ข้ามไปเนื้อหา

ตัวระบุวัตถุดิจิทัล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Doi (identifier))

ตัวระบุวัตถุดิจิทัล[1] หรือ ตัวบ่งชี้วัตถุดิจิทัล[2] (อังกฤษ: digital object identifier: DOI) เป็นระบบสากลที่ใช้ระบุตัวเอกสารอิเล็กทรอนิกส์โดยไม่ขึ้นกับตำแหน่งที่อยู่ของเอกสารนั้น ๆ โดยหน่วยงานชื่อ International DOI Foundation (IDF) DOI เป็นเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของ IDF[3] ประโยชน์ของระบบ DOI คือใช้เป็นข้อความที่ใช้แสดงแทนบทความทางวิชาการ ซึ่งทุกคนสามารถใช้หมายเลขนี้ในการค้นหาเอกสารที่ต้องการนั้น ๆ ในเครือข่ายดิจิตอล

โครงสร้างของ DOI

[แก้]

DOI ประกอบด้วยตัวเลขหรือข้อความ 2 ส่วน ได้แก่ prefix และ suffix ตัวอย่างเช่น

10.1000/182

ความหมาย

10.1000 เป็น prefix:
10 เป็นรหัสของรายชื่อ ซึ่งต้องเป็นตัวเลขที่ตั้งขึ้นโดยหน่วยงานที่ดูแล นั่นคือ International DOI Foundation ในปัจจุบันตัวเลขที่ถูกตั้งขึ้นอย่างถูกต้องคือหมายเลข 10 และ DOI ที่ใช้ในปัจจุบันทุกตัวจึงขึ้นต้นด้วย 10 ทั้งหมด
1000 เป็นรหัสลงทะเบียนของผู้ตีพิมพ์เอกสาร ในกรณีนี้ 1000 เป็นเลขของ International DOI Foundation
182 เป็น suffix หรือเลขประจำเอกสาร ใช้ระบุตัวตนของเอกสารชิ้นนั้น ๆ ในกรณีนี้ doi:10.1000/182 ใช้แทนคู่มือ DOI เวอร์ชัน 4.4.1 (DOI Handbook, Version 4.4.1)

ส่วน Prefix ตั้งขึ้นโดย DOI Registration Agency ให้เฉพาะแก่ผู้ที่ลงทะเบียนนั้น ๆ ส่วน Suffix นั้นตั้งขึ้นเองโดยผู้ที่ลงทะเบียน และต้องใช้แทนเอกสารใดเอกสารหนึ่ง ซึ่งสามารถใช้รวมกับเลขทะเบียนที่ใช้แทนหนังสือหรือเอกสารอื่น ๆ เช่น ISBN หรือ ISSN

ในการอ้างอิง DOI บนเว็บไซต์หรือในสิ่งตีพิมพ์ที่ถูกต้อง คือ doi:10.1000/182

ประวัติ

[แก้]

รหัสทรัพยากร สารสนเทศดิจิทัล หรือ DOI เกิดจากความร่วมมือของสมาคมสำนักพิมพ์แห่งสหรัฐอเมริกาที่ต้องการมาตรฐานการ ให้รหัสของเอกสารดิจิทัล ร่วมกับองค์กรต่าง ๆ เช่น International Publishers Association; International Association of Scientific, Technical and Medical Publishers; Association of American Publishers โดยได้ก่อตั้งองค์กรที่ไม่แสวงหากำไรเรียกว่า มูลนิธิ DOI เรียกว่าThe International DOI® Foundation (IDF) ในปี 1977

ต่อมา IDF ได้ทำงานร่วมกับองค์กร CNRI (Corporation for National Research Initiatives) ในการพัฒนาระบบ Handle System เพื่อใช้เป็นองค์ประกอบสำคัญทางเทคนิคของระบบ DOI

ในปีต่อมาคือ 1998-2000 IDF ร่วมกับ indecs project ได้กำหนด Indecs framework เป็น Data model องค์กรที่เป็น Registration Agency แห่งแรกเริ่มขึ้นในปี 2000 โดยการเชื่อมโยงบทความวารสารเรียกว่า CrossRef Registration Agency

ส่วน DOI syntax เป็นมาตรฐาน ISO ตาม A National Information Standards Organization (US) standard, ANSI/NISO Z39.84-2010 ต่อมาระบบ DOI ได้รับการรับรองเป็นมาตรฐานสากล Information and Documentation ในปี 2012

ในประเทศไทย

[แก้]

การนำรหัสทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลมาใช้งาน เริ่มมีการดำเนินการไปแล้ว โดยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้สมัครสมาชิกเป็นผู้บริหารจัดการรหัสทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลด้านการวิจัย ของประเทศกับ DataCite ซึ่งเป็น Registration Agencies (RA) และได้รับการยอมรับจากที่ประชุมใหญ่สามัญประจำปีของ DataCite ให้เป็นสมาชิกเต็มรูปแบบลำดับที่ 17 เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2555[ต้องการอ้างอิง]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ดูที่เอกสารจากราชบัณฑิตยสถาน
  2. "คลังศัพท์ไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-16. สืบค้นเมื่อ 2012-12-26.
  3. Welcome to the DOI System

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
pFad - Phonifier reborn

Pfad - The Proxy pFad of © 2024 Garber Painting. All rights reserved.

Note: This service is not intended for secure transactions such as banking, social media, email, or purchasing. Use at your own risk. We assume no liability whatsoever for broken pages.


Alternative Proxies:

Alternative Proxy

pFad Proxy

pFad v3 Proxy

pFad v4 Proxy