พ.ศ. 2554
พุทธศักราช 2554 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2011 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น
- ปีเถาะ ตรีศก จุลศักราช 1373 (วันที่ 16 เมษายน เป็นวันเถลิงศก)
- ปีสากลแห่งป่าไม้
- ปีสากลแห่งเคมี[1]
ศตวรรษ: | |
---|---|
ปี: |
ปฏิทินสุริยคติไทย | 2554 |
ปฏิทินกริกอเรียน | 2011 MMXI |
Ab urbe condita | 2764 |
ปฏิทินอาร์มีเนีย | 1460 ԹՎ ՌՆԿ |
ปฏิทินอัสซีเรีย | 6761 |
ปฏิทินบาไฮ | 167–168 |
ปฏิทินเบงกอล | 1418 |
ปฏิทินเบอร์เบอร์ | 2961 |
ปีในรัชกาลอังกฤษ | 59 Eliz. 2 – 60 Eliz. 2 |
พุทธศักราช | 2555 |
ปฏิทินพม่า | 1373 |
ปฏิทินไบแซนไทน์ | 7519–7520 |
ปฏิทินจีน | 庚寅年 (ขาลธาตุโลหะ) 4707 หรือ 4647 — ถึง — 辛卯年 (เถาะธาตุโลหะ) 4708 หรือ 4648 |
ปฏิทินคอปติก | 1727–1728 |
ปฏิทินดิสคอร์เดีย | 3177 |
ปฏิทินเอธิโอเปีย | 2003–2004 |
ปฏิทินฮีบรู | 5771–5772 |
ปฏิทินฮินดู | |
- วิกรมสมวัต | 2067–2068 |
- ศกสมวัต | 1933–1934 |
- กลียุค | 5112–5113 |
ปฏิทินโฮโลซีน | 12011 |
ปฏิทินอิกโบ | 1011–1012 |
ปฏิทินอิหร่าน | 1389–1390 |
ปฏิทินอิสลาม | 1432–1433 |
ปฏิทินญี่ปุ่น | ศักราชเฮเซ 23 (平成23年) |
ปฏิทินจูเช | 100 |
ปฏิทินจูเลียน | กริกอเรียนลบ 13 วัน |
ปฏิทินเกาหลี | 4344 |
ปฏิทินหมินกั๋ว | ROC 100 民國100年 |
เวลายูนิกซ์ | 1293840000–1325375999 |
ผู้นำประเทศไทย
แก้- พระมหากษัตริย์: พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (พ.ศ. 2489 – พ.ศ. 2559)
- นายกรัฐมนตรี:
สำหรับผู้นำประเทศอื่น ๆ ดู รายชื่อผู้นำประเทศ พ.ศ. 2554
เหตุการณ์
แก้มกราคม
แก้- 9 มกราคม - เซาท์ซูดานจัดการลงประชามติแยกตัวเป็นอิสระจากซูดาน
- 11 มกราคม - อุทกภัยและโคลนถล่มในรัฐรีโอเดจาเนโรของบราซิล ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 845 ศพ[2][3][4][5]
- 14 มกราคม - อาหรับสปริง, การปฏิวัติตูนิเซีย: รัฐบาลตูนิเซียล่มหลังการประท้วงที่ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ นานร่วมเดือน ประธานาธิบดีซีน เอล อาบีดีน เบน อาลีลี้ภัยไปยังซาอุดิอาระเบียหลังจากครองอำนาจมานานกว่า 23 ปี[6][7]
- 24 มกราคม - เกิดเหตุระเบิดท่าอากาศยานนานาชาติโดโมเดโดโว นอกมอสโก ประเทศรัสเซีย ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 35 ศพ และได้รับบาดเจ็บอีกอย่างน้อย 100 ราย[8]
กุมภาพันธ์
