ข้ามไปเนื้อหา

สารนาถ

พิกัด: 25°22′52″N 83°01′17″E / 25.3811°N 83.0214°E / 25.3811; 83.0214
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก อิสิปตนมฤคทายวัน)
สารนาถ

सारनाथ

Sarnath, Sārnātha, Mrigadava,
Migadāya, Rishipattana, Isipatana
เมือง
ธรรมเมกขสถูป
สารนาถตั้งอยู่ในรัฐอุตตรประเทศ
สารนาถ
สารนาถ
พิกัด: 25°22′52″N 83°01′17″E / 25.3811°N 83.0214°E / 25.3811; 83.0214
ประเทศอินเดีย
รัฐอุตตรประเทศ
อำเภออำเภอพาราณสี
ภาษา
 • ราชการภาษาฮินดี
เขตเวลาUTC+5:30 (IST)

สารนาถ เป็นพุทธสังเวชนียสถานแห่งที่ 3 (1 ใน 4 แห่งของชาวพุทธ) ตั้งห่างจากเมืองพาราณสี เมืองศูนย์กลางทางศาสนาของศาสนาฮินดู ไปทางเหนือราวเก้ากิโลเมตร อยู่ในรัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดียในปัจจุบัน หรือ แคว้นกาสี ชมพูทวีป ในสมัยพุทธกาล

เหตุที่ได้ชื่อว่าสารนาถ เนื่องมาจากสถานที่แห่งนี้เป็นสถานที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา เริ่มต้นประกาศพระพุทธศาสนาเพื่อเป็นที่พึ่งแก่มหาชนทั้งหลาย และบ้างก็ว่ามาจากศัพท์ว่า สารงฺค + นารถ = ที่อยู่ของสัตว์จำพวกกวาง[1] สารนาถยังรู้จักกันดีในชื่อ "อิสิปตนมฤคทายวัน" หรือ "ฤๅษีปัตนมฤคทายวัน" (บาลี: อิสิปตนมิคทายวน) แปลว่า ป่าอันยกให้แก่หมู่กวาง และเป็นที่ชุมนุมฤๅษี

ภายในอาณาบริเวณสารนาถมี ธรรมเมกขสถูป เป็นพุทธสถานขนาดใหญ่ที่สุดและสำคัญที่สุด สันนิษฐานว่าบริเวณที่ตั้งของธรรมเมกขสถูป เป็นสถานที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนาประกาศพระสัจจธรรมเป็นครั้งแรกที่นี่[2]

สารนาถในสมัยพุทธกาล

[แก้]

สารนาถในสมัยพุทธกาล เรียกกันว่า ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แปลว่า ป่าอันยกให้แก่หมู่กวาง และเป็นที่ชุมนุมฤๅษี เป็นสถานที่สงบและเป็นที่ชุมนุมของเหล่าฤๅษีและนักพรตต่าง ๆ ที่มาบำเพ็ญตบะและโยคะเพื่อเข้าถึงพรหมัน (ตามความเชื่อในคัมภีร์อุปนิษัทของพราหมณ์) ทำให้เหล่าปัญจวัคคีย์ที่ปลีกตัวมาจากเจ้าชายสิทธัตถะ (ที่พระองค์หันมาเสวยอาหารและถูกปัญจวัคคีย์ดูถูกว่าไม่มีทางตรัสรู้) มาบำเพ็ญตบะที่นี่

สถานที่ ๆ พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา เกิดในบริเวณที่ตั้งของ กลุ่มพุทธสถานสารนาถ ภายในอาณาบริเวณของป่าอิสิปตนมฤคทายวัน 9 กิโลเมตรเศษ ทางเหนือของเมืองพาราณสี (เมืองศูนย์กลางทางศาสนาของศาสนาฮินดู) รัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดียในปัจจุบัน (หรือ แคว้นกาสี ชมพูทวีป ในสมัยพุทธกาล) สารนาถ จัดเป็นพุทธสังเวชนียสถานแห่งที่ 3 (1 ใน 4 แห่งของชาวพุทธ) เหตุที่ได้ชื่อว่าสารนาถเนื่องมาจากสถานที่แห่งนี้เป็นสถานที่พระพุทธเจ้าทรงเริ่มต้นประกาศพระพุทธศาสนาเพื่อเป็นที่พึ่งแก่มหาชนทั้งหลาย (บ้างก็ว่ามาจากศัพท์ว่า สารงฺค+นารถ = ที่อยู่ของสัตว์จำพวกกวาง) [1] ภายในอาณาบริเวณสารนาถมี ธรรมเมกขสถูป เป็นพุทธสถานขนาดใหญ่ที่สุดและสำคัญที่สุด เนื่องจากสันนิษฐานว่าบริเวณที่ตั้งของธรรมเมกขสถูป เป็นสถานที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนาประกาศพระสัจจธรรมเป็นครั้งแรกที่นี่

สารนาถหลังพุทธปรินิพพาน

[แก้]

ประมาณ 300 กว่าปีต่อมาหลังพุทธกาล ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช กลุ่มสถานที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมธรรมเทศนาและพระธรรมเทศนาอื่น ๆ แก่เบญจวัคคีย์ และหมู่คันธกุฎีของพระพุทธเจ้า ในบริเวณป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ได้รับการบูรณะและก่อสร้างศาสนสถานเพิ่มเติมครั้งใหญ่เพื่อถวายเป็นอนุสรณียสถานแก่พระพุทธเจ้า และกลุ่มพุทธสถานเหล่านี้ได้เจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุดในสมัยราชวงศ์คุปตะ (บันทึกของพระถังซำจั๋ง (Chinese traveler Hiuen-Tsang) ​ซึ่งได้จาริกมาราว พ.ศ. 1300 ได้บันทึกไว้ว่า "มีพระอยู่ประจำ 1,500 รูป มีพระสถูปสูงประมาณ 100 เมตร มีเสาศิลาจารึกรูปหัวสิงห์ และสิ่งอัศจรรย์มากมาย ฯลฯ") และได้ถูกทิ้งร้างไปเมื่อกษัตริย์โมกุลเข้าปกครองอินเดีย จนท่านอนาคาริก ธรรมปาละ ชาวศรีลังกา ได้มาบูรณะขึ้นใหม่อีกครั้ง และได้รับการบูรณะจากรัฐบาลอินเดียเรื่อยมา ทำให้สารนาถกลายเป็นจุดหมายปลายทางในการแสวงบุญที่สำคัญแห่งหนึ่งของชาวพุทธทั่วโลกมาจนถึงปัจจุบัน

วัดพุทธนานาชาติ

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]
  • วันอาสาฬหบูชา วันสำคัญทางพุทธศาสนาในประเทศไทย ที่มีความเกี่ยวข้องกับสารนาถ

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 ไพโรจน์ คุ้มไพโรจน์.ตามรอยบาทพระศาสดา. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์ธรรมสภา, 2539.
  2. พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) ป.ธ. ๙ ราชบัณฑิต พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด, วัดราชโอรสาราม กรุงเทพฯ พ.ศ. ๒๕๔๘
  • ลักษณา จีระจันทร์, ตามรอยพระพุทธเจ้า, แพรวสำนักพิมพ์, กรุงเทพฯ พ.ศ. ๒๕๔๙

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]


pFad - Phonifier reborn

Pfad - The Proxy pFad of © 2024 Garber Painting. All rights reserved.

Note: This service is not intended for secure transactions such as banking, social media, email, or purchasing. Use at your own risk. We assume no liability whatsoever for broken pages.


Alternative Proxies:

Alternative Proxy

pFad Proxy

pFad v3 Proxy

pFad v4 Proxy