ข้ามไปเนื้อหา

นีมิ

พิกัด: 34°58′26″N 133°28′23″E / 34.97389°N 133.47306°E / 34.97389; 133.47306
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นีมิ

新見市
ทิวทัศน์ตัวเมืองนีมิมองจากสวนโจยามะ
ทิวทัศน์ตัวเมืองนีมิมองจากสวนโจยามะ
ธงของนีมิ
ธง
ตราอย่างเป็นทางการของนีมิ
ตรา
ที่ตั้งของนีมิ (เน้นสีชมพู) ในจังหวัดโอกายามะ
ที่ตั้งของนีมิ (เน้นสีชมพู) ในจังหวัดโอกายามะ
แผนที่
นีมิตั้งอยู่ในประเทศญี่ปุ่น
นีมิ
นีมิ
ที่ตั้งในประเทศญี่ปุ่น
พิกัด: 34°58′26″N 133°28′23″E / 34.97389°N 133.47306°E / 34.97389; 133.47306
ประเทศธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
ภูมิภาคชูโงกุ, ซังโย
จังหวัด โอกายามะ
การปกครอง
 • ประเภทเทศบาลนคร
 • นายกเทศมนตรีฮิโตชิ เอบิซุ (戎 斉; ตั้งแต่ ค.ศ. 2010)
พื้นที่
 • ทั้งหมด793.29 ตร.กม. (306.29 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (1 พฤษภาคม ค.ศ. 2024)[1]
 • ทั้งหมด25,775 คน
 • ความหนาแน่น32.5 คน/ตร.กม. (84 คน/ตร.ไมล์)
เขตเวลาUTC+09:00 (JST)
ที่อยู่ศาลาว่าการ310-3 นีมิ นครนีมิ จังหวัดโอกายามะ 718-8501
รหัสท้องถิ่น33210-1
เว็บไซต์www.city.niimi.okayama.jp
สัญลักษณ์
สัตว์ปีกนกกระจ้อยญี่ปุ่น
ดอกไม้กุหลาบพันปี
ต้นไม้ฮิโนกิ (Chamaecyparis obtusa)

นีมิ (ญี่ปุ่น: 新見市โรมาจิNiimi-shi) เป็นนครที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจังหวัดโอกายามะ ประเทศญี่ปุ่น ณ วันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 2024 นครนีมิมีจำนวนประชากรประมาณ 25,775 คน[1][2] มีความหนาแน่นของประชากร 32.5 คนต่อตารางกิโลเมตร มีขนาดพื้นที่รวม 793.29 ตารางกิโลเมตร (306.29 ตารางไมล์)

ภูมิศาสตร์

[แก้]
ภาพถ่ายทางอากาศของใจกลางเมืองนีมิ

นีมิตั้งอยู่บนที่ราบสูงหินปูน (คาสต์) ในพื้นที่เทือกเขาชูโงกุ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจังหวัดโอกายามะ พื้นที่มากกว่าร้อยละ 85 ของเขตเทศบาลเป็นภูเขา โดยเขาฮานามิเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดอยู่ที่ระดับความสูง 1,188 เมตร เนื่องจากภูมิประเทศที่ขรุขระ จึงมีน้ำตก เขื่อน น้ำพุร้อนอนเซ็ง และถ้ำหินปูนหลายแห่ง ตัวเมืองหลักตั้งอยู่ตอนบนของแม่น้ำทากาฮาชิ[3][4][5]

เทศบาลข้างเคียง

[แก้]

ภูมิอากาศ

[แก้]

นีมิมีภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้นกึ่งเขตร้อน (การแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิพเพิน Cfa) อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีในนีมิอยู่ที่ 12.4 องศาเซลเซียส (54.3 องศาฟาเรนไฮต์) ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ 1,361.1 มิลลิเมตร (53.59 นิ้ว) โดยเดือนกรกฎาคมเป็นเดือนที่มีฝนตกชุกที่สุด อุณหภูมิสูงสุดโดยเฉลี่ยอยู่ในเดือนสิงหาคมอยู่ที่ประมาณ 24.5 องศาเซลเซียส (76.1 องศาฟาเรนไฮต์) และต่ำสุดอยู่ในเดือนมกราคมอยู่ที่ประมาณ 1.1 องศาเซลเซียส (34.0 องศาฟาเรนไฮต์)[6] อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึกได้ในนีมิอยู่ที่ 36.8 °C (98.2 °F) เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม ค.ศ. 1994 ส่วนอุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึกอยู่ที่ −14.9 °C (5.2 °F) เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1981[7]

สถิติประชากร

[แก้]

ตามข้อมูลสำมะโนประชากรของญี่ปุ่น ประชากรของนีมิใน ค.ศ. 2020 อยู่ที่ 28,079 คน[10] โดยนีมิดำเนินการสำมะโนประชากรมาตั้งแต่ ค.ศ. 1920