แก้- 11 กุมภาพันธ์ - ฮุสนี มูบารักประกาศลาออกจากประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐอาหรับอียิปต์ โดยอำนาจการปกครองอยู่กับกองทัพจนกว่าจะจัดการเลือกตั้งทั่วไปได้[9]
- 22 กุมภาพันธ์ - เกิดแผ่นดินไหวความรุนแรง 6.3 แมกนิจูด ที่เมืองไครสต์เชิร์ช ประเทศนิวซีแลนด์ สร้างความเสียหายเป็นวงกว้าง และมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 166 คน[10]
มีนาคม
แก้- 11 มีนาคม - เกิดเหตุแผ่นดินไหวขนาด 9.0[11] บริเวณตะวันออกเฉียงเหนือของญี่ปุ่นทำให้เกิดคลื่นสึนามิพัดเข้าถล่มตามมา มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 15,800 คน และอีก 2,600 คนหายสาบสูญ ประกาศแจ้งเตือนภัยคลื่นสึนามิถูกส่งออกไปใน 50 ประเทศรอบมหาสมุทรแปซิฟิก มีการประกาศเหตุฉุกเฉินที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์สี่แห่งที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว[12]
- 17 มีนาคม - สงครามกลางเมืองลิเบีย พ.ศ. 2554: สมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติมีมติ 10-0 เสียง ให้กำหนดเขตห้ามบินเหนือลิเบีย จากข้อกล่าวหาที่รัฐบาลใช้กำลังเข้าปราบปรามพลเรือน[13]
- 19 มีนาคม - สงครามกลางเมืองลิเบีย: การเข้าแทรกแซงทางทหารในลิเบียภายใต้ข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่ 1973 เริ่มต้นขึ้นเมื่อเครื่องบินลาดตระเวนเจ็ตของฝรั่งเศสเริ่มบินเหนือน่านฟ้าลิเบีย[14]
- 23 มีนาคม - จัดตั้งจังหวัดบึงกาฬตามพระราชบัญญัติตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. 2554 [15]
เมษายน
แก้- 11 เมษายน - อดีตประธานาธิบดีโกตดิวัวร์ โรลอง จิบักโบ ถูกจับกุมในบ้านพักของเขาในอาบิดจัน โดยผู้สนับสนุนประธานาธิบดีอลัสซาน อูอัตทารา โดยได้รับการสนับสนุนจากกองกำลังฝรั่งเศส และเป็นจุดสิ้นสุดของวิกฤตการณ์โกตดิวัวร์และสงครามกลางเมือง พ.ศ. 2553-2554[16]
- 29 เมษายน - พระราชพิธีเสกสมรสระหว่างเจ้าชายวิลเลียม ดยุกแห่งเคมบริดจ์กับแคเธอริน มิดเดิลตัน ณ แอบบีเวสต์มินสเตอร์ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร มีประชาชนอย่างน้อย 2 พันล้านคนดูการถ่ายทอดทางโทรทัศน์[17]
พฤษภาคม
แก้- 2 พฤษภาคม - ประธานาธิบดีสหรัฐ บารัค โอบามา แถลงว่า บิน ลาเดน หัวหน้าอัลกออิดะห์ เสียชีวิตจากการบุกเข้าสังหารของหน่วยซีล ที่ประเทศปากีสถาน
- 21 พฤษภาคม - เถ้าภูเขาไฟจากการปะทุของภูเขาไฟใต้กริมสวอทน์ในไอซ์แลนด์ เริ่มกีดขวางการสัญจรทางอากาศในยุโรปเหนือและยุโรปตะวันตก เหตุการณ์ที่คล้ายกันกับการปิดน่านฟ้าจากการปะทุของเอยาฟยาตลาเยอคุตล์เมื่อ พ.ศ. 2553[18][19][20][21]
