พ.ศ. 2435
ปี
พุทธศักราช 2435 (นับแบบใหม่) ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1892 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน
- ปีมะโรง จัตวาศก จุลศักราช 1254 (วันที่ 13 เมษายน เป็นวันเถลิงศก)
ศตวรรษ: | |
---|---|
ปี: |
ปฏิทินสุริยคติไทย | 2435 |
ปฏิทินกริกอเรียน | 1892 MDCCCXCII |
Ab urbe condita | 2645 |
ปฏิทินอาร์มีเนีย | 1341 ԹՎ ՌՅԽԱ |
ปฏิทินอัสซีเรีย | 6642 |
ปฏิทินบาไฮ | 48–49 |
ปฏิทินเบงกอล | 1299 |
ปฏิทินเบอร์เบอร์ | 2842 |
ปีในรัชกาลอังกฤษ | 55 Vict. 1 – 56 Vict. 1 |
พุทธศักราช | 2436 |
ปฏิทินพม่า | 1254 |
ปฏิทินไบแซนไทน์ | 7400–7401 |
ปฏิทินจีน | 辛卯年 (เถาะธาตุโลหะ) 4588 หรือ 4528 — ถึง — 壬辰年 (มะโรงธาตุน้ำ) 4589 หรือ 4529 |
ปฏิทินคอปติก | 1608–1609 |
ปฏิทินดิสคอร์เดีย | 3058 |
ปฏิทินเอธิโอเปีย | 1884–1885 |
ปฏิทินฮีบรู | 5652–5653 |
ปฏิทินฮินดู | |
- วิกรมสมวัต | 1948–1949 |
- ศกสมวัต | 1814–1815 |
- กลียุค | 4993–4994 |
ปฏิทินโฮโลซีน | 11892 |
ปฏิทินอิกโบ | 892–893 |
ปฏิทินอิหร่าน | 1270–1271 |
ปฏิทินอิสลาม | 1309–1310 |
ปฏิทินญี่ปุ่น | ศักราชเมจิ 25 (明治25年) |
ปฏิทินจูเช | N/A |
ปฏิทินจูเลียน | กริกอเรียนลบ 12 วัน |
ปฏิทินเกาหลี | 4225 |
ปฏิทินหมินกั๋ว | 20 ก่อน ROC 民前20年 |
ผู้นำ
แก้- พระมหากษัตริย์: พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 – 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453)
- เจ้าประเทศราช:
- เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่: พระเจ้าอินทวิชยานนท์ (พ.ศ. 2416 - 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2440)
- เจ้าผู้ครองนครลำพูน: เจ้าเหมพินธุไพจิตร (พ.ศ. 2434 - 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2439)
- เจ้าผู้ครองนครลำปาง:
- เจ้าผู้ครองนครน่าน: เจ้าอนันตวรฤทธิเดช (14 พฤษภาคม พ.ศ. 2395 - 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2435)
- เจ้าผู้ครองนครแพร่: เจ้าพิริยเทพวงษ์ (5 เมษายน พ.ศ. 2433 - 25 กันยายน พ.ศ. 2445)
- เจ้าประเทศราช:
เหตุการณ์
แก้- 1 เมษายน - สยามประกาศตั้งกระทรวง 12 กระทรวงคือ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงกลาโหม กระทรวงนครบาล กระทรวงวัง กระทรวงเกษตรพาณิชการ (กระทรวงพาณิชย์ และ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในปัจจุบัน) กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงพระคลัง กระทรวงยุทธนาธิการ กระทรวงยุติธรรม กระทรวงธรรมการ กระทรวงโยธาธิการ กระทรวงมุรธาธร และเลิกตำแหน่งสมุหนายก
- 3 เมษายน - ลดฐานะกระทรวงยุทธนาการเป็นกรมยุทธนาการ
- 28 พฤษภาคม - เจ้าอนันตวรฤทธิเดช เจ้านครเมืองน่าน (ถึงแก่พิราลัย)
- 21 กันยายน - ออกหนังสือพิมพ์ยุทธโกษฉบับแรก
- 23 ธันวาคม - อังกฤษประกาศจุดยืนของตนต่อฝรั่งเศสว่าจะไม่ขยายอิทธิพลไปไกลกว่าแม่น้ำโขง
- 14 มีนาคม - ม. ปาวี เรียกร้องให้สยามถอนตัวออกจากฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง
- 31 มีนาคม - ทหารฝรั่งเศสรุกล้ำด่านสยามในดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงเป็นครั้งแรกทำให้มีกรณี ร.ศ. 112 ตามมา
- 27 ตุลาคม - ไทยเสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำสาละวิน (5 เมืองเงี้ยว และ13 เมืองกะเหรี่ยง) ให้กับ อังกฤษ ตรงกับสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕)
วันเกิด
แก้- 1 มกราคม - สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย (สวรรคต 24 กันยายน พ.ศ. 2472)
- 3 มกราคม - เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน นักเขียนนิยายแฟนตาซี เดอะฮอบบิท และเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ (เสียชีวิต 2 กันยายน พ.ศ. 2516)
- 21 กุมภาพันธ์ - พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรณ์ศิริประสาธน์ (สิ้นพระชนม์ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2443)
- 30 มีนาคม - พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าลวาดวรองค์ (สิ้นพระชนม์ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2436)
- 21 เมษายน - คัง พัน-ซ็อก มารดาของคิม อิล-ซ็อง (เสียชีวิตเมื่อ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2475)
- 5 กรกฎาคม - สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราไชย (สิ้นพระชนม์ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2466)
- 12 สิงหาคม - พระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน) สมาชิกคนสำคัญของคณะราษฎรผู้เปลี่ยนแปลงการปกครองสยาม (เสียชีวิต 1 มิถุนายน พ.ศ. 2487)
- 9 กันยายน - แจ็ก วอร์เนอร์ ผู้ก่อตั้งสตูดิโอฮอลลีวูด (เสียชีวิต พ.ศ. 2521)
- 10 กันยายน - อาร์เทอร์ คอมป์ตัน นักฟิสิกส์ชาวอเมริกัน (เสียชีวิต พ.ศ. 2505)
- 25 ตุลาคม - พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวัลลภาเทวี (สิ้นพระชนม์ 7 เมษายน พ.ศ. 2494)
วันถึงแก่กรรม
แก้- 21 มกราคม – จอห์น คุช อดัมส์ นักคณิตศาสตร์และนักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษ (เกิด พ.ศ. 2362)
- 28 พฤษภาคม - เจ้าอนันตวรฤทธิเดช เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 62 และองค์ที่ 12 แห่งราชวงศ์ติ๋นมหาวงศ์ (ประสูติ พ.ศ. 2348)
- 6 ตุลาคม – อัลเฟร็ด ลอร์ด เทนนิสัน กวีชาวอังกฤษ (เกิด พ.ศ. 2352)
- 28 กันยายน – สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 8 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (ประสูติ 14 กันยายน พ.ศ. 2352)