ข้ามไปเนื้อหา

ศาสนาบาไฮ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ศาสนาบาฮาอี)
สำนักงานสภายุติธรรมสากล องค์กรซึ่งปกครองดูแลบาไฮทั้งปวง ตั้งอยู่ที่ไฮฟา, ประเทศอิสราเอล

ศาสนาบาไฮ[1] หรือ ลัทธิบาไฮ[2] (อังกฤษ: Baháʼí Faith; /bəˈhɑː, bəˈh/; เปอร์เซีย: بهائی Bahāʼi) เป็นศาสนาที่สอนคุณค่าอันเป็นสาระสำคัญของศาสนาทั้งปวง และเอกภาพของผู้คนทั้งปวง[3] พระบะฮาอุลลอฮ์ก่อตั้งขึ้นในปี 1863 โดยเริ่มต้นเติบโตในแถบเปอร์เซียและบางส่วนของตะวันออกกลาง ที่ซึ่งมีการลงโทษศาสนิกชนอยู่ตลอดนับตั้งแต่การตั้งศาสนา[4] มีการประมาณการณ์ว่ามีผู้นับถือศาสนาบาไฮอยู่ราว 5 ถึง 8 ล้านคน เรียกว่าศาสนิกชนบาไฮ (Baháʼís) กระจายอยู่ตามประเทศและเขตการปกครองส่วนใหญ่ของโลก[5]

ศาสนาบาไฮมีบุคคลสำคัญอยู่สามบุคคล คือ พระบาบ (1819–1850) ที่เชื่อว่าเป็นผู้นำข่าวดีมาประกาศ (herald) สอนว่าพระเป็นเจ้าจะทรงส่งผู้เผยพระวจนะเช่นเดียวกับพระเยซูหรือมูฮัมหมัดมา ในท้ายที่สุด พระบาบได้ถูกเจ้าหน้าที่ของอิหร่านลงโทษในปี 1850; พระบะฮาอุลลอฮ์ (1817–1892) ผู้ซึ่งอ้างว่าเป็นศาสดาพยากรณ์ในปี 1863 และสุดท้ายถูกขับไล่และจำคุกเป็นเวลาส่วนใหญ่ของช่วงชีวิตเขา; และบุตรชายของบาฮาอุลเลาะห์ พระอับดุลบะฮาอ์ (1844–1921) ผู้ถูกปล่อยเป็นอิสระจากการจองจำในปี 1908 และเดินทางไปสอนความเชื่อตามในยุโรปและอเมริกา ภายหลังการเสียชีวิตของท่านในปี 1921 หลานชายของท่าน Shoghi Effendi (1897–1957) ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งผู้นำของบาไฮ ทุก ๆ ปี ชาวบาไฮทั่วโลกจะมีการเลือกตั้งสภาจิตวิญญาณระดับท้องถิ่น ภูมิภาค และประจำชาติ และทุก ๆ ห้าปี สมาชิกทุกคนของสภาจิตวิญญาณประจำชาติจะเลือกตั้งผู้แทนสภายุติธรรมสากล ประกอบด้วยสมาชิกเก้าคน ผู้เป็นผู้ดูแลสูงสุดของชุมชนบาไฮทั่วโลก ตั้งอยู่ที่เมืองไฮฟา ประเทศอิสราเอล ใกล้กับสักการสถานพระบาบ

คำสอนของบาไฮมีหลายส่วนที่คล้ายคึงกับคำสอนของศาสนาเอกเทวนิยมอื่น: พระเป็นเจ้า มีอยู่พระองค์เดียว และทรงมีพลังอำนาจสูงสุด อย่างไรก็ตาม บาฮาอุลเลาะห์ได้สอนว่าศาสนานั้นจะถูกเปิดเผยออกตามลำดับและอย่างก้าวหน้าโดยพระผู้สำแดงองค์ของพระเป็นเจ้า คือศาสดาศาสนาหลักของโลก โดยมีพระกฤษณะ, พระโคตมพุทธเจ้า, พระเยซู และมุฮัมมัด เป็นองค์ล่าสุด ตามด้วยพระบาบและพระบะฮาอุลลอฮ์ ศาสนาบาไฮเชื่อว่าศาสนาหลักของโลกล้วนมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในเชิงเป้าหมายในระดับพื้นฐาน แต่มีความต่างกันที่การปฏิบัติและการตีความ ศาสนาบาไฮยังให้ความสำคัญสูงมากกับเอกภาพของมนุษยชาติ, การแสดงออกอย่างเปิดเผยซึ่งการไม่ยอมรับการเหยียดสีผิว และ ชาตินิยม ทุกกรณี ใจกลางของคำสอนบาไฮคือเป้าหมายของการเกิดนิวเวิลด์ออร์เดอร์ที่สามารถยืนยันซึ่งความเจริญรุ่งเรืองของทุกชาติ สีผิว ความเชื่อ และชนชั้น[6][7]

