ข้ามไปเนื้อหา

นอร์เอพิเนฟรีน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นอร์เอพิเนฟรีน
ข้อมูลทางคลินิก
ชื่ออื่น
  • NE, NA,
  • Noradrenaline,
  • (R)-(–)-Norepinephrine,
  • l-1-(3,4-Dihydroxyphenyl)-2-aminoethanol
ข้อมูลทางสรีรวิทยา
เนื้อเยื่อต้นกำเนิดโลคัสซีรูเลอัส; ระบบประสาทซิมพาเทติก; อะดรีนัลเมดัลลา
เนื้อเยื่อเป้าหมายทั่วร่างกาย
ตัวรับα1, α2, β1, β3
กระตุ้นยาซิมพาโทมิเมติก, โคลนิดีน, ไอโซพรีนาลีน
ยับยั้งยาแก้ซึมเศร้าไตรไซคลิก, เบตาบล็อกเกอร์, ยาระงับอาการทางจิต
สารต้นกำเนิดโดพามีน
ชีวสังเคราะห์โดพามีน บีตา-มอนอออกซิเจเนส
เมแทบอลิซึมMAO-A; COMT
ตัวบ่งชี้
  • (R)-4-(2-amino-1-hydroxyethyl)benzene-1,2-diol
เลขทะเบียน CAS
PubChem CID
IUPHAR/BPS
DrugBank
ChemSpider
KEGG
ChEBI
ChEMBL
ECHA InfoCard100.000.088
ข้อมูลทางกายภาพและเคมี
สูตรC8H11NO3
มวลต่อโมล169.180 g·mol−1
แบบจำลอง 3D (JSmol)
  • NC[C@H](O)c1cc(O)c(O)cc1
  • InChI=1S/C8H11NO3/c9-4-8(12)5-1-2-6(10)7(11)3-5/h1-3,8,10-12H,4,9H2/t8-/m0/s1
  • Key:SFLSHLFXELFNJZ-QMMMGPOBSA-N
สารานุกรมเภสัชกรรม

นอร์เอพิเนฟรีน (อังกฤษ: norepinephrine, ย่อ NE) หรือ นอร์อะดรีนาลีน (noradrenaline, ย่อ NA) เป็นสารประกอบอินทรีย์ในกลุ่มสารสื่อประสาทแคทีโคลามีน ทำหน้าที่เป็นฮอร์โมนและสารสื่อประสาทในร่างกาย คำว่านอร์อะดรีนาลีนมาจากรากศัพท์ภาษาละตินที่แปลว่า "อยู่ที่/อยู่ติดกับไต" และใช้ทั่วไปในสหราชอาณาจักร ขณะที่คำนอร์เอพิเนฟรีนมีความหมายเดียวกันแต่รากศัพท์มาจากภาษากรีก นิยมใช้ในสหรัฐมากกว่า[1] ชื่อนอร์เอพิเนฟรีนยังเป็นชื่อระหว่างประเทศที่ไม่มีเจ้าของ หรือชื่อสามัญทั่วไปของสารนี้ในรูปแบบยารักษาความดันโลหิตต่ำมาก[2] นอร์เอพิเนฟรีนถูกค้นพบครั้งแรกในปี ค.ศ. 1946 โดยอูล์ฟ ฟอน ออยเลอร์ นักสรีรวิทยาชาวสวีเดน[3]

นอร์เอพิเนฟรีนถูกผลิตที่นิวเคลียสที่เรียกว่าโลคัสซีรูเลอัสในสมองส่วนพอนส์[4] นอกจากนี้ยังสามารถผลิตได้ที่อะดรีนัลเมดัลลาในต่อมหมวกไต[5] โดยสังเคราะห์จากกรดอะมิโนฟีนิลอะลานีน ให้กลายเป็นไทโรซีน โดพามีน และนอร์เอพิเนฟรีน[6] นอร์เอพิเนฟรีนเป็นสารสื่อประสาทหลักในระบบประสาทซิมพาเทติก ทำงานคล้ายเอพิเนฟรีนคือจับกับตัวรับอะดรีเนอร์จิกแล้วกระตุ้นการทำงานของร่างกายหลายส่วน เช่น อัตราหัวใจเต้น ความดันเลือด การเผาผลาญกลูโคสเป็นพลังงาน การไหลเวียนเลือดไปที่กล้ามเนื้อโครงร่าง การสร้างและเรียกความทรงจำ และการใส่ใจจดจ่อ[7] นอร์เอพิเนฟรีนจะถูกหลั่งน้อยในช่วงนอนหลับก่อนจะเพิ่มขึ้นในช่วงตื่นตัว และจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างมากเมื่อร่างกายอยู่ในช่วงการตอบสนองโดยสู้หรือหนี อันเป็นปฏิกิริยาทางสรีรภาพที่เกิดตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่รู้สึกว่าเป็นอันตราย[8]

