ข้ามไปเนื้อหา

ญะร็อช

พิกัด: 32°16′50″N 35°53′50″E / 32.28056°N 35.89722°E / 32.28056; 35.89722
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ญะร็อช

เกราซา
นคร
ซากนครเกราซาสมัยกรีกโรมัน และนครญะร็อชสมัยใหม่ในพื้นหลัง
ซากนครเกราซาสมัยกรีกโรมัน และนครญะร็อชสมัยใหม่ในพื้นหลัง
สมญา: 
  • ปอมเปอีตะวันออก
  • นครพันเสา
ญะร็อชตั้งอยู่ในจอร์แดน
ญะร็อช
ญะร็อช
พิกัด: 32°16′50″N 35°53′50″E / 32.28056°N 35.89722°E / 32.28056; 35.89722
Grid position234/187
ประเทศ จอร์แดน
เขตผู้ว่าราชการญะร็อช
สถาปนา7,500–5,500 ปีก่อน ค.ศ.
ตั้งเทศบาลนคร1910
การปกครอง
 • ประเภทเทศบาลนคร
ความสูง600 เมตร (1,968 ฟุต)
ประชากร
 (2015)
 • ทั้งหมดนคร (50,745 คน) เทศบาลนคร (~237,000 คน) คน
เขตเวลาGMT +2
 • ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)+3
รหัสพื้นที่+(962)2
เว็บไซต์http://www.jerash.gov.jo

ญะร็อช (อาหรับ: جرش) หรือ เกราซา (กรีกโบราณ: Γέρασα, เสียงอ่านภาษากรีกแอตติก: [gérasa], เสียงอ่านภาษากรีกคอยนี: [ˈgerasa]) เป็นนครในภาคเหนือของประเทศจอร์แดน ศูนย์กลางการปกครองของเขตผู้ว่าราชการญะร็อช มีประชากร 50,745 คน ณ ปี 2015

หลักฐานเก่าแก่ที่สุดของการตั้งรกรากในญะร็อชสามารถย้อนไปถึงยุคหินใหม่ ดังที่พบในแหล่งตัลอะบูซอวัน (Tal Abu Sowan) ซึ่งมีการค้นพบซากโครงกระดูกมนุษย์ที่อายุ 7500 ปีก่อนคริสต์กาล[1] ญะร็อชเฟื่องฟูมากในสมัยกรีก เฮลเลนนิสติก โรมัน และไบแซนไทน์ จนถึงกลางศตวรรษที่ 8 เมื่อเกิดแผ่นดินไหวกาลิลีในปี 749 และแผ่นดินไหวตามอีกจำนวนหนึ่งทำลายนครไปมาก กระนั้น ในปี 1120 ซะฮีร์ อัดดีน ตอฆเตคิน แห่งดามัสกัส ได้สั่งให้กองพลขนาด 40 คนสร้างป้อมปราการขึ้นในญะร็อช ปัจจุบันไม่ทราบแน่ชัดว่าป้อมนี้อยู่ที่ใดของเมือง แต่เข้าใจว่าเป็นจุดสูงสุดทางตะวันออกเฉียงเหนือของประตูเมือง ก่อนจะถูกครอบครองและทำลายทิ้งจนหมดในปี 1121 โดยบอลด์วินที่สอง กษัตริย์แห่งเยรูซาเลม[2][3] หลังจากนั้นมา บรรดานักรบครูเสดพากันทิ้งร้างนครญะร็อชและถอยทัพไปตั้งอยู่ที่ซะกิบทางตะวันออกแทน[4][5]

