ข้ามไปเนื้อหา

พอร์พอยส์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Porpoise)
พอร์พอยส์
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: 15.970–0Ma ไมโอซีน-ปัจจุบัน
โลมาหัวบาตรหลังเรียบ (Neophocaena phocaenoides) เป็นพอร์พอยส์ชนิดที่ไม่มีครีบหลัง
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Artiodactyla
อันดับฐาน: Cetacea
อนุอันดับ: Odontoceti
วงศ์ใหญ่: Delphinoidea
วงศ์: Phocoenidae
Gray, 1825[1]
สกุล
ดูในเนื้อหา


พอร์พอยส์[2] (อังกฤษ: Porpoise[1]; การออกเสียง /ˈpɔːrpəs/) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับวาฬและโลมา (Cetacea) ขนาดเล็กวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Phocoenidae

พอร์พอยส์ จัดเป็นวาฬมีฟันขนาดเล็ก ลักษณะทั่วไปคล้ายกับโลมาทะเล (Delphinidae) แต่มีความแตกต่างไปจากโลมาทั่วไป คือ มีรูปร่างที่เล็กกว่า และมีรูปทรงที่อ้วนกลมกว่า อีกทั้งสรีระร่างกายของพอร์พอยส์ไม่อาจจะเก็บความอบอุ่นไว้ได้นาน ทำให้สูญเสียพลังงานในร่างกายได้รวดเร็วกว่า จึงต้องกินอาหารบ่อยครั้งและมากกว่าโลมาทะเลเพื่อสร้างพลังงานและความอบอุ่นให้แก่ร่างกาย

นอกจากนี้แล้ว ครีบหลังของพอร์พอยส์นั้นเป็นรูปสามเหลี่ยมคล้ายกับครีบของปลาฉลาม แต่มีความสั้นทู่ ซึ่งในบางครั้งจะมีปุ่มขนาดเล็กเรียกว่า ทูเบอร์เคิล อยู่ตรงขอบครีบ ลักษณะของจมูกของพอร์พอยส์นั้นสั้นทู่และกลมกว่าโลมาทั่วไป ลักษณะของฟันก็มีลักษณะเล็ก ๆ เป็นตุ่มไม่แหลมคม ส่วนกระดูกคอนั้นติดต่อกับกระดูกสันหลัง ทำให้ไม่อาจจะขยับส่วนคอไปมาได้อย่างอิสระเหมือนโลมา และพฤติกรรมก็แตกต่างไปจากโลมาด้วย ได้แก่ ฝูงของพอร์พอยส์มีขนาดเล็กกว่า คือ มีจำนวนสมาชิกในฝูงเพียง 2–4 ตัวเท่านั้น ไม่ได้มีกันหลายสิบหรือร้อยตัวเหมือนโลมาทะเล และมีพฤติกรรมขี้อาย เกรงกลัวมนุษย์ ผิดกับโลมาทะเล และเป็นโลมาที่มีอายุขัยสั้นเพียงแค่ 20 ปีเท่านั้น

พอร์พอยส์ นับเป็นสัตว์ในอันดับนี้ที่มีขนาดเล็กที่สุด โดยชนิดที่มีขนาดเล็กที่สุด คือ วิกีตา พบกระจายพันธุ์ทางตอนเหนือของอ่าวแคลิฟอร์เนีย มีขนาดโตเต็มที่ไม่ถึง 2 เมตรด้วยซ้ำ ขณะที่ชนิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ก็มีความยาวเพียง 2.3 เมตรเท่านั้น[3] [4]

ศัพทมูลวิทยา

[แก้]

คำว่า "พอร์พอยส์" (Porpoise) เป็นคำที่ใช้ในภาษาอังกฤษ ส่วนในภาษาในทวีปเอเชียอื่น ๆ พอร์พอยส์มักมีการเปรียบเทียบกับโลมาและหนู เช่น ในภาษาจีน พอร์พอยส์มีความหมายตรงตัวว่า "โลมาหนู" (鼠海豚) และ ในภาษาเวียดนาม พอร์พอยส์มีความหมายตรงตัวว่า "โลมาหนู" (Cá heo chuột) ซึ่งมีความหมายว่า "โลมาขนาดเล็ก" ส่วนคำว่า "โลมา" ในภาษาเอเชียดังกล่าวก็มีความหมายตรงตัวว่า "หมูทะเล"

การจำแนก

[แก้]

แบ่งออกได้เป็น 3 สกุล 6 ชนิด[1] พบในประเทศไทยเพียงชนิดเดียว[5] ขณะที่บางสกุลก็ได้สูญพันธุ์ไปแล้ว ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์

ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 "Phocoenidae". ระบบข้อมูลการจำแนกพันธุ์แบบบูรณาการ.
  2. วาฬและโลมา หน้า 37-42, "สัตว์สวยป่างาม" (ชมรมนิเวศวิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล, สิงหาคม 2518)
  3. Gaskin, David E. (1984). Macdonald, D.. ed. The Encyclopedia of Mammals. New York: Facts on File. pp. 196–199. ISBN 0-87196-871-1.
  4. Read, Andrew (1999). Porpoises. Stillwater, MN, USA: Voyageur Press. ISBN 0-89658-420-8.
  5. "ชนิดของโลมาและปลาวาฬที่พบได้ในประเทศไทย". กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง.
  6. Ichishima, H. & Kimura, M.. 2005. "Harborophocoena toyoshimai, a new early Pliocene porpoise (Cetacea, Phocoenidae) from Hokkaido, Japan". Journal of Vertebrate Paleontology 25(3):655-664
  7. Ichishima, H. & Kimura, M.. 2000. "A new fossil porpoise (Cetacea; Delphinoidea; Phocoenidae) from the early Pliocene Horokaoshirarika Formation, Hokkaido, Japan". Journal of Vertebrate Paleontology 20(3):561-576
  8. Lambert, O.. 2008. "A new porpoise (Cetacea, Odontoceti, Phocoenidae) from the Pliocene of the North Sea". Journal of Vertebrate Paleontology 28(3):863-872

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
pFad - Phonifier reborn

Pfad - The Proxy pFad of © 2024 Garber Painting. All rights reserved.

Note: This service is not intended for secure transactions such as banking, social media, email, or purchasing. Use at your own risk. We assume no liability whatsoever for broken pages.


Alternative Proxies:

Alternative Proxy

pFad Proxy

pFad v3 Proxy

pFad v4 Proxy