ข้ามไปเนื้อหา

ข้อตั้ง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ข้อตั้ง (อังกฤษ: premise) คือข้อความที่ถูกกล่าวอ้างในการให้เหตุผลที่จะพิสูจน์ว่าข้อสรุปเป็นจริงหรือเท็จ[1]

คำอธิบาย

[แก้]

ในตรรกศาสตร์ การอ้างเหตุผล (argument) ต้องการเซตของประโยคบอกเล่า (อย่างน้อย) สองประโยค (หรือ "ประพจน์") เรียกว่า "ข้อตั้ง" พร้อม ๆ กับประโยคบอกเล่า (categorical proposition) อีกประโยค (หรือ "ประพจน์") เรียกว่าข้อสรุป โครงสร้างของข้อตั้งสองข้อและข้อสรุปหนึ่งข้อนี้คือโครงสร้างพื้นฐานของการอ้างเหตุผล การอ้างเหตุผลที่ซับซ้อนกว่านี้สามารถใช้ลำดับของกฏต่าง ๆ เพื่อเชื่อมต่อข้อตั้งหลายข้อเข้ากับข้อสรุปข้อเดียว หรือเพื่อหาข้อสรุปจำนวนหนึ่งจากข้อตั้งชุดเดิมที่จะทำตัวเป็นข้อตั้งของข้อสรุปชุดต่อมา ตัวอย่างเช่นการใช้กฏของการอนุมานที่มีอยู่ในตรรกศาสตร์เชิงสัญลักษณ์

แอริสตอเติลถือว่าการอ้างเหตุผลเชิงตรรกะใด ๆ สามารถลดรูปจนเหลือข้อตั้งสองข้อและข้อสรุปหนึ่งข้อได้[2] ข้อตั้งบางครั้งถูกละไว้ ในกรณีนั้นจะเรียกว่าข้อตั้งที่หายไป ตัวอย่างเช่น:

โสกราตีสเป็นมรรตัยเพราะมนุษย์ทุกคนเป็นมรรตัย

ชัดเจนว่าการกล่าวอ้างที่เข้าใจกันโดยปริยายคือการที่โสกราตีสเป็นมนุษย์ การให้เหตุผลฉบับเต็มจึงเป็น:

เพราะมนุษย์ทุกคนเป็นมรรตัยและโสกราตัสเป็นมนุษย์ โสกราตีสเป็นมรรตัย

ในตัวอย่างนี้ อนุประโยค (clause (logic)) อิสระที่อยู่ก่อนเว้นวรรค (คือ "มนุษย์ทุกคนเป็นมรรตัย" และ "โสกราตีสเป็นมนุษย์") เป็นข้อตั้ง ในขณะที่ "โสกราตีสเป็นมรรตัย" เป็นข้อสรุป

การพิสูจน์ข้อสรุปนี้ขึ้นอยู่กับทั้งความจริงของข้อตั้ง และความสมเหตุสมผล (validity (logic)) ของการให้เหตุผล นอกจากนั้น เราต้องการข้อมูลเกี่ยวกับความหมายของข้อตั้งเพิ่มเติมเพื่อพิจารณาว่าความหมายเต็มของข้อสรุปตรงกับข้อสรุปที่ได้มาหรือไม่[3]

ยุคลิดถือว่าสองในสามประพจน์ในตรรกบท (syllogism) คือข้อตั้ง และประพจน์ที่สามคือข้อสรุป[4] ประพจน์แบบจัดกลุ่มเหล่านี้ประกอบด้วยสามพจน์: ประธานและภาคแสดงของข้อสรุปและพจน์ที่อยู่ตรงกลาง ประธานของข้อสรุปจะเรียกว่าพจน์รองในขณะที่ภาคแสดงเป็นพจน์หลัก ข้อตั้งที่ประกอบด้วยพจน์กลางและพจน์หลักเรียกว่าข้อตั้งหลัก และข้อตั้งที่ประกอบด้วยพจน์กลางและพจน์รองเรียกว่าข้อตั้งรอง[5] ในกรณีของการอ้างเหตุผลก่อนหน้านี้ พจน์หลักคือโสกราตีส พจน์รองคือ(เป็น)มรรตัย และพจน์กลางคือ(เป็น-/-ทุกคน)มนุษย์

ข้อตั้งสามารถเป็นคำบ่งชี้ได้ถ้าข้อความเหล่านั้นถูกรวมเป็นการอ้างเหตุผลเชิงตรรกะ คำจำพวกนี้ทำหน้าที่บ่งชี้บทบาทของข้อความแต่ละข้อ[6] เช่นบ่งชี้ว่าข้อความที่มีคำนั้นอยู่เป็นข้อตั้ง[6]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Audi, Robert, บ.ก. (1999). The Cambridge Dictionary of Philosophy (2nd ed.). Cambridge: Cambridge University Press. p. 43. ISBN 0-521-63136-X. Argument: a sequence of statements such that some of them (the premises) purport to give reasons to accept another of them, the conclusion
  2. Gullberg, Jan (1997). Mathematics : From the Birth of Numbers. New York: W. W. Norton & Company. p. 216. ISBN 0-393-04002-X.
  3. Byrne, Patrick Hugh (1997). Analysis and Science in Aristotle. New York: State University of New York Press. p. 43. ISBN 0791433218.
  4. Ryan, John (2018). Studies in Philosophy and the History of Philosophy, Volume 1. Washington, D.C.: CUA Press. p. 178. ISBN 9780813231129.
  5. Potts, Robert (1864). Euclid's Elements of Geometry, Book 1. London: Longman, Green, Longman, Roberts, & Green. p. 50.
  6. 6.0 6.1 Luckhardt, C. Grant; Bechtel, William (1994). How to Do Things with Logic. Hillsdale, NJ: Lawrence Erlbaum Associates, Publishers. p. 13. ISBN 0805800751.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
pFad - Phonifier reborn

Pfad - The Proxy pFad of © 2024 Garber Painting. All rights reserved.

Note: This service is not intended for secure transactions such as banking, social media, email, or purchasing. Use at your own risk. We assume no liability whatsoever for broken pages.


Alternative Proxies:

Alternative Proxy

pFad Proxy

pFad v3 Proxy

pFad v4 Proxy