ข้ามไปเนื้อหา

สถานีย่อย:ประเทศฝรั่งเศส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


PORTAIL

FRANCE

สถานีย่อยประเทศฝรั่งเศส


Le Pays des Droits de l'Homme   •   The Country of the Human Rights   •   ประเทศแห่งสิทธิมนุษยชน





แก้ไข   

สถานีย่อยประเทศฝรั่งเศส

ฝรั่งเศส (France) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐฝรั่งเศส (French Republic) (ฝรั่งเศส: République française ออกเสียง [ʁepyˈblik fʁɑ̃ˈsɛz]) เป็นประเทศที่มีศูนย์กลางตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปตะวันตก ทั้งยังประกอบไปด้วยเกาะและดินแดนอื่น ๆ ในต่างทวีป ชาวฝรั่งเศสมักจะเรียกฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่ว่า "หกเหลี่ยม" (L'Hexagone) เนื่องจากลักษณะภูมิประเทศและอาณาเขตของประเทศฝรั่งเศส

ประเทศฝรั่งเศสมีพรมแดนติดกับประเทศเบลเยียม ลักเซมเบิร์ก เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี โมนาโก อันดอร์รา และสเปน และเนื่องจากประเทศฝรั่งเศสมีดินแดนโพ้นทะเลไว้ในครอบครอง ทำให้มีอาณาเขตติดกับประเทศบราซิลและซูรินาเม (ติดกับเฟรนช์เกียนา) และหมู่เกาะอินดีสเนเธอร์แลนด์ตะวันตก (ติดกับแซงต์-มาแตง) อีกด้วย นอกจากนั้นประเทศฝรั่งเศสยังเชื่อมกับสหราชอาณาจักรทางอุโมงค์ช่องแคบอังกฤษอีกด้วย

สาธารณรัฐฝรั่งเศสปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย แบบสาธารณรัฐเดี่ยวกึ่งประธานาธิบดี โดยมีอุดมการณ์จากคำประกาศสิทธิมนุษยชนและพลเมือง ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 ฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในประเทศจักรวรรดินิยมที่มีอาณานิคมในครอบครองมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก แผ่อาณาเขตบริเวณทวีปแอฟริกาตะวันตกและเอเชียอาคเนย์ ซึ่งเห็นได้ชัดจากการมีอิทธิพลเหนือวัฒนธรรมและการเมืองการปกครองในอาณานิคมนั้น ๆ ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วและมีเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 6 ของโลก ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุดในโลกอีกด้วย โดยมีนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศกว่า 79 ล้านคนต่อปี (รวมทั้งนักท่องเที่ยวทางธุรกิจ แต่ไม่รวมนักท่องเที่ยวที่อยู่ภายในประเทศน้อยกว่า 24 ชั่วโมง) ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดในสมาชิกสหภาพอีกด้วย ฝรั่งเศสเองยังเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหประชาชาติ, ประชาคมผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศสโลก, G8 และสหภาพละติน ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติและเป็นมหาอำนาจนิวเคลียร์อีกด้วย (อ่านต่อ...)

แก้ไข   

บทความแนะนำ

รัฐสภาฝรั่งเศส (Parlement français) เป็นสถาบันฝ่ายนิติบัญญัติในระบบการปกครองของประเทศฝรั่งเศส โดยยึดระบบสองสภา (Bicamérisme) ซึ่งประกอบไปด้วย

  • สภาสูง (Chambre haute) หรือเรียกว่า วุฒิสภา (Sénat) ซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้แทนท้องถิ่นมาจากการเลือกตั้งโดยอ้อม
  • สภาล่าง (Chambre basse) หรือเรียกว่า สภาผู้แทนราษฎร (Assemblée nationale française) ซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน

โดยผู้มีสิทธิเลือกตั้งคือชาวฝรั่งเศสทั้งหญิงและชาย มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี และไม่เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้งตามที่กฎหมายกำหนด

คุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง (Conditions de candidature et d'éligibilité) มีดังนี้

