ข้ามไปเนื้อหา

ลูกา 2

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ลูกา 2
ลูกา 2:1-7 ในฉบับพระเจ้าเจมส์ต้นฉบับ แสดงวรรค 2 ที่อยู่ในวงเล็บ
หนังสือพระวรสารนักบุญลูกา
หมวดหมู่พระวรสาร
ภาคในคัมภีร์ไบเบิลคริสต์พันธสัญญาใหม่
ลำดับในภาคของคัมภีร์ไบเบิลคริสต์3

ลูกา 2 (อังกฤษ: Luke 2) เป็นบทที่ 2 ของพระวรสารนักบุญลูกาในภาคพันธสัญญาใหม่ของคัมภีร์ไบเบิลของศาสนาคริสต์ ซึ่งถือกันว่าเขียนโดยลูกาผู้นิพนธ์พระวรสาร เพื่อนร่วมทางของเปาโลอัครทูตในการเดินทางเผยแผ่ศาสนา[1] ลูกา 2 ประกอบด้วยเรื่องราวการประสูติของพระเยซูในเบธเลเฮม, "การประกาศและการฉลองการประสูติ",[2] การถวายพระกุมารเยซูในพระวิหารในเยรูซาเล็ม และเหตุการณ์ขณะพระองค์ทรงพระเยาว์ วรรคที่ 1-14 มักอ่านระหว่างการนมัสการในวันคริสต์มาส[3]

ต้นฉบับ

[แก้]
แผนที่แสดงเหตุการณ์ในการประสูติของพระเยซูที่บรรยายในพระวารสารลูกา
คำอธิบายสัญลักษณ์: 1. สารถึงมารีย์ในนาซาเรธ 2. การจดทะเบียนสำมะโนครัวของคีรินิอัส (ตามประวัติศาสตร์ดำเนินการโดยข้าหลวงแคว้นยูเดียจากซีซาเรีย) 3. โยเซฟและมารีย์เดินทางจากนาซาเรธไปเบธเลเฮม 4. การประสูติของพระเยซูในเบธเลเฮม 5. คนเลี้ยงแกะรับสาร ('ใกล้กับ' เบธเลเฮม, ลูกา 2:8 ) 6. การนมัสการของคนเลี้ยงแกะในเบธเลเฮม 7. การถวายพระกุมารเยซูในพระวิหารในเยรูซาเล็ม 8. โยเซฟ มารีย์ และพระเยซูเดินทางกลับไปนาซาเรธ

ข้อความต้นฉบับเขียนด้วยภาษากรีกคอยนี บทนี้แบ่งออกเป็น 52 วรรค

พยานต้นฉบับ

[แก้]

ต้นฉบับบางส่วนในยุคต้นที่มีเนื้อหาของบทนี้ได้แก่:

การประสูติของพระเยซู (2:1–7)

[แก้]

พระวรสารลูกาบรรยายว่าจักรพรรดิออกัสตัสมีรับสั่งให้ทำสำมะโนประชากร ".. ทั่วทั้งแผ่นดิน" ในเวลานั้น (หรืออาจะก่อนหน้านั้น) เป็นสมัยที่คีรินิอัสเป็นเจ้าเมืองซีเรีย จึงเป็นเหตุให้เมื่อพระเยซูใกล้จะประสูตินั้น โยเซฟและมารีย์ซึ่งอาศัยในนาซาเรธต้องเดินทางไปยังเบธเลเฮมซึ่งเป็นสถานที่ประสูติของกษัตริย์ดาวิด คัมภีร์ฉบับแปลเป็นภาษาอังกฤษหลายฉบับให้ความเห็นว่าวัตถุประสงค์ของการทำสำมะโนนั้นเพื่อที่ทุกคนจะได้รับการลงทะเบียน แต่ฉบับพระเจ้าเจมส์และฉบับอื่น ๆ ให้ความเห็นว่าเพื่อให้ทุกคนต้องเสียภาษี[5] คัมภีร์ไบเบิลฉบับขยายความให้ความเห็นว่าเพื่อให้รวบรวมทะเบียนสำหรับการเก็บภาษี[6] ความถูกต้องเกี่ยวกับเรื่องราวการประสูติของพระเยซูเป็นที่ถกเถียงในหมู่นักวิชาการสมัยใหม่หลายคน เนื่องจากคีรินิอัสยังไม่ได้เป็นเจ้าเมืองซีเรียจนกระทั่งปี ค.ศ. 6-7[7] ความคิดเห็นที่ว่าการทำสำมะโนเกิดขึ้นก่อนหน้าสมัยที่คีรินิอัสเป็นเจ้าเมืองซีเรียนั้นเสนอขึ้นโดยจอห์น นอลแลนด์ (John Nolland) นักวิชาการคัมภีร์ไบเบิล เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขความยุ่งยากทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับเวลาเมื่อพระเยซูประสูติซึ่งเกี่ยวข้องกับการทำสำมะโนนี้[8]

