ข้ามไปเนื้อหา

วิกิพีเดีย:การตรวจสอบเปลี่ยนแปลงล่าสุด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การตรวจสอบบทความ ในวิกิพีเดีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน้าปรับปรุงล่าสุด ดูเพิ่มเติมสำหรับรูปแบบการก่อกวนที่ วิกิพีเดีย:การก่อกวน และการตรวจสอบเฉพาะทางที่ วิกิพีเดีย:หน่วยเก็บกวาดเฉพาะกิจ

การตรวจสอบบทความ

[แก้]

ขั้นตอน

[แก้]
  1. พิจารณาว่าหน้านั้นเหมาะสมในรูปแบบสารานุกรมหรือไม่ ดูว่าบทความควรถูกลบออกหรือว่าควรปรับปรุง
  2. บทความที่ไม่ได้จัดรูปแบบ ส่วนใหญ่แล้วเกิดจากการคัดลอกจากแหล่งอื่นซึ่งอาจละเมิดลิขสิทธิ์
  3. ถ้าต้องการตรวจสอบข้อความล่าสุดที่เข้ามาในวิกิพีเดีย ดูที่ ปรับปรุงล่าสุด (หรือเลือกจากเมนูด้านซ้ายมือ) และถ้าต้องการตรวจดูเฉพาะผู้เขียนที่ไม่ประสงค์ออกนามให้เลือก "ซ่อนผู้ใช้ที่ล็อกอิน"

ข้อแนะนำ

[แก้]
  • อย่ากัดผู้ใช้ใหม่ - ผู้ใช้ใหม่อาจจะมีข้อผิดพลาดบ่อย ให้คำแนะนำและอธิบายรูปแบบในการเขียนบทความ
  • อย่าข้ามหัวผู้อื่น - ระวังถ้าผู้อื่นกำลังแก้ไขงานอยู่ รอจนกว่าแน่ใจว่าผู้ใช้นั้นได้เขียนบทความเสร็จแล้ว ยกเว้นเสียแต่ว่าผู้นั้นมีเจตนาก่อกวน

ป้ายที่ใช้ในการตรวจสอบ

[แก้]

ขั้นที่หนึ่ง : เหมาะสมกับการเป็นสารานุกรม

[แก้]

ป้ายในกลุ่มนี้ จะติดไว้ส่วนบนของบทความเพื่อให้ผู้อ่านรู้ ยกเว้นป้ายแจ้งละเมิดลิขสิทธิ์จะติดไว้เต็มหน้าและนำข้อความเดิมออกหมด ป้ายประเภทนี้จะเป็นการเตือนว่าบทความนั้นควรจะได้รับการปรับปรุงอย่างเร่งด่วนตามที่ได้มีผู้แจ้งเอาไว้ ก่อนที่จะได้พัฒนาบทความให้ดียิ่งขึ้นต่อไป

ต้องการที่จะ ใช้คำสั่ง หมายเหตุ
แจ้งลบบทความ {{ลบ}} บทความไม่ใช่ลักษณะสารานุกรมคือ บทพูดคุย บทวิจารณ์ คำโฆษณาหรือเป็นเรื่องไร้สาระ
แจ้งละเมิดลิขสิทธิ์ {{ละเมิดลิขสิทธิ์}} ถ้าตรวจสอบแล้วรู้ว่าละเมิดลิขสิทธิ์ ใส่ชื่อเว็บ ที่อาจจะมีการคัดลอกมาหลังคำว่า url
แจ้งอาจละเมิดลิขสิทธิ์ {{ตรวจลิขสิทธิ์}} เนื้อหาเหมือนหรือคล้ายกับบทความจากแหล่งอื่น ถ้าพบว่าคัดลอกมาจากแหล่งใดให้เปลี่ยนไปใช้ {{ละเมิดลิขสิทธิ์}}
แจ้งไม่เป็นสารานุกรม {{ไม่เป็นสารานุกรม}} บทความที่ควรมีแต่รูปแบบการเขียนไม่เป็นลักษณะสารานุกรม อาจเหมือนตำราเรียน วิทยานิพนธ์หรือคู่มือการใช้งาน ถ้าไม่มีลักษณะสารานุกรมโดยตรงให้แจ้ง {{ลบ}} แทน
แจ้งการโฆษณา {{โฆษณา}} ถ้าตรวจสอบแล้วรู้สึกว่าบทความนี้อ่านเหมือนการโฆษณาขายของ ชวนเชื่อ ให้คล้อยตาม
แจ้งขาดความสำคัญ {{ขาดความสำคัญ}} บทความดังกล่าวมีลักษณะผิดไปจากเงื่อนไขในการนับว่าเป็นสารานุกรมหรือไม่ได้ระบุความสำคัญของเนื้อหาจนผู้อื่นได้เข้าใจ