1. คุณสมบัติ (Eligibilité)

บุคคลสัญชาติฝรั่งเศสทั้งเพศหญิงและชายมีสิทธิลงสมัครรับเลือกตั้ง นอกจากคุณสมบัติดังกล่าวแล้ว ยังต้องไม่เป็นบุคคลไร้ความสามารถหรือมีลักษณะต้องห้ามตามที่กฎหมายกำหนด

2. ลักษณะต้องห้าม (Inéligibilité)
2.1 ลักษณะต้องห้ามอันเกี่ยวข้องกับลักษณะบุคคล
• อยู่ภายใต้ความคุ้มครอง การควบคุมในทางปกครอง
• ต้องโทษมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง
• ถูกประกาศให้เป็นบุคคลล้มละลาย ถูกห้ามมิให้บริหารงานรัฐวิสาหกิจ หรือต้องสะสางบัญชีทรัพย์สินตามคำสั่งศาล
• ไม่ได้เข้ารับการเกณฑ์ทหารตามกฎหมาย อ่านต่อ ...
แก้ไข   

บุคคลประจำเดือน

อาร์คดัชเชสมารี หลุยส์แห่งออสเตรีย (Marie Louise d'Autriche) (พระนามเต็ม: มาเรีย ลูโดวิก้า ลีโอโพลดีน่า ฟรานซิสก้า เธเรเซีย โจเซฟ่า ลูเซีย, Maria Ludovika Leopoldina Francisca Theresia Josepha Lucia von Habsburg-Lorraine (Bonaparte)) ทรงเป็นอาร์คดัชเชสแห่งออสเตรีย ก่อนที่จะทรงอภิเษกสมรสกับสมเด็จพระจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 แห่งฝรั่งเศส เพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของจักรวรรดิฝรั่งเศส และจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ พระองค์ทรงเป็นพระมเหสีองค์ที่ 2 ของนโปเลียน จึงทรงได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระจักรพรรดินีแห่งฝรั่งเศส และเมื่อปีพ.ศ. 2360 พระองค์ทรงเป็น ดัชเชสแห่งปาร์มา ปิอาเซนซ่า และกูแอสตาลล่า นอกจากนี้พระองค์ยังทรงเป็นพระราชปนัดดาในสมเด็จพระราชินีมารี อังตัวเนตแห่งฝรั่งเศสอีกด้วย...

อาร์คดัชเชสมาเรีย ลูเซียทรงประสูติเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2334กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ทรงเป็นพระราชธิดาองค์โตในสมเด็จพระจักรพรรดิฟรานซ์ที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (พระราชโอรสในสมเด็จพระจักรพรรดิลีโอโพลด์ที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์) และพระมเหสีองค์ที่ 2 ของพระองค์ เจ้าหญิงมาเรีย เทเรซ่าแห่งทู ซิชิลีส์ เมื่อทรงพระเยาว์ พระองค์ทรงได้รับการศึกษาด้านภาษาจากครูผู้สอนชาวเยอรมัน ตามพระบัญชาของสมเด็จพระราชชนกและสมเด็จพระราชชนนี ดังนั้น พระองค์จึงทรงสามารถตรัสและทรงอักษรเป็นภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาอิตาลี ภาษาละติน และภาษาสเปน เป็นต้น อ่านต่อ ...

แก้ไข   

รูปภาพประจำเดือน

แก้ไข   

ข่าวเด่น

ลาซาเร ปอนติเชลลี (Lazare Ponticelli) เป็นหนึ่งในทหารกว่า 8.4 ล้านคนที่ได้ร่วมรบภายใต้ธงชาติฝรั่งเศสในสงครามโลกครั้งที่ 1 และเป็นทหารผ่านศึกคนสุดท้ายในกองทัพฝรั่งเศสที่ได้ร่วมในมหาสงครามที่มีชีวิตยืนยาวที่สุด ปอนติเชลลีเสียชีวิตเมื่อวันพุธ 12 มีนาคม พ.ศ. 2550 ที่บ้านพักในเครมลิน-บีแซ็ตร์ กรุงปารีส โดยมีอายุ 110 ปี