วรรค 2

[แก้]
นี่เป็นครั้งแรกที่มีการจดทะเบียนสำมะโนครัว เกิดขึ้นในสมัยที่คีรินิอัสเป็นเจ้าเมืองซีเรีย[9]

ประโยคนี้มีการขนาบด้วยเครื่องหมายนขลิขิตในฐานะคำอธิบายในวงเล็บในฉบับพระเจ้าเจมส์[10]

วรรค 3

[แก้]
คนทั้งหลายต่างก็ไปจดทะเบียนที่เมืองของตน[11]

ต้นฉบับส่วนใหญ่ระบุว่าเป็น πολιν (polin, "เมือง") ของตน ส่วน Codex Bezae ระบุว่าเป็น πατρίδα (patrida) หรือ "บ้านเกิด" ของตน[12]

วรรค 5

[แก้]
เขา[โยเซฟ]ไปจดทะเบียนพร้อมกับมารีย์หญิงที่เขาหมั้นไว้แล้วและกำลังตั้งครรภ์[13]

แม้ว่าความในลูกา 1:32 จะบ่งบอกว่าตัวมารีย์เองอาจจะ "มาจากเชื้อสายของดาวิด" และเบธเลเฮมก็จึงเป็น "เมืองของเธอ" แต่ความในลูกา 2:5 นั้นความหมายที่ผู้นิพนธ์พระวรสารสื่อออกมาคือมารีย์เดินทางไปยังเบธเลเฮมเพื่อติดตามสามีคู่หมั้นของเธอ[2] เรื่องเล่าในลูกา 1 ระบุว่ามารีย์เดินทางจากนาซาเรธไปยังเมืองหนึ่งในแถบภูเขาแคว้นยูเดียเพื่อเยี่ยมเอลีซาเบธผู้เป็นลูกพี่ลูกน้องของเธอ จากนั้นจึงกลับไปยังนาซาเรธ[14] จากนั้นจงเดินทางอีกครั้งพร้อมกับโยเซฟจากนาซาเรธไปยังเบธเลเฮม

วรรค 7

[แก้]
นางจึงคลอดบุตรชายหัวปี เอาผ้าอ้อมพันและวางไว้ในรางหญ้า เพราะว่าไม่มีที่ว่างในโรงแรมสำหรับพวกเขา[15]
  • "ผ้าอ้อม" (swaddling clothes) หมายถึง "แถบผ้าลินินที่จะใช้พันรอบแขนและขาของทารกเพื่อป้องกันแขนและขา"[16]
  • "รางหญ้า" (manger): หรือ "รางให้อาหารสัตว์" (feed trough)[17][18]
  • "โรงแรม" (the inn): แปลมาจากภาษากรีก κατάλυμα kataluma ซึ่งอาจหมายถึง "ห้องรับแขก" (guest room)[19][20] ในเซปทัวจินต์และต้นฉบับพันธสัญญาใหม่ คำนี้อาจหมายถึงสถานที่พักรูปแบบต่าง ๆ[19] โยเซฟและมารีย์ตั้งใจจะไปพักกับญาติในเบธเลเฮม แต่ "ห้องรับแขก" ในบ้านเต็มเกินความจุเพราะญาติคนอื่น ๆ ทั้งหมดที่เดินทางไปยังเบธเลเฮมเพื่อทำสำมะโน เบธเลเฮมมีขนาดไม่ใหญ่นักและไม่มีสถานที่อื่น ๆ ให้พักอีก[19]

ทูตสวรรค์และคนเลี้ยงแกะ (2:8-20)

