ข้ามไปเนื้อหา

วงศ์งูงวงช้าง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วงศ์งูงวงช้าง
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: กลางยุคไมโอซีน-ปัจจุบัน[1]
งูงวงช้าง (Acrochordus javanicus) ซึ่งเป็นชนิดต้นแบบของวงศ์นี้
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Reptilia
อันดับ: Squamata
อันดับย่อย: Serpentes
อันดับฐาน: Alethinophidia
วงศ์: Acrochordidae
Bonaparte, 1831
สกุล: Acrochordus
Hornstedt, 1787
ชื่อพ้อง
  • Acrochordina - Bonaparte, 1831
  • Acrochordidae - Bonaparte, 1840
  • Acrochorniens - A.M.C. Duméril, 1853
  • Acrochordidae - Jan, 1863
  • Acrochordinae - Boulenger, 1893
  • Acrochordoidae - McDowell, 1975
  • Acrochordini - Dowling & Duellman, 1978[2]

  • Acrochordus - Hornstedt, 1787
  • Chersydrus - Cuvier, 1817
  • Chersidrus - Oken, 1817
  • Acrochordus - Gray, 1825
  • Chersydreas - Gray, 1825
  • Chershydrus - Bonaparte, 1831
  • Verrucator - Schlegel, 1837
  • Chersydraeas - Gray, 1849
  • Potamophis - Schmidt, 1852
  • Chersydraeus - Duméril, Bibron & Duméril, 1854
  • Acrochordus - Boulenger, 1893[2]

วงศ์งูงวงช้าง (อังกฤษ: File snakes, Elephant trunk snakes, Dogface snakes) เป็นวงศ์ของงูที่ไม่มีพิษวงศ์หนึ่ง ที่มีรูปร่างขนาดใหญ่ ใช้ชื่อวงศ์ว่า Acrochordidae

มีรูปร่างโดยรวม คือ มีหัวเล็กแต่มีลำตัวขนาดใหญ่ ผิวหนังไม่ยิดติดกับกล้ามเนื้อลำตัวและพับเป็นรอยย่นมาก เกล็ดตามลำตัวเป็นตุ่มนูนและเรียงตัวต่อเนื่องกัน โดยมีตุ่มหนามเจริญขึ้นมาจากผิวหนังลำตัวระหว่างเกล็ด เป็นงูที่อาศัยและหากินในน้ำเป็นหลัก จึงมีส่วนหางที่แบนเพื่อใช้ในการว่ายน้ำ ไม่มีแผ่นปิดช่องจมูกภายนอกแต่ในอุ้งปากมีแผ่นเนื้อเพื่อใช้ปิดโพรงจมูกด้านใน หากินปลาเป็นอาหารหลัก ด้วยการใช้ลำตัวส่วนท้ายที่เป็นตุ่มหนามยึดและรัดไว้ รอให้ปลาเข้ามาใกล้ เมื่อปลาสัมผัสกับผิวหนังลำตัวจะโบกรอยพับที่ย่นของลำตัวนั้นไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่องเพื่อผลักตัวปลาไปข้างหน้าแล้วใช้ปากงับไว้อย่างรวดเร็ว

เป็นงูที่มีขนาดใหญ่ ตั้งแต่ 80-100 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่เอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไปจนถึงหมู่เกาะฟิลิปปินและออสเตรเลีย มีทั้งหมดเพียง 3 ชนิด และสกุลเดียวเท่านั้นคือ Acrochordus ทุกชนิดออกลูกเป็นตัว โดยในประเทศไทยพบ 2 ชนิด คือ งูงวงช้าง (A. javanicus) และงูผ้าขี้ริ้ว (A. granulatus) [3]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Sepkoski, Jack (2002). "A compendium of fossil marine animal genera (Reptilia entry)". Bulletins of American Paleontology. 364: 560. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-02. สืบค้นเมื่อ 2007-12-25.
  2. 2.0 2.1 McDiarmid RW, Campbell JA, Touré T. 1999. Snake Species of the World: A Taxonomic and Geographic Reference, vol. 1. Herpetologists' League. 511 pp. ISBN 1-893777-00-6 (series). ISBN 1-893777-01-4 (volume).
  3. วีรยุทธ์ เลาหะจินดา, วิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก หน้า 409 (พ.ศ. 2552) ISBN 978-616-556-016-0

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Acrochordus ที่วิกิสปีชีส์

pFad - Phonifier reborn

Pfad - The Proxy pFad of © 2024 Garber Painting. All rights reserved.

Note: This service is not intended for secure transactions such as banking, social media, email, or purchasing. Use at your own risk. We assume no liability whatsoever for broken pages.


Alternative Proxies:

Alternative Proxy

pFad Proxy

pFad v3 Proxy

pFad v4 Proxy