ข้ามไปเนื้อหา

ไอโซโทป

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Isotope)
การสลายให้กัมมันตรังสี
การสลายให้กัมมันตรังสี
การแบ่งแยกนิวเคลียสฟิชชัน
ภาพแสดงไอโซโทปของไฮโดรเจนที่เกิดในธรรมชาติทั้งสามตัว ความจริงที่ว่าแต่ละไอโซโทปมีโปรตอนเพียงหนึ่งตัว ทำให้พวกมันทั้งหมดเป็นไฮโดรเจนที่แตกต่างกัน นั่นคือ ตัวตนของไอโซโทปถูกกำหนดโดยจำนวนของนิวตรอน จากซ้ายไปขวา ไอโซโทปเป็นโปรเทียม (1H) ที่มีนิวตรอนเท่ากับศูนย์, ดิวเทอเรียม (2H) ที่มีนิวตรอนหนึ่งตัว, และ ทริเทียม (3H) ที่มีสองนิวตรอน

ไอโซโทป (อังกฤษ: isotope) เป็นความแตกต่างขององค์ประกอบทางเคมีที่เฉพาะเจาะจงของธาตุนั้นซึ่งจะแตกต่างกันในจำนวนของนิวตรอน นั่นคืออะตอมทั้งหลายของธาตุชนิดเดียวกัน จะมีจำนวนโปรตอนหรือเลขอะตอมเท่ากัน แต่มีจำนวนนิวตรอนต่างกัน ส่งผลให้เลขมวล (โปรตอน+นิวตรอน) ต่างกันด้วย และเรียกเป็นไอโซโทปของธาตุนั้น ๆ

ไอโซโทปของธาตุต่าง ๆ จะมีคุณสมบัติทางเคมีฟิสิกส์เหมือนกัน ยกเว้นสมบัติของนิวเคลียสที่เกี่ยวกับมวลอะตอมไม่เหมือนกัน เช่น ยูเรเนียม มี 2 ไอโซโทป คือ ยูเรเนียม-235 เป็นไอโซโทปที่แผ่รังสี และยูเรเนียม-238 เป็นไอโซโทปที่ไม่แผ่รังสี

ไอโซโทปเมื่อเทียบกับนิวไคลด์

[แก้]

นิวไคลด์จะมีความหมายต่อนิวเคลียสมากกว่าจะมีความหมายต่ออะตอม กลุ่มนิวเคลียสที่เหมือนกันเป็นสมาชิกของนิวไคลด์อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่นแต่ละนิวเคลียสของคาร์บอน-13 นิวไคลด์จะประกอบด้วย 6 โปรตอนและ 7 นิวตรอน แนวคิดของนิวไคลด์ (หมายถึงสายพันธุ์ของนิวเคลียสแต่ละอย่าง) จะเน้นคุณสมบัติของนิวเคลียสมากกว่าคุณสมบัติทางเคมี ในขณะที่แนวคิดของไอโซโทป (การจัดกลุ่มอะตอมทั้งหมดของแต่ละองค์ประกอบ) จะเน้นด้านเคมีมากกว่าด้านนิวเคลียส เลขนิวตรอนจะมีผลกระทบอย่างมากต่อคุณสมบัติของนิวเคลียส แต่ผลกระทบต่อคุณสมบัติทางเคมีจะมีเพียงเล็กน้อยจนไม่ต้องนำมาคิดสำหรับองค์ประกอบส่วนใหญ่ แม้ในกรณีขององค์ประกอบที่มีน้ำหนักเบามากที่สุดที่อัตราส่วนของเลขนิวตรอนต่อเลขอะตอมจะแตกต่างกันอย่างน้อยที่สุดระหว่างไอโซโทปที่มักจะมีเพียงผลขนาดเล็กเท่านั้น แม้ว่ามันจะมีผลอยู่บ้างในบางสถานการณ์ (สำหรับไฮโดรเจนที่มีองค์ประกอบที่หนักที่สุด ผลไอโซโทปจะมากพอที่จะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงทางชีววิทยา) เนื่องจากไอโซโทปเป็นคำที่เก่ากว่า มันจึงเป็นที่รู้จักกันดีกว่านิวไคลด์ และบางครั้งมันยังคงถูกใช้ในบริบทที่นิวไคลด์อาจจะเหมาะสมมากกว่าเช่นในเทคโนโลยีนิวเคลียร์และเวชศาสต​​ร์นิวเคลียร์

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
pFad - Phonifier reborn

Pfad - The Proxy pFad of © 2024 Garber Painting. All rights reserved.

Note: This service is not intended for secure transactions such as banking, social media, email, or purchasing. Use at your own risk. We assume no liability whatsoever for broken pages.


Alternative Proxies:

Alternative Proxy

pFad Proxy

pFad v3 Proxy

pFad v4 Proxy