ข้ามไปเนื้อหา

การกอด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การกอดหลังชัยชนะในกีฬา

การกอด (อังกฤษ: hug) เป็นรูปแบบของความใกล้ชิดทางกาย (physical intimacy) และเป็นสิ่งสากลในชุมชนมนุษย์ ซึ่งคนสองคนหรือมากกว่านำแขนคล้องรอบคอ หลัง หรือเอวของกันและกันเพื่อจับกันไว้อย่างใกล้ชิด หากมีคนร่วมมากกว่าสองคนจะเรียกว่า การกอดแบบกลุ่ม (group hug)

แหล่งกำเนิดคำ

[แก้]

ไม่มีใครรู้ต้นกำเนิดที่แท้จริงของคำ ทว่าขณะนี้มีอยู่สองทฤษฎีที่เป็นไปได้ ทฤษฎีแรกคือคำกริยา "hug (การกอด)" ซึ่งถูกใช้ครั้งแรกสมัยคริสต์ทศวรรษ 1560 อาจเกี่ยวข้องกับคำว่า hugga ในภาษานอร์สโบราณ ที่แปลว่าการปลอบประโลม ทฤษฎีที่สองเกี่ยวข้องกับคำว่า hegen ในภาษาเยอรมัน ซึ่งแปลว่า การเลี้ยงดูหรือดูแล แต่เดิมแปลว่าการล้อมด้วยพุ่มไม้[1]

ลักษณะ

[แก้]
Madame Vigée-Lebrun et sa fille โดย Louise Élisabeth Vigée Le Brun, ค.ศ. 1789

การกอดบางครั้งใช้ร่วมกับการจูบ เป็นรูปแบบนึงของอวัจนภาษา การกอดสามารถชี้ถึงความคุ้นเคย, ความรัก, ความหลง, ความเป็นเพื่อน, ความเป็นพี่น้อง หรือความเห็นใจ ขึ้นอยู่กับวัฒนธรรม บริบท และความสัมพันธ์[2] การกอดสามารถชี้ถึงการสนับสนุน การปลอบประโลม และเป็นการปลอบขวัญโดยเฉพาะสถานการณ์ที่คำพูดไม่เพียงพอ การกอดมักแสดงถึงความรักและความอบอุ่นทางอารมณ์ บางครั้งอาจมาจากความดีใจหรือความสุขเมื่อพบเจอคนที่ไม่ได้เจอมาเป็นเวลานาน การกอดฝ่ายเดียวอาจแสดงถึงปัญหาในความสัมพันธ์ การกอดสามารถเป็นเพียงการบีบเพียงหนึ่งวินาทีโดยที่แขนอาจไม่ได้ล้อมรอบตัวอีกคน หรืออาจเป็นคงไว้เป็นเวลานาน ระยะเวลาในการกอดขึ้นอยู่กับสังคมและวัฒนธรรมในแต่ละสถานการณ์[3]

ต่างจากการสัมผัสทางกายแบบอื่น การกอดสามารถกระทำในที่สาธารณะและที่ส่วนตัวโดยไม่ถูกมองว่าเป็นมลลักษณ์ทางสังคม (social stigma) ในหลายประเทศ ศาสนา และวัฒนธรรม ทั้งภายในครอบครัว และในทุกช่วงอายุและเพศ[4]

การกอดอย่างไม่คาดฝันอาจถูกมองว่าเป็นการบุกรุกพื้นที่ส่วนตัว ทว่าหากอีกฝ่ายรู้ตัวก็อาจเป็นการสื่อถึงการต้อนรับ นักวิจารณ์วัฒนธรรมตะวันตกบางคนเสนอให้หลีกเลี่ยงการกอดในที่ทำงานเพื่อป้องกันสถานการณ์น่าอึดอัด โดยเฉพาะกับบางคนที่ไม่ชอบกอด[5] นอกจากนี้ คนโดยเฉพาะเด็กอาจกอดตุ๊กตาหรือของเล่น เด็กเล็กยังมักกอดผู้ปกครองเมื่อรู้สึกโดนรุกรานโดยคนแปลกหน้า พฤติกรรมเหล่านี้มักถูกเรียกว่าการเกาะติดมากกว่าการกอดเนื่องจากเป็นการแสดงถึงความต้องการให้ปกป้อง ไม่ใช่การแสดงความรัก

ประโยชน์ทางสุขภาพ

[แก้]

มีหลักฐานว่าการกอดให้ผลดีทางสุขภาพ งานวิจัยหนึ่งแสดงว่าการกอดเพิ่มระดับออกซิโตซิน และลดความดันเลือด[6]

งานวิจัยชี้ว่าการกอดนานกว่า 20 วินาทีทำให้ออกซิโทซินถูกปล่อยออกมา[7]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Online Etymology Dictionary
  2. Kathleen Keating (1994). The Hug Therapy Book. Hazelden PES. ISBN 1-56838-094-1.
  3. Packheiser, J., Rook, N., Dursun, Z., Mesenhöller, J., Wenglorz, A., Güntürkün, O., & Ocklenburg, S. (2018). Embracing your emotions: affective state impacts lateralisation of human embraces. Psychological research, 1-11.
  4. Duranti, Alessandro (June 1997). "Universal and Culture-Specific Properties of Greetings". Journal of Linguistic Anthropology. 7 (1): 63–97. {{cite journal}}: |access-date= ต้องการ |url= (help)
  5. "A New Rule For The Workplace: 'Hug Sparingly'". NPR. 2014-01-11.
  6. "How hugs can aid women's hearts". BBC News. August 8, 2005. สืบค้นเมื่อ 2008-11-28.
  7. "The health benefits of hugging".

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
  • วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ การกอด
pFad - Phonifier reborn

Pfad - The Proxy pFad of © 2024 Garber Painting. All rights reserved.

Note: This service is not intended for secure transactions such as banking, social media, email, or purchasing. Use at your own risk. We assume no liability whatsoever for broken pages.


Alternative Proxies:

Alternative Proxy

pFad Proxy

pFad v3 Proxy

pFad v4 Proxy