ข้ามไปเนื้อหา

คาโซกุ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก คะโซะกุ)
สโมสรขุนนาง กรุงโตเกียว ค.ศ. 1912
คาโซกุ, ภาพหมู่

ขุนนางญี่ปุ่น หรือที่เรียกว่า คาโซกุ (ญี่ปุ่น: 華族) เป็นชนชั้นขุนนางของจักรวรรดิญี่ปุ่น ปรากฏอยู่ระหว่าง 1869 ถึง 1947 ซึ่งหลังปี 1884 ได้พัฒนาเป็นระบบขุนนางสืบตระกูลเหมือนในยุโรป ระบบนี้เริ่มขึ้นจากกลุ่มคนที่เรียกว่า คุเงะ (公家) ซึ่งเป็นเหล่าข้าราชสำนักที่สูญเสียอิทธิพลไปหลังญี่ปุ่นถูกปกครองโดยโชกุน คุเงะเหล่านี้ได้ร่วมล้มล้างระบอบโชกุนและฟื้นฟูระบอบจักรพรรดิได้สำเร็จในปี ค.ศ. 1868[1] หลังจากได้รัฐบาลใหม่ที่มีองค์จักรพรรดิเป็นศูนย์กลาง รัฐบาลใหม่ก็แต่งตั้งคุเงะเหล่านี้เข้าไปกำกับดูแลกรมทั้งเจ็ดซึ่งตั้งขึ้นมาใหม่

25 กรกฎาคม ค.ศ. 1869 รัฐบาลใหม่ซึ่งนิยมตะวันตกทำการจัดตั้งระบบชนชั้นและจำแนกพลเมืองออกเป็นสามชนชั้นได้แก่ คาโซกุ (ขุนนาง), ชิโซะกุ (อดีตซามูไร) และ เฮมิน (สามัญชน) โดยคนในชนชั้นขุนนางประกอบด้วยบรรดาคุเงะและอดีตไดเมียว ซึ่งในขณะนั้นมีตระกูลคุเงะและอดีตไดเมียวอยู่ทั้งสิ้น 427 ตระกูล และมีมากที่สุดถึง 1,016 ตระกูลในปี 1944[2]

จักรพรรดิเมจิทรงเปิดสมัยประชุมสภาขุนนาง ค.ศ. 1890

ในช่วงแรก ขุนนางทุกคนที่ไม่ใช่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองจะต้องพำนักอยู่ภายในโตเกียวเท่านั้น จนเมื่อมีการตั้งระบบเบี้ยหวัดรายเดือนขึ้นมาในปลายปี 1869 ทำให้คาโซกุจำนวนมากยอมทิ้งตำแหน่งทางการเมือง ต่อมาหลังอิโต ฮิโรบูมิ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยกลับจากการเยือนยุโรป ก็มีการผลักดันและตราพระราชบัญญัติขุนนาง ค.ศ. 1884 ซึ่งจะมอบบรรดาศักดิ์ขุนนางให้แก่บุคคลผู้มีความโดดเด่นในการทำคุณให้แก่ประเทศ รัฐบาลกำหนดยศขุนนางเป็นห้าขั้น เหมือนบรรดาศักดิ์อังกฤษ คือ:

  1. เจ้าชาย (公爵 โคชะกุ)
  2. มาร์ควิส (侯爵 โคชะกุ)
  3. เคานต์ (伯爵 ฮักชะกุ)
  4. ไวเคานต์ (子爵 ชิชะกุ)
  5. บารอน (男爵 ดันชะกุ)

พระบรมวงศ์ชั้นชินโนและไนชินโนส่วนมากจะได้รับการเฉลิมพระยศเป็น เจ้าราชสกุล (宮 มิยะ) ซึ่งเทียบเท่ากับดยุกในราชวงศ์อังกฤษ หรือเจ้านายทรงกรมของไทย ในขณะที่ประมุขของห้าราชสกุลในเครือฟุจิวะระ (ราชสกุลโคโนเอะ, ทากาสึกาซะ, คุโจ, อิชิโจ และ นิโจ) มีบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าชายเช่นกัน ส่วนประมุขของตระกูลคุเงะอื่นๆจะได้เป็นมาร์ควิส นอกจากนี้ยังมีการพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นกรณีพิเศษด้วย เช่นประมุขของตระกูลโทกูงาวะก็มีบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าสืบตระกูล

ระบบขุนนางญี่ปุ่นมีความแตกต่างจากระบบขุนนางในยุโรปจุดหนึ่งตรงที่ว่า การสืบตระกูลในยุโรปจะยึดถือตามสิทธิของบุตรหัวปีเป็นหลักและต้องเป็นทายาทตามกฎหมาย แต่ในญี่ปุ่นนั้นไม่จำเป็นเสมอไป บุตรนอกกฎหมายสามารถสืบตระกูลและทรัพย์สิน เพื่อป้องกันการล่มสลายของสายตระกูล นอกจากนี้ ประมุขตระกูลอาจรับเอาทายาทบุญธรรมมาจากตระกูลอื่นก็ได้ (ซึ่งนิยมทำกันบ่อย) โดยไม่จำเป็นว่าตระกูลทั้งสองต้องมีความเกี่ยวข้องกันแต่อย่างใด ทายาทบุญธรรมมีสิทธิเหมือนกับทายาททางสายเลือดทุกประการ

หลังญี่ปุ่นพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่สอง สหรัฐอเมริกาได้ยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับเดิมและร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้นบังคับใช้ในปี ค.ศ. 1946 รัฐธรรรมนูญฉบับใหม่นี้ได้ยกเลิกบรรดาศักดิ์ทั้งหมดของบุคคลที่ไม่ใช่พระราชวงศ์ชั้นสูง

อ้างอิง

[แก้]
  1. Peter Francis Kornicki, The emergence of the Meiji state (1998), p. 115
  2. Kodansha Encyclopedia of Japan, p. 1194.
  • Jansen, Marius B. (2000). The Making of Modern Japan. Cambridge: Harvard University Press. ISBN 978-0-674-00334-7. OCLC 44090600.
  • Lebra, Sugiyama Takie (1993). Above the Clouds: Status Culture of the Modern Japanese Nobility. Berkeley, California: University of California Press. ISBN 978-0-520-07602-0.
  • Wakabayashi, Bob Tadashi (1991). "In Name Only: Imperial Sovereignty in Early Modern Japan". The Journal of Japanese Studies. 17 (1): 25–57.
pFad - Phonifier reborn

Pfad - The Proxy pFad of © 2024 Garber Painting. All rights reserved.

Note: This service is not intended for secure transactions such as banking, social media, email, or purchasing. Use at your own risk. We assume no liability whatsoever for broken pages.


Alternative Proxies:

Alternative Proxy

pFad Proxy

pFad v3 Proxy

pFad v4 Proxy