Content-Length: 201881 | pFad | http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B9%87%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%9A

พระเจ้าเอ็ดการ์ผู้รักสงบ - วิกิพีเดีย ข้ามไปเนื้อหา

พระเจ้าเอ็ดการ์ผู้รักสงบ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระเจ้าเอ็ดการ์ผู้รักสงบ
จุลจิตรกรรมร่วมสมัยจาก กฎบัตรมินสเตอร์ใหม่
กษัตริย์แห่งชนอังกฤษ
ครองราชย์1 ตุลาคม ค.ศ. 959 – 8 กรกฎาคม ค.ศ. 975
ก่อนหน้าพระเจ้าเอ็ดวี
ถัดไปพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดมรณสักขี
พระราชสมภพค.ศ. 943 หรือ 944
สวรรคต8 กรกฎาคม ค.ศ. 975 (พระชนมายุประมาณ 31/32 พรรษา)
วินเชสเตอร์ แฮมป์เชอร์
ฝังพระบรมศพกลาสตันบรีแอบบีย์
ชายาเอเธลฟรีด[1]
วูลฟธริธ[1]
เอลฟ์ธรีธ
พระราชบุตรพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดมรณสักขี
อีดจิธ[1]
เอ็ดมันด์[2]
พระเจ้าแอเธลเรดผู้ไม่พร้อม
ราชวงศ์เวสเซกซ์
พระราชบิดาพระเจ้าเอ็ดมันด์ที่ 1
พระราชมารดาเอลฟ์จิฟูแห่งชาฟท์สบรี

พระเจ้าเอ็ดการ์ผู้รักสงบ (อังกฤษ: Edgar the Peaceful หรือ Edgar the Peaceable) (ราว ค.ศ. 943 หรือ ค.ศ. 944 - ค.ศ. 975) พระมหากษัตริย์อังกฤษในราชวงศ์เวสเซกซ์

พระเจ้าเอ็ดการ์ผู้รักสงบเสด็จพระราชสมภพเมื่อราวปี ค.ศ. 943 หรือปี ค.ศ. 944 ที่เวสเซ็กซ์ ในอังกฤษ เป็นพระราชโอรสพระองค์รองในพระเจ้าเอ็ดมันด์ที่ 1 แห่งอังกฤษและเอลฟ์จิฟูแห่งชาฟท์สบรี ทรงอภิเษกสมรสกับเอเธลฟรีด วูลฟธริธ และเอลฟ์ธรีธทรงราชย์ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 959 จวบจนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม ค.ศ. 975 ที่วินเชสเตอร์ ประเทศอังกฤษ พระเจ้าเอ็ดการ์ทรงปกครองบริเวณเหนือแม่น้ำเทมส์กับขุนนางของพระองค์กลุ่มหนึ่ง เมื่อพระเจ้าเอ็ดวีเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 959 พระเจ้าเอ็ดการ์ก็ทรงเรียกตัวมุขนายกดันสตัน (ต่อมาเป็นนักบุญดันสตัน) กลับมาจากการลี้ภัยกลับมาและแต่งตั้งให้เป็นมุขนายกแห่งวูสเตอร์และต่อมาเป็นมุขนายกแห่งลอนดอนและในที่สุดอัครมุขนายกแห่งแคนเทอร์เบอรี ดันสตันเมื่อเริ่มแรกไม่ยอมสวมมงกุฏให้พระเจ้าเอ็ดการ์เพราะไม่ยอมรับวิธีดำเนินชีวิตของพระองค์เกี่ยวกับการมีพระสนม[ต้องการอ้างอิง] เช่นวูลฟธริธ (ต่อมาเป็นนักพรตหญิงที่วิลตัน) ซึ่งได้ให้กําเนิดพระราชธิดานอกสมรส อีดจิธ แต่ดันสตันก็เป็นที่ปรึกษาที่พระเจ้าเอ็ดการ์ไว้วางพระทัยตลอดรัชสมัย