ประวัติจำนวนประชากร
ปีประชากร±%
1920 45,231—    
1925 47,793+5.7%
1930 50,725+6.1%
1935 51,149+0.8%
1940 51,795+1.3%
1945 63,627+22.8%
1950 65,058+2.2%
1955 66,146+1.7%
1960 62,297−5.8%
1965 55,164−11.4%
1970 48,967−11.2%
ปีประชากร±%
1975 46,726−4.6%
1980 44,882−3.9%
1985 44,019−1.9%
1990 42,264−4.0%
1995 39,891−5.6%
2000 38,492−3.5%
2005 36,073−6.3%
2010 33,865−6.1%
2015 30,658−9.5%
2020 28,079−8.4%
สถิติประชากรนีมิ[10]

ประวัติศาสตร์

[แก้]

พื้นที่ที่เป็นนีมิในปัจจุบัน เดิมเคยเป็นส่วนหนึ่งของแคว้นโบราณที่ชื่อแคว้นบิตจู โดยครอบคลุมพื้นที่อำเภออางะและอำเภอเท็ตสึตะที่แบ่งโดยแม่น้ำทากาฮาชิ นีมิปรากฏในบันทึกตั้งแต่ยุคเฮอัง (ค.ศ. 794–1185) ณ ตอนนั้นเป็นโชเอ็งหรือที่ดินล้อมรอบคฤหาสน์ที่เรียกว่า มีมิโช ซึ่งครอบครองพื้นที่ส่วนใหญ่ของนีมิในปัจจุบัน ในช่วงกลางยุคคามากูระ ได้มีตระกูลนีมิทำหน้าที่เป็นจิโต ซึ่งเป็นตำแหน่งผู้มีอำนาจถือครองที่ดินทางตอนเหนือของแคว้นบิตจูและสร้างปราสาทที่นีมิเป็นที่อยู่อาศัย หลังจากนั้น พื้นที่ดังกล่าวได้กลายเป็นอาณาเขตของวัดโทจิในเกียวโต และต่อมาอยู่ภายใต้การควบคุมของตระกูลอามาโงะในช่วงยุคเซ็งโงกุ ในช่วงต้นยุคเอโดะ พื้นที่แห่งนี้เป็นส่วนหนึ่งของแคว้นศักดินาบิตจู-มัตสึยามะ และพัฒนาเป็นศูนย์กลางการค้าภายในประเทศที่สำคัญ เนื่องจากมีแม่น้ำทากาฮาชิเป็นเส้นทางเชื่อมต่อกับมัตสึยามะโจกามาจิหรือเมืองที่ตั้งปราสาทมัตสึยามะ[5] ใน ค.ศ. 1697 รัฐบาลโชกุนโทกูงาวะได้ก่อตั้งแคว้นศักดินานีมิขึ้น ซึ่งปกครองโดยตระกูลเซกิเรื่อยมาจนถึงยุคการปฏิรูปเมจิ

หลังการปฏิรูปเมจิ เมื่อมีการประกาศใช้ระบบเทศบาล หมู่บ้านนีมิก็ได้จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม ค.ศ. 1889 ได้รับการยกฐานะเป็นเมืองเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1896 ในวันที่ 15 เมษายน ค.ศ. 1938 ได้เกิดเหตุการณ์เพลิงไหม้ที่เผาทำลายส่วนใหญ่ของเมืองนีมิ หลังจากนั้น เมืองนีมิได้รับการยกฐานะเป็นนครเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน ค.ศ. 1954 ต่อมาในวันที่ 31 มีนาคม ค.ศ. 2005 นครนีมิได้ผนวกรวมเมืองต่าง ๆ เข้ามาเป็นส่วนหนึ่ง ได้แก่ โอซะ, ชิงโง, เท็ซเซ และเท็ตตะ (ทั้งหมดเคยอยู่ภายในอำเภออาเต็ตสึ) ทำให้นครนีมิมีขนาดพื้นที่ใหญ่ขึ้น[4]

การเมืองการปกครอง

[แก้]
ศาลาว่าการนครนีมิ

นครนีมิเป็นเทศบาลนคร มีรูปแบบการบริหารแบบนายกเทศมนตรี–สภา โดยมีนายกเทศมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง และสภานครที่เป็นฝ่ายนิติบัญญัติประกอบด้วยสมาชิก 16 คน นครนีมิเป็นเขตเลือกตั้งที่ให้สมาชิกสภาจังหวัดโอกายามะจำนวน 1 คน ในแง่ของการเมืองระดับประเทศ นครนีมิเป็นส่วนหนึ่งของเขตเลือกตั้งจังหวัดโอกายามะที่ 3 ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในรัฐสภาญี่ปุ่น

เศรษฐกิจ

[แก้]

