ข้ามไปเนื้อหา

ชุอัยบ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ชุอัยบ์
شُـعَـيْـب
ชื่ออื่นเยโธร (โต้แย้ง)
ผู้ดำรงตำแหน่งก่อนอัยยูบ
ผู้สืบตำแหน่งศอดิก เศาะดูก และชะลูม
บุตรศ็อฟฟูรอ (โต้แย้ง)
ถ้ำที่เคยเป็นชาวมัดยัน หรือปัจจุบันเป็นพื้นที่ภูเขาของเมืองตะบูก ในซาอุดีอาระเบีย

ชุอัยบ์ ชุอีบ ชุไอบ หรือชุเอบ (อาหรับ: شعيب, สัทอักษรสากล: [ʃuʕajb]; ความหมาย: "ผู้ชี้ทางที่ถูกต้อง") เป็นนบี (ผู้เผยพระวจนะ) ของชาวมีเดียนโบราณในศาสนาอิสลาม และเป็นผู้เผยพระวจนะที่ได้รับการเคารพมากที่สุดในความเชื่อของดรูซ[1] นบีชุอัยบ์ได้รับการระบุตามความเชื่อกับเยโธร ในพระคัมภีร์ไบเบิล พ่อตาของโมเสส นบีชุอัยบ์ถูกกล่าวถึงในอัลกุรอาน ทั้งหมด 11 ครั้ง[2] เชื่อกันว่าเขามีชีวิตอยู่หลังจากอิบรอฮีม (อับราฮัม) และชาวมุสลิมเชื่อว่าเขาถูกส่งไปในฐานะนบีในชุมชน: ชาวมีเดียน[3] ซึ่งรู้จักกันในชื่อ อัศฮาบุลอัยกะฮ์ ("ชาวต้นไม้")[4][5][6][7] เนื่องจากเคยบูชาต้นไม้ใหญ่ นบีชุอัยบ์ได้ประกาศทางนำอันเที่ยงตรงต่อผู้คนและเตือนผู้คนให้ยุติแนวทางที่ฉ้อฉลของพวกเขา เมื่อกลุ่มชนนี้ไม่กลับเนื้อกลับตัว อัลลอฮ์ (พระเจ้า) ทรงทำลายกลุ่มชนนี้[3][5]

ชาวมุสลิมเข้าใจว่า นบีชุอับ์ เป็นหนึ่งในบรรดานบีชาวอาหรับไม่กี่คนที่กล่าวถึงในอัลกุรอานชื่ออื่น ๆ ได้แก่ นบีศอลิห์ นบีฮูด และนบีมุฮัมมัด ว่ากันว่าชาวมุสลิมรู้จักท่านในฐานะ "นักเทศน์ผู้เก่งกาจในหมู่บรรดานบี" เพราะตามความเชื่อแล้ว ท่านได้รับพรสวรรค์และวาทศิลป์ในภาษาของท่าน[8]

ดรูซเคารพนบีชุอัยบ์ ในฐานะบุคคลสำคัญในความเชื่อของพวกเขา และจัดแสวงบุญประจำปีที่ นะบีชุอัยบ์ ซึ่งเป็นที่ตั้งสุสานของท่นใน กาลิลีตอนล่าง[1]

บริบททางประวัติศาสตร์

[แก้]

พื้นที่ที่นบีชุอัยบ์ถูกส่งไปนั้นมีชื่อว่า 'มัดยัน' ในคัมภีร์กุรอ่าน เรียกเป็นภาษาไทยว่า มีเดียน ซึ่งมักถูกอ้างถึงในคัมภีร์ไบเบิล กล่าวกันว่าชาวมัดยันมีเชื้อสายอาหรับ แม้ว่าจะเป็นเพื่อนบ้านของชาวคานาอันในพระคัมภีร์ไบเบิล แต่พวกเขาก็ผสมผสานกับพวกเขา กล่าวกันว่าพวกเขาเป็นชนเผ่าเร่ร่อน และอาณาเขตหลักของพวกเขาในสมัยนบีมูซา (โมเสส) คือคาบสมุทรซีนาย

ตัวตนที่มีการโต้แย้งกับเยโธร

[แก้]

เยโธร ถูกกล่าวถึงในพระคัมภีร์ (อพยพ 3:1) ในฐานะพ่อตาของโมเสส แม้ว่านบีชุอัยบ์มักถูกระบุว่าเป็นเยโธร นักบวชชาวมีเดียน แต่นักวิชาการสมัยใหม่ส่วนใหญ่ปฏิเสธการระบุตัวตนนี้ นักตัฟซีรคลาสสิกเช่น อิบน์ กะษีร กล่าวว่า นบีชุอัยบ์เป็นลื่อของนบีอิบรอฮีม: เชื่อว่า นบีชุอัยบ์ เป็นบุตรของมิกาอีล บุตรของยัชญับ บุตรของมัดยัน บุตรของนบีอิบรอฮีม อัลเคาะลีล[8] นั่นจะทำให้เป็นไปไม่ได้ที่จะระบุตัวตนกับเยโธรซึ่งมีชีวิตอยู่ในช่วงเวลาของโมเสส โดยอ้างว่าหลังจากอับราฮัมหลายร้อยปี[9]