ญะร็อชถูกทิ้งร้างกระทั่งปรากฏอีกครั้งในบันทึกทางประวัติศาสตร์เมื่อต้นสมัยปกครองของออตโตมันในต้นศตวรรษที่ 16 ในบันทึกสำมะโนประชากรปี 1596 ระบุว่ามี 12 ครัวเรือนที่เป็นมุสลิมอยู่ในญะร็อช[6] กระนั้น นักโบราณคดีพบหลักฐานของหมู่บ้านมัมลุกขนาดเล็กตั้งอยู่ที่เขตเหนือของเมือง[7] ซึ่งบ่งบอกว่ามีการกลับมาตั้งรกรากในญะร็อชแล้วก่อนสมัยออตโตมัน การขุดค้นทางโบราณคดีตั้งแต่ปี 2011 แสดงให้เห็นว่าญะร็อชในสมัยยุคกลางอิสลามมีหลักฐานสิ่งปลูกสร้างและเครื่องปั้นดินเปาจากสมัยยุคกลางอิสลาม/มัมลุก[8] ซากของนครโบราณนี้เริ่มค่อย ๆ ปรากฏตัวอีกครั้งจากการขุดค้นหลายครั้งนับตั้งแต่ปี 1925 และยังดำเนินอยู่ในปัจจุบัน[9]

ปัจจุบัน ญะร็อชเป็นที่ตั้งของหนึ่งในซากนครกรีกโรมันที่อนุรักษ์สภาพไว้ดีที่สุด จนได้รับสมญาว่าเป็นปอมเปอีแห่งตะวันออกกลาง[10][11] รวมถึงเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวหนึ่งของจอร์แดนเหนือ ด้วยยอดเข้าชม 330,000 คนในปี 2018 ถือเป็นหนึ่งในสถานที่ที่มีผู้เยี่ยมชมมากที่สุดในประเทศ[12] ทุก ๆ ปี นครจะจัดเทศกาลญะร็อช ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรมวัฒนธรรมแนวหน้าของตะวันออกกลางที่มีผู้เข้าร่วมชมหลายพันคนต่อป[13]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Bell, Brian (1994). Jordan. APA Publications (HK) Limited. p. 184. OCLC 30858851.
  2. Boulanger, Robert (1965). The Middle East: Lebanon, Syria, Jordan, Iraq, Iran (ภาษาอังกฤษ). Paris: Hachette. pp. 541, 542. OCLC 1601668.
  3. Heath, Ian (1980). A wargamers' guide to the Crusades (ภาษาอังกฤษ). p. 133. OCLC 641902238.
  4. Brooker, Colin H.; Knauf, Ernst Axel (1988). "Review of Crusader Institutions". Zeitschrift des Deutschen Palästina-Vereins. 104: 184–188. JSTOR 27931345.
  5. Schryver, James G (2010). Studies in the archaeology of the medieval Mediterranean (ภาษาอังกฤษ). Leiden [Netherlands]; Boston: Brill. pp. 86. ISBN 9789004181755. OCLC 643081873.
  6. Hütteroth and Abdulfattah, 1977, p. 164
  7. "Archaeologists studying a post-quake gap in Jerash history". Jordan Times. 7 April 2016. สืบค้นเมื่อ 2017-06-07.
  8. Peterson, Alex (February 2017). "Medieval Pottery from Jerash: The Middle Islamic Settlement". Gerasa/Jerash: From the Urban Periphery (ภาษาอังกฤษ).
  9. "Touristic Sites – Jerash". www.kinghussein.gov.jo.
  10. Pompeii of the Middle East: Roman Jerash (ภาษาอังกฤษ), สืบค้นเมื่อ 2023-09-06
  11. Meyer, Norma (16 February 2018). "Exploring Petra and other archaeological wonders of Jordan". The Seattle Times. สืบค้นเมื่อ 13 August 2022.
  12. "Statistics". mota. 1 January 2018. สืบค้นเมื่อ 5 November 2019.
  13. "32nd Jerash festival begins". The Jordan Times. 21 July 2017. สืบค้นเมื่อ 4 November 2019.
pFad - Phonifier reborn

Pfad - The Proxy pFad of © 2024 Garber Painting. All rights reserved.

Note: This service is not intended for secure transactions such as banking, social media, email, or purchasing. Use at your own risk. We assume no liability whatsoever for broken pages.


Alternative Proxies:

Alternative Proxy

pFad Proxy

pFad v3 Proxy

pFad v4 Proxy