มะม่วง

สายพันธุ์ของพืช

มะม่วง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Mangifera Indica) เป็นไม้ยืนต้นในสกุล Mangifera ซึ่งเป็นไม้ผลเมืองร้อนในวงศ์ Anacardiaceae[3] (กลุ่มเดียวกับถั่วพิสตาชีโอและมะม่วงหิมพานต์) เชื่อว่าเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในภูมิภาคอินเดีย บังกลาเทศ และพม่าตะวันตกเฉียงเหนือ ซึ่งเห็นได้จากความหลากหลายทางพันธุกรรมและร่องรอยฟอสซิลจำนวนมาก นับย้อนไปได้ถึง 25 – 30 ล้านปีก่อน[4] มะม่วงมีความแตกต่างประมาณ 49 สายพันธุ์กระจายอยู่ตามประเทศในเขตร้อนตั้งแต่อินเดียไปจนถึงฟิลิปปินส์ จากนั้นจึงแพร่หลายไปทั่วโลก เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง ใบโต ยาว ปลายแหลม ขอบใบเรียบ ใบอ่อนสีแดง ออกดอกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ดอกขนาดเล็ก สีขาว ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีเหลือง เมล็ดแบน เปลือกหุ้มเมล็ดแข็ง

มะม่วง
สถานะการอนุรักษ์

ไม่มีข้อมูล  (IUCN 3.1)[1]
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
อาณาจักร: พืช
Plantae
เคลด: พืชมีท่อลำเลียง
Tracheophyta
เคลด: พืชดอก
Angiosperms
เคลด: พืชใบเลี้ยงคู่แท้
Eudicots
เคลด: โรสิด
Rosids
อันดับ: เงาะ
Sapindales
วงศ์: วงศ์มะม่วง
สกุล: สกุลมะม่วง

L.[2]
สปีชีส์: Mangifera indica
ชื่อทวินาม
Mangifera indica
L.[2]
ชื่อพ้อง[2]
  • Mangifera amba Forssk.
  • Mangifera anisodora Blanco
  • Mangifera austroyunnanensis Hu
  • Mangifera balba Crevost & Lemarié
  • Mangifera cambodiana (Pierre) Anon.
  • Mangifera domestica Gaertn.
  • Mangifera equina Crevost & Lemarié
  • Mangifera gladiata Bojer
  • Mangifera kukulu Blume
  • Mangifera laxiflora Desr.
  • Mangifera linnaei Korth. ex Hassk.
  • Mangifera maritima Lechaume
  • Mangifera mekongensis (Pierre) Anon.
  • Mangifera montana B.Heyne ex Wight & Arn.
  • Mangifera oryza Crevost & Lemarié
  • Mangifera rostrata Blanco
  • Mangifera rubra Bojer
  • Mangifera sativa Roem. & Schult.
  • Mangifera siamensis Warb. ex Craib
  • Mangifera viridis Bojer

มะม่วงเป็นผลไม้เศรษฐกิจ ปลูกเป็นพืชสวน ประเทศไทยส่งออกมะม่วงเป็นอันดับ 3 รองจากฟิลิปปินส์ และเม็กซิโก[5] เป็นผลไม้ประจำชาติของอินเดีย[6] ปากีสถาน และฟิลิปปินส์ รวมทั้งบังกลาเทศ[7]

สายพันธุ์พื้นเมือง

แก้

มะม่วงมีสายพันธุ์มากมายดังที่ปรากฏในหนังสือพรรณพฤกษาของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ที่กล่าวถึงมะม่วงในสมัยรัชกาลที่ 5 ไว้กว่า 50 พันธุ์ โดยสายพันธุ์ที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย เช่น เขียวเสวย แรด น้ำดอกไม้ โชคอนันต์ อกร่อง ตัวอย่าง เช่น