มิถุนายน
แก้- 4 มิถุนายน - เกิดการปะทุของภูเขาไฟปูเยอวย ในชิลี ทำให้เกิดการยกเลิกการสัญจรทางอากาศทั่วทวีปอเมริกาใต้ นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย และมีการอพยพประชาชนกว่า 3,000 คน
- 5 มิถุนายน - อาหรับสปริง: ประธานาธิบดีอาลี อับดุลลาห์ ซาเลห์เดินทางไปกรุงริยาด ซาอุดิอาระเบีย เพื่อรักษาอาการบาดเจ็บซึ่งได้มาระหว่างการโจมตีทำเนียบประธานาธิบดี[22]
กรกฎาคม
แก้- 3 กรกฎาคม - การผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะเทียมประสบความสำเร็จครั้งแรกในโลก โดยใช้หลอดลมเทียมที่หุ้มด้วยสเต็มเซลล์[23]
- 9 กรกฎาคม - เซาท์ซูดานแยกตัวเป็นเอกราชจากสาธารณรัฐซูดาน ตามผลการลงประชามติแยกตัวเป็นเอกราชเมื่อเดือนมกราคมปีนี้[24]
- 20 กรกฎาคม - สหประชาชาติประกาศทุพภิกขภัยในโซมาเลียใต้ เป็นครั้งแรกในรอบสามสิบปี[25]
- 21 กรกฎาคม - กระสวยอวกาศแอตแลนติสลงจอดที่ศูนย์อวกาศเคนเนดี จบภารกิจในเที่ยวบิน STS-135 และปิดโครงการกระสวยอวกาศขององค์การนาซา[26]
- 22 กรกฎาคม - มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 77 คนในเหตุโจมตีก่อการร้ายสองครั้งในนอร์เวย์ ประกอบด้วยการวางระเบิดอาคารรัฐบาลในกรุงออสโล ตามด้วยเหตุยิงในค่ายเยาวชนการเมืองบนเกาะอูเตอยา[27][28][29]
- 25 กรกฎาคม - เกิดมหาอุทกภัยครั้งใหญ่ในประเทศไทย ทำให้มีผู้เสียชีวิตถึง 813 ราย ธนาคารโลกประเมินมูลค่าความเสียหายสูงถึง 1.44 ล้านล้านบาท
สิงหาคม
แก้- 5 สิงหาคม - นาซาประกาศว่า มาร์สรีคอนเนสเซนซ์ออร์บิเตอร์สามารถจับหลักฐานภาพถ่ายที่อาจมีน้ำในสถานะของเหลวอยู่บนดาวอังคาร
- 22 สิงหาคม - ระหว่างสงครามกลางเมืองลิเบีย ฝ่ายกบฏบุกเข้าสู่กรุงทริโปลี และส่งผลโค่นล้มรัฐบาลมูอัมมาร์ กัดดาฟี[30]
กันยายน
แก้- 5 กันยายน - อินเดียและบังกลาเทศลงนามสนธิสัญญายุติข้อพิพาทการปักปันเขตนานร่วม 40 ปี[31]
- 10 กันยายน - เหตุเรือข้ามฟากล่มในแซนซิบาร์: เรือข้ามฟากเอ็มวี สไปซ์ ไอส์แลนเดอร์ 1 บรรทุกผู้โดยสารอย่างน้อย 800 คน จมนอกชายฝั่งแซนซิบาร์ มีตัวเลขยืนยันผู้เสียชีวิต 240 คน[32]
ตุลาคม
แก้- 18 ตุลาคม - อิสราเอลและกลุ่มติดอาวุธปาเลสไตน์ ฮามาส เริ่มการแลกเปลี่ยนนักโทษครั้งใหญ่ โดยทหารกองทัพอิสราเอล กิลัด ชาลิต แลกเปลี่ยนกับนักโทษปาเลสไตน์และอิสราเอล-อาหรับ 1,027 คนในอิสราเอล ในจำนวนนี้มีนักโทษ 280 คนที่รับโทษจำคุกตลอดชีวิตในข้อหาวางแผนและเตรียมการโจมตีก่อการร้าย[33][34][35]
