ข้ามไปเนื้อหา

สุขภาพ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สุขภาพ (health) หมายถึงระดับของประสิทธิภาพเชิงการทำงานหรือเชิงเมตาบอลิกของสิ่งมีชีวิตทั่ว ๆ ไป โดยมีการให้คำนิยามที่แตกต่างกันไป แต่มักเชื่อมโยงกับแนวคิดเรื่องโรค โดยมองเพียงว่าสุขภาพคือการไม่มีโรคหรือไม่เจ็บป่วย จึงมีการเสนอคำภาษาไทย เช่นคำว่า "สุขภาวะ" มาใช้ แม้จะไม่ได้รับความนิยมนัก แต่แนวคิดเรื่องสุขภาพในมิติที่กว้างมีการกำหนดอย่างเป็นทางการมาตั้งแต่การก่อตั้ง องค์การอนามัยโลก ที่ได้ให้คำนิยาม "สุขภาพ" ไว้ในธรรมนูญปี ค.ศ. 1948 ว่า

สภาวะอันสมบูรณ์ของความเป็นอยู่ดี (well-being) ทางกาย ทางจิตใจ และทางสังคมของบุคคล โดยมิได้หมายถึงเฉพาะแต่ความปราศจากโรค หรือความไม่ทุพพลภาพเท่านั้น (a state of complete physical, mental, and social well-being and not merely the absence of disease or infirmity.)[1]

แม้นิยามนี้จะเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์โดยเฉพาะในประเด็นของความไม่มีตัวชี้วัดที่ชัดเจน ความคลุมเครือในด้านการพัฒนายุทธศาสตร์สุขภาพแบบเป็นองค์รวม และประเด็นปัญญาที่ตามมาจากการใช้คำว่า "สมบูรณ์" (เนื่องจากทำให้เข้าใจไปว่าความมีสุขภาพดีเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยาก) ก็ตาม แต่ก็ยังเป็นนิยามที่ได้รับการยอมรับมากที่สุด ระบบจำแนกประเภทต่างๆ เช่น Family of International Classifications ขององค์การอนามัยโลก ซึ่งประกอบด้วย International Classification of Functioning, Disability and Health (ICF) และ International Classification of Diseases (ICD) เป็นเกณฑ์ที่เป็นที่นิยมใช้มากที่สุดในการนิยามและวัดองค์ประกอบของสุขภาพ

สุขภาพแบ่งออกเป็น 4 ด้านหลักๆ ได้แก่

1.สุขภาพทางกาย: หมายถึงสภาพร่างกายที่แข็งแรง สมบูรณ์ สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้อย่างปกติ ไม่เจ็บป่วยง่าย มีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ กระดูก และระบบต่างๆ ของร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2.สุขภาพจิต: หมายถึงสภาพจิตใจที่สงบ มีความสุข รู้จักควบคุมอารมณ์ มีความคิดที่เป็นบวก สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ต่างๆ ได้ดี และมีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น

3.สุขภาพสังคม: หมายถึงความสามารถในการเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับคนรอบข้าง มีความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของสังคม และมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคม

4.สุขภาพทางปัญญา: หมายถึงความสามารถในการคิด วิเคราะห์ แก้ปัญหา และเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ มีความคิดสร้างสรรค์ และมีความรู้ความเข้าใจในสิ่งต่างๆ รอบตัว

สำหรัประเทศไทย ได้ให้นิยามคำว่าสุขภาพไว้อย่างเป็นทางการ ใน พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550.[2] ในมาตราที่ 3 โดยให้นิยามว่า หมายถึง

ภาวะของมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งทางกาย ทางจิต ทางปัญญา และทางสังคม เชื่อมโยงกันเป็นองค์รวมอย่างสมดุล

อ้างอิง

[แก้]
  1. World Health Organization. (2006). Constitution of the World Health OrganizationBasic Documents, Forty-fifth edition, Supplement, October 2006.
  2. [1] เก็บถาวร 2023-03-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน,พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
  • วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Health
pFad - Phonifier reborn

Pfad - The Proxy pFad of © 2024 Garber Painting. All rights reserved.

Note: This service is not intended for secure transactions such as banking, social media, email, or purchasing. Use at your own risk. We assume no liability whatsoever for broken pages.


Alternative Proxies:

Alternative Proxy

pFad Proxy

pFad v3 Proxy

pFad v4 Proxy