ขั้นที่สอง : ปรับปรุงบทความให้ได้ตามมาตรฐาน

[แก้]

เมื่อตรวจสอบผ่านจากป้ายด้านบนแล้ว บทความควรต้องปรับปรุง ป้ายในกลุ่มนี้จะติดไว้ส่วนบนของบทความเพื่อบอกให้ผู้อ่านรู้ หรือติดไว้ส่วนล่างเพื่อให้ผู้เขียนรู้ นอกจากติดป้ายนี้แล้วผู้ติดป้ายสามารถร่วมแก้ไขได้ทันที ซึ่งแนะนำเป็นอย่างยิ่งว่าถ้าการแก้ไขนั้นเป็นการแก้ไขเล็กน้อย ให้ทำการแก้ไขแทนที่ติดป้าย

ต้องการที่จะ ใช้คำสั่ง หมายเหตุ
ตรวจเนื้อหาและรูปแบบ
แจ้งเก็บกวาด {{เก็บกวาด}} บทความที่ต้องการเก็บกวาดเพื่อให้เนื้อหาและรูปแบบ พัฒนาคุณภาพมากยิ่งขึ้น
ตรวจรูปแบบ
ตรวจแก้รูปแบบ {{แก้รูปแบบ}} บทความที่มีเนื้อหาดีแต่รูปแบบต้องการปรับปรุงให้เหมาะสมกับวิกิพีเดีย
เพิ่มวิกิลิงก์ {{ต้องการวิกิลิงก์}} บทความที่มีเนื้อหาดีแต่ต้องการเพิ่มวิกิลิงก์เพื่อให้ได้มาตรฐานวิกิพีเดีย
เหมือนเรซูเม {{เรซูเม}} รูปแบบการเขียนเหมือนลักษณะการเขียนเรซูเมหรือผลงานการเรียนหรือการทำงาน
ตรวจเนื้อหา
แหล่งอ้างอิง {{ต้องการอ้างอิง}} ติดป้ายไว้เพื่อบอกผู้เขียนว่าบทความนี้ต้องการแหล่งอ้างอิงเพิ่มเติมเพื่อให้ดูน่าเชื่อถือ และใช้สำหรับตรวจสอบในกรณีที่เนื้อหาไม่ถูกต้องหรือขัดแย้งกันเอง
ตรวจการใช้ภาษา {{แก้ภาษา}} บทความที่เขียนในลักษณะภาษาพูดหรือมีการใช้ภาษาอื่นปนเป็นจำนวนมากในเนื้อหา
ตรวจสอบความถูกต้อง {{ตรวจสอบความถูกต้อง}} ต้องการให้ตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหา ซึ่งถ้าอ่านและเจอที่ผิดสามารถแก้ไขทันทีโดยไม่ต้องติดป้าย
ให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ {{โปร}} ร้องขอให้ทำการตรวจสอบความถูกต้องโดยผู้เชี่ยวชาญ
ตรวจความไม่เป็นกลาง {{ตรวจความเป็นกลาง}} บทความมีเนื้อหาไม่เป็นกลางโอนเอียงไปทางด้านใดด้านหนึ่งไม่สอดคล้องกับนโยบายมุมมองที่เป็นกลาง
แจ้งไม่เป็นกลาง {{ไม่เป็นกลาง}} หรือ {{ไม่เป็นกลาง-ส่วน}} ถ้าตรวจสอบ แล้วโอนเอียงไปทางด้านใดด้านหนึ่ง ไม่สอดคล้องกับนโยบายมุมมองที่เป็นกลาง
แจ้งอัตชีวประวัติ {{อัตชีวประวัติ}} ถ้าตรวจสอบ แล้วรู้สึกว่าชีวประวัตินี้เหมือนเจ้าตัวหรือบุคคลใกล้ชิดเขียนขึ้นเอง
แจ้งข้อมูลล้าสมัย {{อัปเดต}} ข้อมูลล้าสมัยไม่เป็นข้อมูลปัจจุบัน
พิเศษ {{ข้อควรปรับปรุงของบทความ}} หากใช้ป้ายปรับปรุงบทความเยอะเกินไป ควรเปลี่ยนมาใช้แม่แบบนี้เพื่อให้ง่ายต่ออ่านและปรับปรุง