- 20 ตุลาคม -
- อาหรับสปริงและสงครามกลางเมืองลิเบีย พ.ศ. 2554 : อดีตผู้นำลิเบีย มูอัมมาร์ กัดดาฟี ถูกฆ่าในเซิร์ต ขณะที่กองกำลังสภาถ่ายโอนอำนาจแห่งชาติเข้ายึดนคร สำนักข่าวหลายแห่งบอกว่าเป็นจุดยุติของสงคราม[36][37][38][39][40]
- องค์การติดอาวุธแบ่งแยกดินแดนบาสก์ เอตา ประกาศยุติการทัพแห่งความรุนแรงทางการเมืองนาน 43 ปี ซึ่งเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตไปมากกว่า 800 คน ตั้งแต่ พ.ศ. 2502[41]
- 23 ตุลาคม - แผ่นดินไหวทำลายล้างความรุนแรง 7.2 โมเมนต์แมกนิจูดสั่นสะเทือนทางตะวันออกของตุรกีใกล้กับนครวาน ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 582 คน และสร้างความเสียหายแก่อาคารราว 2,200 หลัง[42]
- 27 ตุลาคม - หลังการประชุมฉุกเฉินในบรัสเซลส์ สหภาพยุโรปประกาศความตกลงที่จะจัดการกับวิกฤตหนี้สาธารณะยุโรป อันรวมไปถึงการปรับลดมูลค่าสินทรัพย์ 50% ของพันธบัตรกรีซ, การปรับโครงสร้างเงินทุนธนาคารยุโรปและการเพิ่มกองทุนช่วยเหลือของกองทุนรักษาเสถียรภาพการเงินยุโรป รวมมูลค่า 1 ล้านล้านยูโร[43][44]
- 31 ตุลาคม -
- ประชากรโลกแตะเจ็ดพันล้านคน ตามการประเมินของสหประชาชาติ[45]
- ยูเนสโกยอมรับปาเลสไตน์เข้าเป็นสมาชิก หลังการออกเสียงซึ่งรัฐสมาชิก 107 ประเทศสนับสนุน และ 14 ประเทศคัดค้าน[46]
พฤศจิกายน
แก้- 26 พฤศจิกายน - โรเวอร์ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ดาวอังคาร คิวริออซิตี พาหนะสำรวจดาวอังคารที่ซับซ้อนที่สุดถึงปัจจุบัน ถูกปล่อยขึ้นสู่อวกาศจากศูนย์อวกาศเคนเนดี มีกำหนดลงจอดบนดวงจันทร์ในวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2555[47][48][49]
ธันวาคม
แก้- 15 ธันวาคม - สหรัฐประกาศยุติสงครามอิรักอย่างเป็นทางการ[50][51][52][53][54]
- 16 ธันวาคม - พายุโซนร้อนวาชิส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 1,249 คนในน้ำป่าไหลหลากในฟิลิปปินส์ โดยมีผู้ถูกขึ้นบัญชีว่าสูญหายอย่างเป็นทางการ 1,079 คน[55]
- 29 ธันวาคม - ซามัวและโตเกเลาย้ายจากฝั่งตะวันออกมาเป็นตะวันตกของเส้นแบ่งเขตวันสากล เพื่อจัดเขตเวลาของตนให้เข้ากันได้ดีขึ้นกับคู่ค้าหลัก หมายความว่า ทั้งสองจะไม่มีวันที่ 30 ธันวาคมปีนี้[55]
วันเกิด
แก้วันถึงแก่กรรม
แก้มกราคม
แก้- 2 มกราคม – พีท โพสเทลเวท นักแสดงชาวอังกฤษ (เกิด พ.ศ. 2488)
- 4 มกราคม
- เจ้าชายอาลี เรซา ปาห์ลาวีที่ 2 แห่งจักรวรรดิอิหร่าน (ประสูติ 28 เมษายน พ.ศ. 2509)
- 6 มกราคม – ปอง ปรีดา นักร้องลูกทุ่ง
