ข้ามไปเนื้อหา

หมีน้ำ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

หมีน้ำ
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: ช่วงกลางยุคแคมเบรียน–ปัจจุบัน [1]
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
Eukaryota
อาณาจักร: สัตว์
Animalia
ไม่ได้จัดลำดับ: แพนาร์โธรโพดา
ไฟลัม: หมีน้ำ
Tardigrada
ชั้น

หมีน้ำ[2] (Water bear) หรือชื่อสามัญว่า ทาร์ดิกราดา (อังกฤษ: Tardigrada) หรือ ทาร์ดิเกรด (Tardigrade) เป็นไฟลัมหนึ่งของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Tardigrada

การค้นพบ

[แก้]

หมีน้ำถูกค้นพบครั้งแรกโดย โยฮานน์ ออกุสต์ อิปพาเรียม เกิทเซอ นักวิทยาศาสตรชาวเยอรมัน ในปี ค.ศ. 1773 โดยคำว่า "Tardigrades" มีความหมายว่า "ตัวเดินช้า" (Slow walker)

ลักษณะ

[แก้]

"หมีน้ำ" นั้นมาจากท่าทางการเดินของพวกมัน หมีน้ำมีรูปร่างเหมือนหนอนตัวอ้วน ๆ มีรูปร่างเป็นปล้อง มีขนาดเล็กจนแทบมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น เมื่อโตเต็มที่มีขนาดเพียง 1.5 มิลลิเมตร ส่วนตัวที่เล็กที่สุดมีขนาดเพียง 0.1 มิลลิเมตร ส่วนในช่วงตัวอ่อนมีขนาดเพียง 0.05 มิลลิเมตร มีขา 8 ขา มีเล็บที่แหลมคม มีสีสันแตกต่างหลากหลายออกไป ทั้งสีแดง, ขาว, ส้ม, เหลือง, เขียว, ม่วง และดำ เชื่อว่ามีมากกว่า 1,000 สปีชีส์ โดยมากเป็นพวกกินพืช ส่วนน้อยกินแบคทีเรีย และกินสัตว์ และสามารถพบได้ทั่วโลก

สภาวะความทนต่อสิ่งแวดล้อม

[แก้]

หมีน้ำได้ชื่อว่าเป็นสัตว์ที่มีความทรหดที่สุดในโลก พบได้ตั้งแต่ที่ยอดเขาหิมาลัยที่ความสูงกว่า 6,000 เมตร จนถึงในทะเลลึกถึง 4,000 เมตร ไม่ว่าจะเป็นที่ขั้วโลก หรือในบริเวณเส้นศูนย์สูตร ชอบอาศัยอยู่ที่ต้นมอส และพวกเห็ดราต่าง ๆ และยังสามารถพบได้ตามทราย, ชายหาด, พื้นดิน, แร่ธาตุ และในตะกอนน้ำ อยู่ได้ในที่ ๆ มีแรงดันสูงถึง 6,000 บรรยากาศ ซึ่งแรงดันปกติที่มนุษย์อยู่ทุกวันนี้คือแรงดันบรรยากาศ มีค่าเท่ากับ 1 บรรยากาศเท่านั้น ซึ่งแรงดันที่หมีน้ำทนได้นั้นมากกว่าแรงดันของส่วนของทะเลที่ลึกที่สุดถึง 6 เท่าตัว

นอกจากนี้แล้ว ยังเป็นสัตว์ที่ทนต่อรังสีต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี ทั้งรังสียูวีและสารเคมีต่าง ๆ และสามารถมีชีวิตอยู่ได้ในที่มีอุณหภูมิ 151 (304 องศาฟาเรนไฮต์) ถึง -272 องศาเซลเซียส (-458 องศาฟาเรนไฮต์) (ได้ประมาณ 1 นาที) -20 องศาเซลเซียส (30 ปี) และที่ -200 องศาเซลเซียส (-328 องศาฟาเรนไฮต์) (อยู่ได้ประมาณ 1 วัน) สามารถมีชีวิตอยู่ได้ในที่มีอุณหภูมิสูงกว่า 151 องศาเซลเซียส (304 องศาฟาเรนไฮต์) และสามารถอดน้ำได้นานถึง 200 ปี และถึงแม้ว่าจะถูกปล่อยให้แห้งตายนานกว่า 100 ปี ก็สามารถฟื้นกลับมามีชีวิตได้หากได้น้ำ

ปัจจุบันยังไม่เป็นที่แน่ชัดกว่า หมีน้ำเกิดขึ้นครั้งแรกบนโลกตั้งแต่เมื่อไหร่ แต่ทว่าซากดึกดำบรรพ์ที่เก่าแก่ที่สุดมีอายุในอยู่ช่วงกลางของยุคแคมเบรียน นับว่ามีความเก่าแก่กว่าไดโนเสาร์เสียอีก[1] โดยจากงานวิจัยพบว่า ซากฟอสซิลของหมีนํ้าที่ค้นพบนั้น มีอายุนานถึง500 ล้านปีเลยทีเดียว

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 หน้า 7, "หมีน้ำ" เป็นสัตว์ยอดคงกระพันชาตรี. "โลกโสภิน". ไทยรัฐปีที่ 67 ฉบับที่ 21324: วันพฤหัสบดีที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2559 ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 7 ปีวอก
  2. "5 เหตุผลที่ทำให้ 'หมีน้ำ' เป็นสัตว์ที่แข็งแกร่งที่สุดในจักรวาล!!". Spokedark. 17 เมษายน 2557. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-18. สืบค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
pFad - Phonifier reborn

Pfad - The Proxy pFad of © 2024 Garber Painting. All rights reserved.

Note: This service is not intended for secure transactions such as banking, social media, email, or purchasing. Use at your own risk. We assume no liability whatsoever for broken pages.


Alternative Proxies:

Alternative Proxy

pFad Proxy

pFad v3 Proxy

pFad v4 Proxy