  • เขียวเสวย เป็นพันธุ์พื้นเมืองของนครปฐม ผลยาว ด้านหลังผลโค้งนูนออก ปลายแหลม ผิวเรียบ สีเขียวเข้ม เปลือกหนา เหนียว ผลแก่รสมัน[8]
  • น้ำดอกไม้ เป็นพันธุ์ที่กินผลสุก รูปร่างยาวเรียว ผลดิบเนื้อขาว รสเปรี้ยวจัด ผลสุกสีเหลืองนวล รสหวาน
  • อกร่องทอง เป็นพันธุ์เก่าแก่ นิยมกินกับข้าวเหนียวมูน ผลค่อนข้างเล็ก มีร่องเป็นแนวยาวที่ด้านท้อง ผลสุก เนื้อละเอียด มีเสี้ยนน้อย
  • ฟ้าลั่น ผลกลม ท้ายแหลม ลูกขนาดกลาง นิยมกินผลแก่ มีรสมัน เมื่อปอกเปลือก เนื้อมะม่วงจะปริแตก
  • หนังกลางวัน ผลยาวคล้ายงาช้าง แก่จัดรสมันอมเปรี้ยว สุกรสหวาน
  • แก้ว นิยมกินดิบ ผลอ้วนป้อม เปลือกเหนียว เมื่อเกือบสุกเปลือกจะมีสีอมส้มหรืออมแดง
  • โชคอนันต์ รูปร่างยาว ปลายมน กลายพันธุ์มาจากมะม่วงป่า นิยมนำไปทำมะม่วงดอง
  • มหาชนก เป็นลูกผสมระหว่างมะม่วงพันธุ์หนังกลางวันกับพันธุ์ซันเซ็ตจากอินเดีย ผลยาวรี สุกสีเหลืองเข้ม มีริ้วสีแดง เนื้อไม่เละ กลิ่นหอม จะสุกในช่วงที่มะม่วงพันธุ์อื่นวายแล้ว

การใช้ประโยชน์

แก้
มะม่วงดิบ
คุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 กรัม (3.5 ออนซ์)
พลังงาน250 กิโลจูล (60 กิโลแคลอรี)
15 g
น้ำตาล13.7 g
ใยอาหาร1.6 g
0.38 g
0.82 g
วิตามิน
วิตามินเอ
(7%)
54 μg
(6%)
640 μg
ไทอามีน (บี1)
(3%)
0.03 มก.
ไรโบเฟลวิน (บี2)
(3%)
0.04 มก.
ไนอาซิน (บี3)
(4%)
0.67 มก.
(4%)
0.2 มก.
วิตามินบี6
(9%)
0.12 มก.
โฟเลต (บี9)
(11%)
43 μg
วิตามินซี
(43%)
36 มก.
แร่ธาตุ
แคลเซียม
(1%)
11 มก.
เหล็ก
(1%)
0.16 มก.
แมกนีเซียม
(3%)
10 มก.
ฟอสฟอรัส
(2%)
14 มก.
โพแทสเซียม
(4%)
168 มก.
สังกะสี
(1%)
0.09 มก.
ประมาณร้อยละคร่าว ๆ โดยใช้การแนะนำของสหรัฐสำหรับผู้ใหญ่
แหล่งที่มา: USDA FoodData Central

ผลมะม่วงนำมากินได้ทั้งดิบและสุก มะม่วงดิบเปลือกสีเขียวเนื้อสีขาวส่วนใหญ่มีรสเปรี้ยว ยกเว้นบางพันธุ์ที่เรียกว่ามะม่วงมัน ส่วนผลสุกจะมีสีเหลืองทั้งเปลือกและเนื้อ กินสด หรือ นำไปทำเป็นอาหารเช่น ข้าวเหนียวมะม่วง อีกทั้งมีการนำไปแปรรูป เช่น มะม่วงกวน มะม่วงแก้ว มะม่วงดอง มะม่วงแช่อิ่ม มะม่วงเค็ม น้ำแยมมะม่วง พายมะม่วง เป็นต้น แบ่งมะม่วงตามความนิยมในการกินเป็น 3 ประเภทคือ