- 12 มกราคม – อุดม อุดมโรจน์ ผู้กำกับภาพยนตร์ (เกิด พ.ศ. 2496)
- 19 มกราคม – มานพ สัมมาบัติ ผู้กำกับละครโทรทัศน์ (เกิด พ.ศ. 2488)
- 30 มกราคม –
- พระธรรมวิสุทธิมงคล (บัว ญาณสมฺปนฺโน) พระชาวไทย (เกิด พ.ศ. 2456)
- จอห์น แบร์รี นักแต่งเพลงชาวอังกฤษ (เกิด 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476)
กุมภาพันธ์
แก้- 6 กุมภาพันธ์ – แกรี มัวร์ นักร้อง นักดนตรี และนักแต่งเพลงชาวไอร์แลนด์ (เกิด พ.ศ. 2495)
- 23 กุมภาพันธ์ – เจ้าหญิงอะซาเดห์ ชาฟิก (ประสูติ พ.ศ. 2494)
- 28 กุมภาพันธ์ – เจน รัสเซลล์ นักแสดงชาวอเมริกัน (เกิด 21 มิถุนายน พ.ศ. 2464)
มีนาคม
แก้- 5 มีนาคม – อัลเบร์โต กรานาโด นักประพันธ์และนักวิทยาศาสตร์ชาวคิวบา (เกิด 8 สิงหาคม พ.ศ. 2465)
- 11 มีนาคม – สมเด็จพระมหาธีราจารย์ (นิยม ฐานิสฺสโร) (เกิด พ.ศ. 2466)
- 18 มีนาคม – เจ้าหญิงอองตัวแนตแห่งโมนาโก (ประสูติ พ.ศ. 2463)
- 23 มีนาคม – เอลิซาเบธ เทย์เลอร์ นักแสดงชาวอังกฤษ-อเมริกัน (เกิด พ.ศ. 2475)
เมษายน
แก้- 24 เมษายน – สัตยะ สาอีพาพา นักบวชชาวอินเดีย (เกิด 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2469)
พฤษภาคม
แก้- 2 พฤษภาคม – อุซามะห์ บิน ลาดิน หัวหน้ากลุ่มอัลกออิดะห์ (เกิด พ.ศ. 2500)
- 20 พฤษภาคม – แรนดี ซาเวจ นักมวยปล้ำอาชีพชาวอเมริกัน (เกิด 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2495)
มิถุนายน
แก้กรกฎาคม
แก้- 4 กรกฎาคม – ออตโต ฟอน ฮับส์บูร์ก (พระราชสมภพ พ.ศ. 2455)
- 8 กรกฎาคม –
- เบ็ตตี ฟอร์ด อดีตสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งของสหรัฐ (เกิด พ.ศ. 2461)
- 17 กรกฎาคม – ซาวาดะ ไทจิ นักดนตรีชาวญี่ปุ่น (เกิด พ.ศ. 2509)
- 23 กรกฎาคม – เอมี ไวน์เฮาส์ นักร้องและนักแต่งเพลงชาวอังกฤษ (เกิด พ.ศ. 2526)
- 27 กรกฎาคม – สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี (ประสูติ พ.ศ. 2468)
สิงหาคม
แก้กันยายน
แก้- 8 กันยายน – หวอ จี๊ กง ประธานสภาแห่งรัฐเวียดนาม คนที่ 2 (เกิด 7 สิงหาคม พ.ศ. 2455)
- 10 กันยายน – คลิฟฟ์ รอเบิร์ตสัน นักแสดงชาวอเมริกัน (เกิด 9 กันยายน พ.ศ. 2466)
- 20 กันยายน – บูร์ฮานุดดีน รับบานี ประธานาธิบดีแห่งรัฐอิสลามอัฟกานิสถาน (เกิด 20 กันยายน พ.ศ. 2483)
ตุลาคม
แก้- 5 ตุลาคม – สตีฟ จอบส์ วิศวกรคอมพิวเตอร์ชาวอเมริกัน (เกิด พ.ศ. 2498)
- 12 ตุลาคม – เดนนิส ริตชี นักวิทยาการคอมพิวเตอร์ชาวอเมริกัน (เกิด พ.ศ. 2484)
- 20 ตุลาคม – มูอัมมาร์ กัดดาฟี ผู้นำเผด็จการชาวลิเบีย (เกิด พ.ศ. 2485)