ขั้นที่สาม : พัฒนาคุณภาพบทความและรูปแบบ

[แก้]

สำหรับบทความที่เนื้อหาและรูปแบบเหมาะสมกับวิกิพีเดียแล้ว อาจจะติดป้ายเหล่านี้เพิ่มเติมเพื่อให้ง่ายต่อการตรวจสอบและแก้ไขในภายหลัง รวมถึงบอกผู้เขียนคนอื่นว่าบทความนี้ยังต้องการส่วนใดเพิ่มเติม

ต้องการที่จะ ใช้คำสั่ง ตำแหน่ง หมายเหตุ
แจ้งว่าเป็นโครง {{โครง}} หรือ {{โครง___}} ล่าง บอกแก่ผู้อ่านและผู้เขียน ว่าบทความนี้ต้องเพิ่มเนื้อหาให้สมบูรณ์มากขึ้น โดยป้ายโครงที่ "โครงเฉพาะ" ตามความเหมาะสม และดูระดับที่ ระดับบทความ
ต้องการหมวดหมู่ {{ต้องการหมวดหมู่}} บน ติดป้ายไว้เพื่อบอกผู้เขียนว่าบทความนี้ ต้องการหมวดหมู่ เพื่อง่ายต่อการสืบค้น ซึ่งในวิกิพีเดียเองนั้น ทุกบทความควรมีหมวดหมู่อย่างน้อย 1 หมวดหมู่
เสนอแนะรวมบทความ {{รวม}} บน แนะนำว่าบทความนี้ควรจะรวมเข้ากับบทความอื่น โดยใส่ชื่อบทความอื่นต่อในป้าย
เสนอแนะแยกบทความ {{แยก}} บน แนะนำให้แยกบทความออก เนื่องจากบทความมีความยาว
เสนอแนะย้ายบทความ {{ย้าย}} บน แนะนำให้ย้ายบทความ ไปโครงการอื่นเช่น วิกิตำรา วิกิพจนานุกรม หรือ วิกิซอร์ซ
มีบทความที่ชื่ออื่น {{ชื่ออื่น}} บน ใช้สำหรับการแก้กำกวมสำหรับบทความหลักที่มีน้ำหนักมากกว่า
ชื่อซ้ำกัน {{แก้กำกวม}} ล่าง ถ้าบทความสองบทความ (หรือมากกว่า) มีน้ำหนักเท่ากัน ให้สร้างหน้ากลาง ดูที่ บาท และใส่ แก้กำกวม ไว้
ถ้าบทความที่มีน้ำหนักมากกว่า ให้ใส่ชื่อหลักไว้ที่หน้าบทความนั้น และอ้างอิงไปบทความเดิมตามด้วย คำว่า " (แก้ความกำกวม) " ดูที่ แมว และ แมว (แก้ความกำกวม)
ใช้ชื่อภาษาอื่น {{ชื่อภาษาอื่น}} บน ถึงแม้ว่าหลักการตั้งชื่อบทความในวิกิพีเดียแนะนำให้ใช้ชื่อภาษาไทยเป็นหลัก เพื่อง่ายต่อการอ้างถึงและเข้าใจต่อผู้อ่าน บางครั้งไม่มีชื่อไทยที่เหมาะสม ให้ติดป้ายนี้ไว้สำหรับตรวจสอบในภายหลัง หรือเมื่อเจอชื่อที่เหมาะสมสามารถกลับมาเปลี่ยนชื่อได้

นอกจากป้ายที่กล่าวมาทั้งหมดแล้ว ยังมีป้ายอีกหลายแบบในวิกิพีเดีย ดูเพิ่มที่ หมวดหมู่:ป้ายในวิกิพีเดีย

pFad - Phonifier reborn

Pfad - The Proxy pFad of © 2024 Garber Painting. All rights reserved.

Note: This service is not intended for secure transactions such as banking, social media, email, or purchasing. Use at your own risk. We assume no liability whatsoever for broken pages.


Alternative Proxies:

Alternative Proxy

pFad Proxy

pFad v3 Proxy

pFad v4 Proxy