[แก้]

จากนั้นลูกาจึงเล่าถึงเหล่าคนเลี้ยงแกะที่ดูแลฝูงแกะอยู่ใกล้เบธเลเฮม ซึ่งได้เห็นทูตสวรรค์มาเยือนแล้วบอกกับพวกเขาว่าในเบธเลเฮม "... พระผู้ช่วยให้รอดของพวกท่านคือพระคริสต์องค์พระผู้เป็นเจ้ามาประสูติที่เมืองของดาวิด (เบธเลเฮม)"

วรรค 10

[แก้]
ทูตสวรรค์องค์นั้นกล่าวกับเขาทั้งหลายว่า “อย่ากลัวเลย เพราะเรานำข่าวดีมายังพวกท่าน เป็นความยินดีอย่างยิ่งที่จะมาถึงคนทั้งหลาย"[21]

วรรค 11

[แก้]
"เพราะว่าในวันนี้ พระผู้ช่วยให้รอดของพวกท่านคือพระคริสต์องค์พระผู้เป็นเจ้ามาประสูติที่เมืองของดาวิด"[22]

การเข้าสุหนัตและการตั้งพระนาม (2:21)

[แก้]

การถวายพระกุมารเยซูในพระวิหาร (2:22-38)

[แก้]

เสด็จกลับนาซาเรธและวัยเด็กช่วงต้น (2:39-40)

[แก้]

พระกุมารเยซูในพระวิหาร (2:41-50)

[แก้]

วัยเด็กช่วงปลายและวัยรุ่น (2:51-52)

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Jerusalem Bible (1966), "Introduction to the Synoptic Gospels", New Testament p. 5
  2. 2.0 2.1 Alford, H., Greek Testament Critical Exegetical Commentary - Alford on Luke 2, accessed 21 August 2023
  3. BBC Radio 4, Midnight Mass, 24 December 2021 from Salford Cathedral
  4. Aland, Kurt; Aland, Barbara (1995). The Text of the New Testament: An Introduction to the Critical Editions and to the Theory and Practice of Modern Textual Criticism. Erroll F. Rhodes (trans.). Grand Rapids: William B. Eerdmans Publishing Company. p. 96. ISBN 978-0-8028-4098-1.
  5. BibleGateway.com, Translations of Luke 2:1
  6. Additional words "register for taxation" at 2:1 EXB:{{{4}}} ; EXB
  7. Franklin, E., 59. Luke, in Barton, J. and Muddiman, J. (2001), The Oxford Bible Commentary เก็บถาวร 2017-11-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, p. 929
  8. Nolland, J. (1989–93), Luke, Word Biblical Commentary Series (Dallas: Word)
  9. ลูกา 2:2
  10. Nicoll, W. R., Expositor's Greek Testament. Luke 2. Accessed 24 April 2019.
  11. ลูกา 2:3
  12. Meyer, H. A. W. (1890), Meyer's NT Commentary on Luke 2, accessed 5 July 2020
  13. ลูกา 2:5
  14. ลูกา 1:39-40
  15. ลูกา 2:7
  16. Note [a] on Luke 2:7 in NET Bible
  17. Note on Luke 2:7 in NKJV
  18. Note [b] on Luke 2:7 in NET Bible
  19. 19.0 19.1 19.2 Note [c] on Luke 2:7 in NET Bible
  20. Note on Luke 2:7 in ESV
  21. ลูกา 2:10
  22. ลูกา 2:11

บรรณานุกรม

[แก้]

อ่านเพิ่มเติม

[แก้]
  • Brown, Raymond E. An Introduction to the New Testament 1997 Doubleday ISBN 0-385-24767-2

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
ก่อนหน้า
ลูกา 1
บทของคัมภีร์ไบเบิล
พระวรสารนักบุญลูกา
ถัดไป
ลูกา 3
pFad - Phonifier reborn

Pfad - The Proxy pFad of © 2024 Garber Painting. All rights reserved.

Note: This service is not intended for secure transactions such as banking, social media, email, or purchasing. Use at your own risk. We assume no liability whatsoever for broken pages.


Alternative Proxies:

Alternative Proxy

pFad Proxy

pFad v3 Proxy

pFad v4 Proxy