  • นิยมกินดิบได้แก่พันธุ์ที่มีรสหวานมันตอนแก่จัด เช่น เขียวเสวย แรด พิมเสนมัน ทองดำ เขียวไข่กา หรือมีรสมันตอนอ่อนไม่เปรี้ยว เช่น ฟ้าลั่น หนองแซง มะม่วงเหล่านี้เมื่อสุกแล้วจะหวานชืด ไม่อร่อย
  • นิยมกินสุก เมื่อดิบมีรสเปรี้ยว ต้องบ่มให้สุกก่อนกินเช่น อกร่อง นวลจันทร์ น้ำดอกไม้ นำไปประกอบอาหาร เช่น ใส่ในน้ำพริก ยำ
  • นิยมนำมาแปรรูป แก่จัดมีรสมันอมเปรี้ยว เมื่อสุกหวานอมเปรี้ยว
  • ใช้ยอดอ่อน ผลอ่อน มาประกอบอาหารแทนผัก
  • ใช้เป็นยาสมุนไพร เช่น ผลมะม่วงดิบมีวิตามินซีสูง แก้เลือดออกตามไรฟัน เป็นต้น
  • ใช้เนื้อไม้ นำมาผลิตเป็นเฟอร์นิเจอร์[9]
  • ชาวกะเหรี่ยงในอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่นำเปลือกต้นมะม่วงไปย้อมผ้า ให้สีเขียว[10]

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. Ganesan, S.K (2021). "Mangifera indica". IUCN Red List of Threatened Species. 2021: e.T31389A67735735. doi:10.2305/IUCN.UK.2021-2.RLTS.T31389A67735735.en. สืบค้นเมื่อ 19 November 2021.
  2. 2.0 2.1 "Mangifera". Plants of the World Online. Royal Botanic Gardens, Kew. สืบค้นเมื่อ 8 May 2020.
  3. Julia F Morton (1987). "Mango (Mangifera indica L.)". In: Fruits of Warm Climates; New Crop Resource Online Program, Center for New Crops and Plant Products, Purdue University. pp. 221–239. สืบค้นเมื่อ 24 December 2021.
  4. "INPhO: Compendium Chapter 20 on Mango Section 1". fao.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-04-24.
  5. "ซีพี สำเร็จผลิตมะม่วงนอกฤดู ตั้งเป้าขยายตลาดส่งออกทั้งปี". คมชัดลึกออนไลน์. 2009-11-26.
  6. "National Fruit". Know India. Government of India. สืบค้นเมื่อ 2010-08-17.
  7. "Mango tree, national tree". BDnews24.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-19. สืบค้นเมื่อ 2010-11-16.
  8. "มะม่วงเขียวเสวย ประโยชน์ สรรพคุณ และการปลูกมะม่วงเขียวเสวย".
  9. "เฟอร์นิเจอร์ไม้มะม่วง...ของดี 'คลอง 30'". คมชัดลึกออนไลน์. 2016-04-03.
  10. ขวัญฤทัย คำฝาเชื้อ (2551). พฤกษศาสตร์พื้นบ้านของชาวกะเหรี่ยง ที่ตำบลบ้านจันทร์และแจ่มหลวง อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ วิทยานิพนธ์ (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่) 271 หน้า ดูฉบับเต็ม เก็บถาวร 2021-06-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

อ่านเพิ่ม

แก้
  • Litz, Richard E. (ed. 2009). The Mango: Botany, Production and Uses (2nd edition). CABI. ISBN 978-1-84593-489-7
  • นิดดา หงส์วิวัฒน์ และทวีทอง หงส์วิวัฒน์. มะม่วง ใน ผลไม้ 111 ชนิด: คุณค่าอาหารและการกิน. กทม. แสงแดด. 2550 หน้า 173 - 177

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
pFad - Phonifier reborn

Pfad - The Proxy pFad of © 2024 Garber Painting. All rights reserved.

Note: This service is not intended for secure transactions such as banking, social media, email, or purchasing. Use at your own risk. We assume no liability whatsoever for broken pages.


Alternative Proxies:

Alternative Proxy

pFad Proxy

pFad v3 Proxy

pFad v4 Proxy