ประธานาธิบดีนิโกลาส์ ซาร์โกซีได้ออกมาประกาศการเสียชีวิต และได้กล่าวว่าเป็นการเศร้าโศกอย่างไม่มีที่สิ้นสุด มีนายทหารน้อยกว่า 24 คนที่เป็นทหารผ่านศึกสงครามโลกครั้งที่ 1 และยังมีชีวิตอยู่ถึงปัจจุบัน ในปีนี้มีทหารผ่านศึกเสียชีวิตไปแล้ว 6 คน รวมถึงทหารผ่านศึกชาวเยอรมนีที่เพิ่งเสียชีวิตไปและต่อมาคือปอนติเชลลี่

การมีชีวิตรอดไม่ได้ถือว่าเป็นการประสอบความสำเร็จแต่อย่างใด และปอนติเชลลี่ก็ได้ให้สัมภาษณ์กับรอยเตอร์ในปีที่แล้วว่า "ไม่เคยรู้มาก่อนว่ามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร" เขาได้กล่าวอยู่เสมอว่าเกียรติประวัตินั้นตกอยู่กับทหารฝรั่งเศสกว่า 1.3 ล้านคนที่ได้เสียชีวิตระหว่างสงคราม และเมื่อสัปดาห์เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม โรเบิร์ต เอ็ม. เกตส์ได้สดุดียกย่องทหารผ่านศึก โดยเฉพาะทหารผ่านศึกอเมริกันคนสุดท้ายที่ได้ถูกส่งไปรบในต่างประเทศ แฟรงค์ บักเคิลส์ ซึ่งมีอายุกว่า 107 ปี ในทางกลับกันรัฐบาลเยอรมนีกลับเพิกเฉยต่อการเสียชีวิตของทหารผ่านศึกชาวเยอรมนีคนสุดท้าย เอริช แคสต์เนอร์ ซึ่งเสียชีวิตเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2550

เมื่อฌากส์ ชีรักเป็นประธานาธิบดีฝรั่งเศส เขาได้สาบานว่าจะแสดงความเคารพต่อทหารผ่านศึกคนสุดท้ายโดยให้มีงานศพอย่างสมเกียรติ แต่ปอนติเชลลี่กลับต่อต้านแนวความคิดของชีรัก โดยกล่าวว่ามันจะเป็นการลบหลู่ทหารคนอื่นๆ ที่ได้เสียชีวิตไปแล้ว โดยไม่มีพิธีหรืองานศพใดๆ

แต่หลังจากการเสียชีวิตในเดือนมกราคมของทหารผ่านศึกชาวฝรั่งเศส หลุยส์ เดอ กาเซอนาฟ (110 ปี) ปอนติเชลลี่ได้ตกลงที่จะให้มีงานระลึกเล็กๆ แด่เหล่าทหารผ่านศึกที่ได้เสียชีวิตไปแล้ว "ไม่อึกทึกครึกโครม ไม่มีขบวน" เขากล่าว

แก้ไข   

เหตุการณ์ในประเทศฝรั่งเศส

แก้ไข   

รู้หรือไม่...?

แก้ไข   

คุณทำได้


คุณทำได้ คุณสามารถแปลบทความที่เกี่ยวกับประเทศฝรั่งเศสจากภาษาฝรั่งเศส ภาษาอังกฤษ หรือภาษาใดๆ ก็ได้


แก้ไข   

แม่แบบที่เกี่ยวข้องกับประเทศฝรั่งเศส

แก้ไข   

สถานีย่อยอื่น ๆ

   ล้างแคชของหน้านี้ {แคชคืออะไร ?}
pFad - Phonifier reborn

Pfad - The Proxy pFad of © 2024 Garber Painting. All rights reserved.

Note: This service is not intended for secure transactions such as banking, social media, email, or purchasing. Use at your own risk. We assume no liability whatsoever for broken pages.


Alternative Proxies:

Alternative Proxy

pFad Proxy

pFad v3 Proxy

pFad v4 Proxy