เมืองนีมิมีชื่อเสียงในด้านเหมืองทรายเหล็กและผลิตภัณฑ์เนื้อวากิว[5] อุตสาหกรรมหลักในเมืองนีมิในปัจจุบัน ได้แก่ เหมืองหินปูน การผลิตปูนซีเมนต์[11] อุตสาหกรรมป่าไม้ และการท่องเที่ยว เมืองนี้เป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ของบริษัท ยามาซะ จำกัด ผู้ผลิตตู้สล็อตปาจิงโกะ[12] ฟาร์มต่าง ๆ ในเมืองนีมิมีทั้งฟาร์มองุ่น เกาลัด พีช และสาลี่ญี่ปุ่น[11] อีกทั้งยังมีฟาร์มเพาะปลูกชาดำที่นี่อีกด้วย[13]

การศึกษา

[แก้]

นีมิมีโรงเรียนรัฐที่สังกัดเทศบาลเมือง แบ่งเป็นโรงเรียนประถม 17 แห่ง และโรงเรียนมัธยมต้น 7 แห่ง และมีโรงเรียนรัฐที่สังกัดคณะกรรมการการศึกษาจังหวัดโอกายามะ เป็นโรงเรียนมัธยมปลาย 1 แห่ง นอกจากนี้ยังมีโรงเรียนมัธยมปลายเอกชน 1 แห่ง และทางจังหวัดได้ดำเนินการเปิดโรงเรียนการศึกษาพิเศษสำหรับผู้พิการ 1 แห่ง รวมถึงมีมหาวิทยาลัยนีมิ หรือนีมิโคริตสึไดงากุ

การขนส่ง

[แก้]

รถไฟ

[แก้]
สถานีรถไฟนีมิในฤดูหนาว

นีมิเป็นเมืองชุมทางรถไฟ[11] โดยมีเส้นทางรถไฟของบริษัทรถไฟญี่ปุ่นตะวันตกให้บริการ 3 สาย ซึ่งมาบรรจบกันที่สถานีรถไฟนีมิ

รถโดยสารประจำทาง

[แก้]

ทางหลวง

[แก้]

เมืองพี่น้องและเมืองแฝด

[แก้]

นีมิมีเมืองพี่น้องและเมืองแฝดดังต่อไปนี้

สิ่งที่น่าสนใจในท้องถิ่น

[แก้]

นีมิมีขึ้นชื่อเรื่องถ้ำหินปูน[4] ซึ่งได้แก่

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "統計分析課" [กองวิเคราะห์สถิติ]. จังหวัดโอกายามะ (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 21 มิถุนายน 2024.
  2. "Niimi city official statistics" (ภาษาญี่ปุ่น). Japan.
  3. "高梁川" [Takahashi River]. Kokushi Daijiten (ภาษาญี่ปุ่น). Tokyo: Shogakukan. 2012. OCLC 683276033. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 25, 2007. สืบค้นเมื่อ 2012-08-21.
  4. 4.0 4.1 4.2 "新見" [Niimi]. Dijitaru Daijisen (ภาษาญี่ปุ่น). Tokyo: Shogakukan. 2012. OCLC 56431036. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 25, 2007. สืบค้นเมื่อ 2012-08-21.
  5. 5.0 5.1 5.2 "新見" [Niimi]. Kokushi Daijiten (ภาษาญี่ปุ่น). Tokyo: Shogakukan. 2012. OCLC 683276033. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 25, 2007. สืบค้นเมื่อ 2012-08-21.
  6. 6.0 6.1 気象庁 / 平年値(年・月ごとの値). JMA. สืบค้นเมื่อ May 10, 2022.
  7. 7.0 7.1 観測史上1~10位の値(年間を通じての値). JMA. สืบค้นเมื่อ May 10, 2022.
  8. 気象庁 / 平年値(年・月ごとの値). JMA. สืบค้นเมื่อ May 10, 2022.
  9. 観測史上1~10位の値(年間を通じての値). JMA. สืบค้นเมื่อ May 10, 2022.
  10. 10.0 10.1 สถิติประชากรนีมิ
  11. 11.0 11.1 11.2 "Niimi". Encyclopedia of Japan. Tokyo: Shogakukan. 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 25, 2007. สืบค้นเมื่อ 2012-03-06.
  12. "企業情報 (Yamasa Corporate Info)". 山佐グループ (yamasa.co.jp) (ภาษาญี่ปุ่น). 20 May 2014. สืบค้นเมื่อ 13 July 2021.
  13. "Japanese Tea: Not Just Green - News - NHK WORLD - English". www3.nhk.or.jp. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-11-04.
  14. "New Paltz and Niimi City, Sister Cities". Village of New Paltz. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-18. สืบค้นเมื่อ 2011-01-16.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
pFad - Phonifier reborn

Pfad - The Proxy pFad of © 2024 Garber Painting. All rights reserved.

Note: This service is not intended for secure transactions such as banking, social media, email, or purchasing. Use at your own risk. We assume no liability whatsoever for broken pages.


Alternative Proxies:

Alternative Proxy

pFad Proxy

pFad v3 Proxy

pFad v4 Proxy