- 23 ตุลาคม – มาร์โก ซีมอนเชลลี นักแข่งรถจักรยานยนต์ชาวอิตาลี (เกิด พ.ศ. 2530)
- 24 ตุลาคม – เค็ง ยะมะงุชิ นักพากย์ชาวญี่ปุ่น (เกิด 24 มีนาคม พ.ศ. 2499)
พฤศจิกายน
แก้- 27 พฤศจิกายน – แกรี สปีด นักฟุตบอลและผู้จัดการทีมฟุตบอลชาวเวลส์ (เกิด ค.ศ. 1969)
ธันวาคม
แก้- 14 ธันวาคม – โจ ไซมอน นักวาดการ์ตูนชาวอเมริกัน (เกิด พ.ศ. 2456)
- 17 ธันวาคม – คิม จองอิล ประธานาธิบดีเกาหลีเหนือ (เกิด พ.ศ. 2485)
รางวัลสำคัญ
แก้- สาขาเคมี – แดน เชชท์มัน
- สาขาวรรณกรรม – โทมัส ทรานสโตรเมอร์
- สาขาสันติภาพ – เอลเลน จอห์นสัน เซอร์ลีฟ, เลย์มาห์ โบวี, ตะวักกุล กัรมาน
- สาขาฟิสิกส์ – ซอล เพิร์ลมัตเตอร์, อดัม รีส, ไบรอัน ชมิดต์
- สาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ – บรูซ บิวต์เลอร์, ฌูเลส์ ฮอฟฟ์แมนน์, ราล์ฟ สไตน์แมน
- สาขาเศรษฐศาสตร์ – โทมัส ซาร์เจนต์, คริสโตเฟอร์ ซิมส์
วันสำคัญทางศาสนาและพิธีกรรม
แก้- 3 กุมภาพันธ์ - วันตรุษจีน
- 18 กุมภาพันธ์ - วันมาฆบูชา
- 13-15 เมษายน - สงกรานต์
- 13 พฤษภาคม - วันพืชมงคล
- 17 พฤษภาคม - วันวิสาขบูชา
- 6 มิถุนายน - วันบะจ่าง
- 15 กรกฎาคม - วันอาสาฬหบูชา
- 16 กรกฎาคม - วันเข้าพรรษา
- 14 สิงหาคม - วันสาร์ทจีน
- 12 กันยายน - วันไหว้พระจันทร์
- 12 ตุลาคม - วันออกพรรษา
- 10 พฤศจิกายน - วันลอยกระทง
- 25 ธันวาคม - วันคริสต์มาส
บันเทิงคดีที่อ้างอิงถึงปีนี้
แก้ภาพยนตร์
แก้- มือปืน/โลก/พระ/จัน (พ.ศ. 2544) ดำเนินเรื่องภายในปีนี้
อ้างอิง
แก้- ↑ "United Nations Observances". United Nations. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 4, 2023. สืบค้นเมื่อ July 5, 2012.
- ↑ "Número de mortes na Região Serrana continua a subir após 16 dias de buscas" (ภาษาโปรตุเกส). 27 January 2011.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "Sobe número de mortes na Região Serrana após 14 dias de buscas a vítimas das chuvas" (ภาษาโปรตุเกส). 25 January 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-01-28. สืบค้นเมื่อ 2011-01-29.
- ↑ "Número de mortos na Região Serrana chega a 809; desaparecidos são 469" (ภาษาโปรตุเกส). 23 January 2011.
- ↑ World, irishtimes.com (January 16, 2011). "Death toll from Brazil floods hits 600". Irish Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-22. สืบค้นเมื่อ 16 January 2011.