จดหมายต่าง ๆ ที่เขียนโดยบาฮาอุลเลาะห์สนทนากับผู้คนต่าง ๆ รวมถึงประมุขของรัฐบางรัฐ ได้ถูกรวบรวมและเผยแพร่เป็นงานหลักกลางของวรรณกรรมบาไฮ ซึ่งรวมถึงงานเขียนโดยบุตรของบาฮาอุลเลาะห์ พระอับดุลบะฮาอ์ และ พระบาบ ผู้มาก่อนบาฮาอุลเลาะห์ วรรณกรรมชิ้นสำคัญของบาไฮได้แก่ คีตาบีอัคดัส, คีตาบีอีคาน, คำถามบางประการที่ทราบคำตอบแล้ว และ ปวงผู้ทลายอรุณทอแสง

ความเชื่อ

[แก้]

คำสอนของพระบาฮาอุลลาห์เป็นพื้นฐานของความเชื่อบาไฮ[8] หลักสามประการที่เป็นศูนย์กลางของคำสอนคือ ความเป็นหนึ่งเดียวกันของพระผู้เป็นเจ้า ความเป็นหนึ่งของศาสนา และความเป็นหนึ่งของมนุยชาติ[9] ชาวบาไฮเชื่อว่าพระผู้เป็นเจ้าเปิดเผยพระประสงค์เป็นช่วง ๆ ผ่านทางผู้นำสารสวรรค์ ด้วยจุดมุ่งหมายที่จะเปลี่ยนคุณลักษณะของมนุษยชาติและพัฒนาคุณธรรมและคุณสมบัติของจิตวิญญาณของผู้ที่ตอบรับ ศาสนาได้ถูกมองว่าเป็นตามลำดับ เป็นเอกภาพและพัฒนาจากยุคหนึ่งสู่อีกยุคหนึ่ง[10]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 316
  2. สาคร ช่วยประสิทธิ์. สารานุกรมประวัติศาสตร์สากลสมัยใหม่: เอเชีย เล่ม 1 อักษร A-B ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กทม.ราชบัณฑิตยสถาน. 2539. หน้า 327
  3. Dictionary 2017.
  4. Affolter 2005, pp. 75–114.
  5. Encyclopædia Britannica 2010.
  6. Hatcher & Martin 1998
  7. Moojan Momen (2011). "Bahaʼi". ใน Mark Juergensmeyer; Wade Clark Roof (บ.ก.). Encyclopedia of Global Religion. Sage Publications. doi:10.4135/9781412997898.n61. ISBN 978-0-7619-2729-7.
  8. Esslemont, J. E. (1980). Baháʼu'lláh and the New Era (Fifth ed.). US Baháʼí Publishing Trust. p. 5.
  9. Hutter, Manfred (2005). "Bahā'īs". In Jones, Lindsay (ed.). Encyclopedia of Religion. 2 (2nd ed.). Detroit, MI: Macmillan Reference US. pp. 737–740.ISBN 0-02-865733-0
  10. Smith, Peter, November 27- (2008). An introduction to the Baha'i faith. Cambridge: Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-86251-6. OCLC 181072578.

บรรณานุกรม

[แก้]

รายงานข่าว

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
pFad - Phonifier reborn

Pfad - The Proxy pFad of © 2024 Garber Painting. All rights reserved.

Note: This service is not intended for secure transactions such as banking, social media, email, or purchasing. Use at your own risk. We assume no liability whatsoever for broken pages.


Alternative Proxies:

Alternative Proxy

pFad Proxy

pFad v3 Proxy

pFad v4 Proxy