อวนีนทรนาถ ฐากุร
"ศิลปาจารย์" อวนีนทรนาถ ฐากุร | |
---|---|
อวนีนทรนาถ ฐากุร | |
เกิด | 07 สิงหาคม ค.ศ. 1871 กัลกัตตา รัฐเบงกอล บริติชอินเดีย |
เสียชีวิต | 5 ธันวาคม ค.ศ. 1951 กัลกัตตา รัฐเบงกอลตะวันตก อินเดีย | (80 ปี)
สัญชาติ | อินเดีย |
การศึกษา | วิทยาลัยศิลปะและงานฝีมือแห่งรัฐ, มหาวิทยาลัยสันสกฤต, มหาวิทยาลัยกัลกัตตา |
มีชื่อเสียงจาก | จิตรกรรม, วรรณกรรม |
ผลงานเด่น | ภารตมาตา; ชะห์ จะหัน สิ้นใจ; พเคศวรี ศิลป-ประพันธพลี; ภารตศิลเปมูรติ; พุโรอังคละ ฯลฯ |
ขบวนการ | ศิลปะเบงกอล, คอนเท็กซ์ช่วลมอเดิร์น |
รางวัล | ปริญญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยกัลกัตตา |
อวนีนทรนาถ ฐากุร (อักษรโรมัน: Abanindranath Tagore, CIE (เบงกอล: অবনীন্দ্রনাথ ঠাকুর; 7 สิงหาคม 1871 – 5 ธันวาคม 1951) เป็นศิลปินคนสำคัญชาวเบงกอล ผู้ริเริ่มการนำเสนอคติสวเทศีในศิลปะอินเดียเป็นคนแรก ๆ และผู้ริเริ่มขบวนการศิลปะเบงกอล ที่มีอิทธิพลไปสู่การพัฒนาจิตรกรรมอินเดียยุคใหม่[1][2] นอกจากนี้ยังเป็นนักประพันธ์ที่มีผลงานโดดเด่นโดยเฉพาะในแวดวงวรรณกรรมเด็กภาษาเบงกอล ผลงานวรรณกรรมเด็กชิ้นสำคัญ เช่น ราชกาหินี พุโร อังคละ นาลัก (Rajkahini, Buro Angla, Nalak,) และ ขิเรร ปุตุล
ฐากุรพยายามที่จะสร้างความเป็นสมัยใหม่ (modernise) ให้กับศิลปะโมกุล และ ราชปุต เพื่อต้านทานกับอิทธิพลของวัฒนธรรมตะวันตกที่มีสอนในสถาบันการศึกษาภายใต้บริติชราช. ผลงานสร้างสรรค์ของฐากุรต่อมามีอิทธิพลอย่างมาก และได้รับการยอมรับในสถาบันศิลปะของบริติชราชให้เป็นรูปแบบตัวอย่างของงานศิลปะแบบอินเดีย[3]
ระเบียงภาพ
[แก้]-
ภารตมาตา (c. 1905)
-
ชะห์ จะหัน สิ้นใจ (1902)
-
มารดาของเรา (1912–13)
-
ภาพเขียนแฟรีแลนด์ (1913)
-
สุดการเดินทาง (c. 1913)
-
การปลดปล่อยครั้งสุดท้าย, จากหนังสือ "พระพุทธเจ้าและคำสอนของพุทธศาสนา" (1916) ของ อานันทะ จูมราสวามี
อ้างอิง
[แก้]- ↑ John Onians (2004). "Bengal School". Atlas of World Art. Laurence King Publishing. p. 304. ISBN 1856693775.
- ↑ Abanindranath Tagore, A Survey of the Master’s Life and Work by Mukul Dey เก็บถาวร 4 มีนาคม 2010 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, reprinted from "Abanindra Number," The Visva-Bharati Quarterly, May – Oct. 1942.
- ↑ The International Studio, Vol. 35: An Illustrated Magazine of Fine and Applied Art: Jul-Oct 1908. Forgotten Books. pp. 107–116, E.B. Havell. ISBN 9781334345050.