- ↑ Wyre Davies (15 December 2010). "BBC News – Tunisia: President Zine al-Abidine Ben Ali forced out". BBC News. สืบค้นเมื่อ 2011-01-14.
- ↑ "Uprising in Tunisia: People Power topples Ben Ali regime". Indybay. 16 January 2011. สืบค้นเมื่อ 2011-01-26.
- ↑ Ferris-Rotman, Amie (24 January 2011). "Suicide bomber kills 31 at Russia's biggest airport". Reuters. สืบค้นเมื่อ 24 January 2011.
- ↑ "Hosni Mubarak resigns as president" (ภาษาอังกฤษ). AlJazeera. 11 February 2011. สืบค้นเมื่อ 11 February 2011.
- ↑ "Multiple deaths as quake strikes Christchurch - ABC News (Australian Broadcasting Corporation)". abc.net.au. 22 February 2011. สืบค้นเมื่อ 22 February 2011.
- ↑ "Tsunami warning center raises magnitude of Japan quake to 9.1". Honolulu Star-Advertiser. March 11, 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-22. สืบค้นเมื่อ March 11, 2011.
- ↑ "Japan earthquake live blog: Death toll rises amid widespread destruction". CNN blog. TimeWarner. 12 March 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-16. สืบค้นเมื่อ 12 March 2011.
- ↑ http://www.libyafeb17.com/
- ↑ Kirkpatrick, David D.; Bumiller, Elisabeth (19 March 2011). "France Sends Military Flights Over Libya". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 19 March 2011.
- ↑ "พระราชบัญญัติตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. 2554" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 128 (18 ก): 1. 2011-03-22. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-04-09. สืบค้นเมื่อ 2011-03-22.
- ↑ "Gbagbo, wife in Ouattara's custody in I.Coast: UN | Top News | Reuters". Af.reuters.com. 11 April 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-26. สืบค้นเมื่อ 11 April 2011.
- ↑ Royal wedding: The world watches William and Kate
- ↑ Eurocontrol news
- ↑ Scottish flights grounded by Iceland volcanic ash cloud
- ↑ "Iceland eruption hits Norwegian flights". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-26. สืบค้นเมื่อ 2011-05-25.
- ↑ Eurocontrol news
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-27. สืบค้นเมื่อ 2011-06-07.
- ↑ "Surgeons carry out first synthetic windpipe transplant". BBC. BBC. 7 July 2011. สืบค้นเมื่อ 8 July 2011.
- ↑ "South Sudan: New nation". BBC. BBC. 9 July 2011. สืบค้นเมื่อ 9 July 2011.
- ↑ "Somalia on verge of famine". CBC News. 18 July 2011. สืบค้นเมื่อ 18 July 2011.
- ↑ Cheryl L. Mansfield (27 กรกฎาคม 2554). "STS-135: The Final Voyage". NASA. สืบค้นเมื่อ 22 ธันวาคม 2554.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ Duxbury, Charles; Hovland, Kjetil (23 July 2011), "Savage Terror Attacks", The Wall Street Journal, สืบค้นเมื่อ 23 July 2011,
...at Least 87 Dead
. - ↑ Birnbaum, Michael; Mala, Elisa; Goodman, J David (22 July 2011), "At Least 80 Are Dead in Norway Shooting", The New York Times, สืบค้นเมื่อ 23 July 2011.
- ↑ "Norway attacks: At least 87 dead in shootings at youth conference, Oslo explosion", The Washington Post, 22 July 2011, สืบค้นเมื่อ 23 July 2011,
...at least 80 people shot to death at a youth political conference outside Oslo after a massive explosion in the capital’s government district killed at least seven people, according to Norwegian police
. - ↑ "Live - Gaddafi silent as rebels enter Tripoli". RTE. RTE. 22 August 2011. สืบค้นเมื่อ 22 August 2011.