สาส์นแห่งมัดยัน

[แก้]
แผนที่ของมัดยัน ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ชุอัยบ์ถูกส่งไปเผยพระวจนะตามความเชื่อของอิสลาม

อัลกุรอานระบุว่าชุอัยบ์ได้รับการแต่งตั้งจากอัลลอฮ์ ให้เป็นนบีแห่งชาวมัดยัน กล่าวกันว่าผู้คนในดินแดนนี้มีชื่อเสียงเป็นพิเศษในเรื่องการโกงผู้อื่นด้วยความไม่ซื่อสัตย์และการบูชารูปเคารพ สาส์นของนบีชุอัยบ์ ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการเรียกชาวมัดยันไปสู่แนวที่ถูกต้องของอัลลอฮ์[10] และห้ามไม่ให้พวกเขาบูชาเทพเจ้าเท็จ

ว่ากันว่าท่านบอกให้ผู้คนหยุดการไม่ซื่อสัตย์ในกิจกรรมประจำวันของพวกเขา แม้ว่าท่านจะเทศนาและเผยแพร่สาส์นเป็นเวลานาน แต่คนส่วนใหญ่ก็ปฏิเสธที่จะฟังท่าน อย่างไรก็ตาม นบีชุอัยบ์ยังคงแน่วแน่ ท่านเทศนาอย่างแข็งขันอย่างต่อเนื่องเพื่อต่อต้านคนชั่ว โดยบอกพวกเขาถึงการลงโทษที่ตกแก่คนบาปที่อยู่ต่อหน้าพวกเขา นบีชุอัยบ์เตือนประชาชาติของท่านว่าความไม่รู้ของพวกเขาจะนำไปสู่การถูกทำลายล้างของชาวมัดยัน โดยยกตัวอย่างทางประวัติศาสตร์ของบรรดานบียุคก่อน ได้แก่ นบีนูฮ์ นบีฮูด นบีศอลิห์ และนบีลูฏ[11] กลุ่มชนทั้งหมดถูกทำลายโดยอัลลอฮ์

ผู้คนเย้ยหยันนบีชุอัยบ์และบอกท่านว่า หากไม่ใช่เพราะครอบครัวอันทรงเกียรติที่ท่านจากมา ท่านคงถูกขว้างด้วยก้อนหิน จนตายอย่างแน่นอน นบีชุอัยบ์ตอบว่า "ท่านเห็นอกเห็นใจครอบครัวของข้ามากกว่าอัลลอฮ์หรือ" เมื่อชาวมัดยันปฏิเสธที่จะเชื่อ พวกเขาถูกทำลายโดยแผ่นดินไหวครั้งใหญ่[3] อย่างไรก็ตาม อัลกุรอานกล่าวว่านบีชุอัยบ์และบรรดาผู้ศรัทธาของท่าได้รับการช่วยเหลือจากการลงโทษอันกึกก้อง[11][12]

เทียบเคียงกับบรรดานบีท่านอื่น ๆ

[แก้]

ภารกิจของนบีชุอัยบ์ มักถูกกล่าวถึงในอัลกุรอานพร้อมกับภารกิจของนบีนูฮ์ นบีฮูด นบีศอลิห์ และนบีลูฏ นักวิชาการได้ชี้ให้เห็นว่า นบีทั้ง 5 เหล่านี้เป็นตัวอย่างของภารกิจการประกาศศาสนายุคแรก:[13] บรรดานบีจะถูกส่งไปยังกลุ่มชนของท่าน กลุ่มชนจะไม่สนใจคำเตือนของท่านและจะขู่ท่านด้วยการลงโทษแทน หลังจากเทศนามาหลายปี อัลลอฮ์ก็ทรงบัญชาให้ท่านออกจากกลุ่มชน ในขณะที่ประชาชาติของท่านถูกทำลายด้วยการลงโทษ[13] นักวิชาการตีความรายชื่อนบีทั้งห้าตามลำดับเวลา ดังนั้นชุอัยบ์จึงเป็นบุตรหลานของนบีนูฮ์ (ผู้ประกาศเกี่ยวกับน้ำท่วมใหญ่) และนบีอิบรอฮีม

สถานที่อ้างฝังศพของนบีชุอัยบ์

[แก้]