นอร์เอพิเนฟรีนจัดเป็นหนึ่งในกลุ่มยาซิมพาโทมิเมติก ซึ่งเป็นยากระตุ้นที่เสริมการทำงานของตัวทำการเอนโดจีนัสในระบบประสาทซิมพาเทติก[9] โดยให้ทางหลอดเลือดดำเพื่อเพิ่มอัตราหัวใจเต้นและความดันเลือดต่ำระดับวิกฤต[10] Surviving Sepsis Campaign แนะนำให้ใช้นอร์เอพิเนฟรีนในการรักษาช็อกเหตุพิษติดเชื้อที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยวิธีการคืนน้ำ ร่วมกับวาโซเพรสซินและเอพิเนฟรีน[11]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Aronson JK (Feb 2000). "'Where name and image meet'—the argument for 'adrenaline'". British Medical Journal. 320 (7233): 506–9. doi:10.1136/bmj.320.7233.506. PMC 1127537. PMID 10678871.
  2. "(-)-noradrenaline". IUPHAR database. International Union of Basic and Clinical Pharmacology. สืบค้นเมื่อ 2 January 2016.
  3. "norepinephrine". Britannica. สืบค้นเมื่อ August 22, 2020.
  4. Sara SJ, Bouret S (2012). "Orienting and reorienting: the locus coeruleus mediates cognition through arousal". Neuron. 76 (1): 130–41. doi:10.1016/j.neuron.2012.09.011. PMID 23040811.
  5. "Norepinephrine". Hormone Health Network. September 4, 2019. สืบค้นเมื่อ August 22, 2020.
  6. Musacchio JM (2013). "Chapter 1: Enzymes involved in the biosynthesis and degradation of catecholamines". ใน Iverson L (บ.ก.). Biochemistry of Biogenic Amines. Springer. pp. 1–35. ISBN 978-1-4684-3171-1.
  7. Dellwo, Adrienne (February 7, 2020). "What Norepinephrine Does (or Doesn't Do) for You". Verywell Health. สืบค้นเมื่อ August 22, 2020.
  8. Henry Gleitman, Alan J. Fridlund and Daniel Reisberg (2004). Psychology (6 ed.). W. W. Norton & Company. ISBN 978-0-393-97767-7.
  9. "Adrenergic drug". Britannica. สืบค้นเมื่อ August 22, 2020.
  10. Gardenhire DS (2013). Rau's Respiratory Care Pharmacology. Elsevier Health Sciences. p. 88. ISBN 978-0-323-27714-3.
  11. Rhodes A, Evans LE, Alhazzani W, Levy MM, Antonelli M, Ferrer R, และคณะ (March 2017). "Surviving Sepsis Campaign: International Guidelines for Management of Sepsis and Septic Shock: 2016" (PDF). Critical Care Medicine. 45 (3): 486–552. doi:10.1097/CCM.0000000000002255. PMID 28098591. We recommend norepinephrine as the first-choice vasopressor (strong recommendation, moderate quality of evidence).[ลิงก์เสีย]
pFad - Phonifier reborn

Pfad - The Proxy pFad of © 2024 Garber Painting. All rights reserved.

Note: This service is not intended for secure transactions such as banking, social media, email, or purchasing. Use at your own risk. We assume no liability whatsoever for broken pages.


Alternative Proxies:

Alternative Proxy

pFad Proxy

pFad v3 Proxy

pFad v4 Proxy