- ↑ http://ibnlive.in.com/news/indiabangladesh-sign-pact-on-border-demarcation/181937-3.html เก็บถาวร 2012-06-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน India-Bangladesh sign pact on border demarcation
- ↑ 197 bodies retrieved in Tanzania ferry accident: Minister Xinhua 11th September 2011
- ↑ After 5 years in captivity, Shalit is back home - CNN.com
- ↑ Gilad Shalit release: Palestinian prisoner exchange getting under way | World news | guardian.co.uk
- ↑ Schalit reunites with parents, PM... JPost - Diplomacy & Politics
- ↑ "NTC claims capture of Gaddafi - Africa". Al Jazeera English. 2011-10-04. สืบค้นเมื่อ 2011-10-20.
- ↑ "BBC News - Col Gaddafi killed". Bbc.co.uk. สืบค้นเมื่อ 2011-10-20.
- ↑ "Gaddafi dies of wounds - NTC official | Reuters". Uk.reuters.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-21. สืบค้นเมื่อ 2011-10-20.
- ↑ "Muammar Gaddafi 'killed' in gun battle - Africa". Al Jazeera English. 2011-10-04. สืบค้นเมื่อ 2011-10-20.
- ↑ "Footage shows Gaddafi's bloodied body - Middle East". Al Jazeera English. 2011-10-04. สืบค้นเมื่อ 2011-10-20.
- ↑ http://politica.elpais.com/politica/2011/10/19/actualidad/1319056094_153776.html
- ↑ "Earthquake Report - 2011 Van earthquake". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-22. สืบค้นเมื่อ 2011-11-04.
- ↑ "Leaders agree eurozone debt deal after late-night talks". BBC News. 27 October 2011. สืบค้นเมื่อ 27 October 2011.
- ↑ Bhatti, Jabeen (27 October 2011). "EU leaders reach a deal to tackle debt crisis". USA Today. สืบค้นเมื่อ 27 October 2011.
- ↑ "Population seven billion: UN sets out challenges". BBC News. 2011-10-26. สืบค้นเมื่อ 2011-10-30.
- ↑ "General Conference admits Palestine as UNESCO Member". 2011-10-31. สืบค้นเมื่อ 2011-12-11.
- ↑ Dunn, Marcia (26 November 2011). "NASA launches world's largest rover to Mars". The Globe and Mail. Cape Canaveral, Florida. The Associated Press.
- ↑ Klotz, Irene (27 November 2011). "NASA rover launched to seek out life clues on Mars". Cape Canaveral, Florida. Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-28. สืบค้นเมื่อ 2011-12-31.
- ↑ "NASA launches new Mars rover". Al Jazeera. 26 November 2011.
- ↑ "US flag ceremony ends Iraq operation". BBC. สืบค้นเมื่อ 15 December 2011.
- ↑ Easley, Jonathan (December 15, 2011). "Panetta marks Iraq war's end in Baghdad". DEFCON Hill – The HILL’S Defense Blog. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-13. สืบค้นเมื่อ 15 December 2011.
- ↑ "US lowers flag to end Iraq war". The Associated Press. December 15, 2011. สืบค้นเมื่อ 15 December 2011.
- ↑ "U.S. formally ends Iraq war with little fanfare". The Associated Press. December 15, 2011. สืบค้นเมื่อ 15 December 2011.[ลิงก์เสีย]
- ↑ Mak, Tim (December 15, 2011). "Leon Panetta marks end of Iraq war". POLITICO.com. สืบค้นเมื่อ 15 December 2011.
- ↑ 55.0 55.1 "SitRep No. 21 (Re) Effects of Tropical Storm "SENDONG" (WASHI)" (PDF). Phillippines: National Disaster Risk Reduction and Management Council. 28 December 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-02. สืบค้นเมื่อ 28 December 2011.
- หว่า แซ่อึ้ง, เลี๊ยกไฮ้ แซ่โอ้ว, ปฏิทิน 100 ปี เทียบ 3 ภาษา, (ไม่ทราบปีที่พิมพ์).
- โกออนเจอร์ ในช่วง Go-on Seminar ตอนที่ 32