หลุมฝังศพของนบีชุอัยบ์ ที่อ้างว่าพบในจอร์แดน[14] 2 กิโลเมตร (1.2 ไมล์) ทางตะวันตกของเมืองมาหิศ ในบริเวณที่เรียกว่า วาดี ชุอัยบ์ (อาหรับ: وَادِي شُـعَـيْـب ).[15]

ดรูซ เชื่อว่าหลุมฝังศพของนบีชุอัยบ์ ตั้งอยู่ใกล้กับหิฏฏิน ในกาลิลีตอนล่าง[16][17] วันที่ 25 เมษายนของทุกปี ดรูซรวมตัวกันที่ไซต์เพื่อหารือเกี่ยวกับกิจการของชุมชน[18]

นอกจากนี้ยังมีหลุมฝังศพทางตะวันตกเฉียงใต้ของอิหร่าน (ในหมู่บ้าน Guriyeh, ชูชตาร์) ซึ่งได้รับการบันทึกว่าเป็นสุสานของนบีชุอัยบ์[19]

ที่แรกอ้างว่าเป็นมะก็อมนบีชุอัยบ์ ซึ่งอยู่ในวาดี ชุอัยบ์, จอร์แดน, ลิแวนต์
ที่แรกอ้างว่าเป็นมะก็อมนบีชุอัยบ์ ซึ่งอยู่ในวาดี ชุอัยบ์, จอร์แดน, ลิแวนต์ 
มะก็อมนบีชุอัยบ์, ถูกศรัทธาโดย ชาวดรูซ และชาวมุสลิมบางคน[16][17] ค้าง ๆ หิฏฏิน ในกาลิลี
มะก็อมนบีชุอัยบ์, ถูกศรัทธาโดย ชาวดรูซ และชาวมุสลิมบางคน[16][17] ค้าง ๆ หิฏฏิน ในกาลิลี 

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Sandra Mackey (16 March 2009). Mirror of the Arab World: Lebanon in Conflict (illustrated, reprint ed.). W. W. Norton & Company. p. 28. ISBN 9780393333749.
  2. Brandon M. Wheeler, Historical Dictionary of Prophets in Islam and Judaism, Shuayb, pg. 303
  3. 3.0 3.1 3.2 อัลกุรอาน 7:85–91
  4. อัลกุรอาน 15:78–79
  5. 5.0 5.1 อัลกุรอาน 26:176–189
  6. อัลกุรอาน 38:13–15
  7. อัลกุรอาน 50:12–14
  8. 8.0 8.1 Ibn Kathir, Ismail. Qisas Al-Anbiya. p. 220.
  9. Abdullah Yusuf Ali: Holy Quran: Text, Translation and Commentary
  10. อัลกุรอาน 7:85 "And to Midian [we sent] their brother Shuʿayb. He said: 'O my people! serve God, you have no god other than Him; clear proof indeed has come to you from your Lord, therefore give full measure and weight and do not diminish to men their things, and do not make mischief in the land after its reform; this is better for you if you are believers.'"
  11. 11.0 11.1 อัลกุรอาน 11:61 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "Cite quran|11|61|e=94|s=ns" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน
  12. อัลกุรอาน 23:20
  13. 13.0 13.1 Wheeler, A-Z of Prophets in Islam and Judaism, Shuayb
  14. "Tomb of the Prophet Shoaib". Google Maps. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-28. สืบค้นเมื่อ 2007-04-27. (31°57′35″N 35°42′57″E / 31.95972°N 35.71583°E / 31.95972; 35.71583)
  15. "Shuayb". The United States Naval Academy. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-03-12. สืบค้นเมื่อ 2006-10-30.
  16. 16.0 16.1 Firro, K. M. (1999). The Druzes in the Jewish State: A Brief History. Leiden, The Netherlands: Brill Publishers. pp. 22–240. ISBN 90-04-11251-0.
  17. 17.0 17.1 Dana, N. (2003). The Druze in the Middle East: Their Faith, Leadership, Identity and Status. Sussex Academic Press. pp. 28–30. ISBN 9781903900369.
  18. "Druze Revered Sites in Palestine". Druzehistoryandculture.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-05-10.
  19. (Up%20to%2026666) %20 (Version%2090%2008%2029).zip Documents, Asare-Sabti web.archive.org Retrieved 17 Nov 2018
pFad - Phonifier reborn

Pfad - The Proxy pFad of © 2024 Garber Painting. All rights reserved.

Note: This service is not intended for secure transactions such as banking, social media, email, or purchasing. Use at your own risk. We assume no liability whatsoever for broken pages.


Alternative Proxies:

Alternative Proxy

pFad Proxy

pFad v3 Proxy

pFad v4 Proxy