รัชสมัยของพระเจ้าเอ็ดการ์เป็นรัชสมัยที่บ้านเมืองมีความสงบสุขและอาจจะเป็นสมัยที่เรียกได้ว่าเป็นสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดของอังกฤษสมัยแองโกล-แซกซัน แม้ว่าการรวมตัวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของอังกฤษจะเป็นผลที่มาจากผู้ที่ครองบัลลังก์มาก่อนพระองค์ ในปลายรัชสมัยของพระเจ้าเอ็ดการ์ อังกฤษก็เกือบจะไม่มีศัตรูที่จะมาแบ่งราชอาณาจักรอย่างที่เคยเป็นมาก่อน

ในสมัยนี้ดันสตันก็มีบทบาทในการปฏิรูปอารามที่ออกจะเริ่มหย่อนยานให้กลับไปถือวินัยของนักบุญเบเนดิกต์อย่างที่เคยเป็นมา แต่บทบาทอันนี้ก็ยังเป็นที่ถกเถึยงกันในบรรดาผู้รู้ในวงการศึกษา

พระเจ้าเอ็ดการ์ได้ทำพิธีสวมมงกุฏที่บาธในปี ค.ศ. 973 ซึ่งมิใช่ราชาภิเศกในการฉลองการเริ่มรัชกาล พระราชพิธีครั้งนี้เตรียมการโดยดันสตันเองโดยมีโคลงเฉลิมพระเกียรติที่บันทึกในบันทึกเหตุการณ์ของชาวแองโกล-แซกซัน เป็นพระราชพิธีที่เป็นพื้นฐานในการทำพิธีบรมราชาภิเศกของอังกฤษมาจนถึงปัจจุบันนี้ พระราชพิธีเป็นพิธีสัญลักษณ์โดยมีเจ้าผู้ครองอาณาจักรในอังกฤษมาแสดงความสวามิภักดิ์ต่อพระองค์ที่เชสเตอร์ กษัตริย์หกพระองค์ในบริเตนและสกอตแลนด์ปฏิญาณว่าจะเป็นผู้ป้องกันพระองค์ไม่ว่าจะเป็นทางบกหรือทางทะเล ต่อมาบันทึกเหตุการณ์ของชาวแองโกล-แซกซันกล่าวว่ามีแปดองค์ แต่พระราชพิธีประกาศการสวามิภักดิ์ที่เชสเตอร์ (submission at Chester) ดูเหมือนว่จะเป็นเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้น

พระเจ้าเอ็ดการ์มีพระราชโอรสธิดาเจ็ดพระองค์ พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดมรณสักขีพระราชโอรสพระองค์ใหญ่สืบราชบัลลังก์ต่อจากพระองค์ หลังจากที่เสด็จสวรรคตมาจนถึงการพิชิตอังกฤษของชาวนอร์มันไม่มีราชบัลลังก์ใดที่ได้รับการสืบทอดโดยไม่มีปัญหาในการแก่งแย่ง

พระราชวงศ์เวสเซกซ์

[แก้]
ผังพระราชวงศ์เวสเซกซ์ที่พบในวิกิพีเดีย

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 Pauline Stafford, Queen Emma & Queen Edith, Blackwell 2001, pp. 324–325
  2. Stafford, op. cit., p. 91

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
ก่อนหน้า พระเจ้าเอ็ดการ์ผู้รักสงบ ถัดไป
พระเจ้าเอ็ดวี
พระมหากษัตริย์แห่งอังกฤษ
(ราชวงศ์เวสเซกซ์)

(ค.ศ. 959 – ค.ศ. 975)
พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดมรณสักขี








ApplySandwichStrip

pFad - (p)hone/(F)rame/(a)nonymizer/(d)eclutterfier!      Saves Data!


--- a PPN by Garber Painting Akron. With Image Size Reduction included!

Fetched URL: http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B9%87%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%9A

Alternative Proxies:

Alternative Proxy

pFad Proxy

pFad v3 Proxy

pFad v4 Proxy