Garber Painting. All rights reserved.

Note: This service is not intended for secure transactions such as banking, social media, email, or purchasing. Use at your own risk. We assume no liability whatsoever for broken pages.


Alternative Proxies:

Alternative Proxy

pFad Proxy

pFad v3 Proxy

pFad v4 Proxy