อัลมัฆริบ
อัลมัฆริบ | |
---|---|
ประเทศและดินแดน | |
องค์กร | สันนิบาตอาหรับ, สหภาพอาหรับอัลมัฆริบ, ตลาดร่วมแอฟริกาตะวันออกและใต้, ประชาคมรัฐซาเฮล–สะฮารา, สหภาพเพื่อทะเลเมดิเตอร์เรเนียน |
ประชากร | 105,095,436 (2021*)[1] |
ความหนาแน่น | 16.72/km2 |
พื้นที่ | 6,045,741 km2 (2,334,274 sq mi) |
จีดีพีตามภาวะเสมอภาคของอำนาจซื้อ | 1.299 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (2020) |
จีดีพีตามภาวะเสมอภาคของอำนาจซื้อต่อหัว | 12,628 ดอลลาร์ (2020) |
จีดีพีตามตัวเลข | 382.780 พันล้านดอลลาร์ (2020) |
จีดีพีตามตัวเลขต่อหัว | 3,720 ดอลลาร์ (2020) |
ภาษา | |
ศาสนา | อิสลาม, คริสต์ และยูดาห์ |
เมืองหลวง | ตริโปลี (ลิเบีย) ตูนิส (ตูนิเซีย) นูอากชอต (มอริเตเนีย) ราบัต (โมร็อกโก) แอลเจียร์ (แอลจีเรีย) ตีฟารีตี (สาธารณรัฐประชาธิปไตยอาหรับซาห์ราวี) |
สกุลเงิน |
อัลมัฆริบ (อาหรับ: المغرب; "ตะวันตก") ซึ่งยังเป็นที่รู้จักกันในชื่อ แอฟริกาตะวันตกเฉียงเหนือ,[2] อัลมัฆริบุลกะบีร (المغرب الكبير) และในอดีตว่า "ชายฝั่งบาร์บารี"[3][4] คือส่วนตะวันตกของแอฟริกาเหนือ ภูมิภาคนี้ประกอบด้วยประเทศแอลจีเรีย ลิเบีย มอริเตเนีย (ซึ่งยังถือเป็นส่วนหนึ่งของแอฟริกาตะวันตกด้วย) โมร็อกโก และตูนิเซีย นอกจากนี้ ภูมิภาคอัลมัฆริบยังครอบคลุมถึงดินแดนเวสเทิร์นสะฮาราซึ่งเป็นกรณีพิพาท (โมร็อกโกควบคุมส่วนใหญ่และสาธารณรัฐประชาธิปไตยอาหรับซาห์ราวีควบคุมบางส่วน) และเมืองเซวตาและเมลียา (สเปนควบคุมทั้งสองเมือง) ณ ค.ศ. 2018 ภูมิภาคนี้มีประชากรมากกว่า 100 ล้านคน
ตลอดคริสต์ศตวรรษที่ 18 ถึง 19 แหล่งข้อมูลที่เป็นภาษาอังกฤษมักเรียกภูมิภาคนี้ว่า ชายฝั่งบาร์บารี หรือ รัฐบาร์บารี ซึ่งเป็นศัพท์ที่แผลงมาจากคำว่าชนเบอร์เบอร์[5][6] บางครั้งก็เรียกว่า ดินแดนแอตลาส ซึ่งสื่อถึงเทือกเขาแอตลาสที่ตั้งอยู่ในภูมิภาค[7] ในภาษากลุ่มเบอร์เบอร์ ศัพท์ "ตามัซฆา" ใช้สื่อถึงภูมิภาคอัลมัฆริบร่วมกับส่วนน้อยของประเทศมาลี ไนเจอร์ อียิปต์ และกานาเรียสของสเปนซึ่งแต่เดิมเป็นถิ่นที่อยู่ของชนเบอร์เบอร์
โดยทั่วไปอัลมัฆริบได้รับการนิยามว่ามีพื้นที่ครอบคลุมส่วนใหญ่ของแอฟริกาเหนือ ซึ่งรวมพื้นที่ส่วนใหญ่ของทะเลทรายสะฮารา แต่ไม่รวมอียิปต์และซูดานซึ่งได้รับการจัดให้อยู่ในภูมิภาคอัลมัชริก (ส่วนตะวันออกของโลกอาหรับ) การนิยามพื้นที่อัลมัฆริบแบบดั้งเดิม (ซึ่งจำกัดขอบเขตอยู่เฉพาะเทือกเขาแอตลาสและที่ราบชายฝั่งของโมร็อกโก แอลจีเรีย ตูนิเซีย และลิเบีย) ได้ขยายขอบเขตรวมถึงมอริเตเนียและดินแดนพิพาทเวสเทิร์นสะฮาราในสมัยใหม่ ในสมัยอัลอันดะลุสในคาบสมุทรไอบีเรีย (ค.ศ. 711–1492) ชาวอัลมัฆริบ (ชาวเบอร์เบอร์มุสลิมหรือชาวอาหรับอัลมัฆริบ) เป็นที่รู้จักในหมู่ชาวยุโรปในชื่อว่า "ชาวมัวร์"[8]
ก่อนการก่อตั้งรัฐชาติสมัยใหม่ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 ศัพท์ "อัลมัฆริบ" มักใช้เรียกพื้นที่ขนาดเล็กระหว่างทะเลเมดิเตอร์เรเนียนกับเทือกเขาแอตลาสทางทิศใต้ นอกจากนี้ยังรวมถึงดินแดนภาคตะวันออกของลิเบีย แต่ไม่รวมมอริเตเนียสมัยใหม่ ส่วนศัพท์ "อัลมัฆริบ" ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 จะใช้กับภูมิภาคชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนตะวันตกของแอฟริกาเหนือโดยทั่วไป และกับแอลจีเรีย โมร็อกโก และตูนิเซียโดยเฉพาะ[9]
แอลจีเรีย ลิเบีย มอริเตเนีย และตูนิเซียได้ก่อตั้งสหภาพอาหรับอัลมัฆริบใน ค.ศ. 1989 เพื่อสนับสนุนความร่วมมือและบูรณาการทางเศรษฐกิจในรูปแบบตลาดร่วม สหภาพได้รวมเวสเทิร์นสะฮาราอยู่ภายใต้สมาชิกภาพของโมร็อกโกไปโดยปริยาย[10] อย่างไรก็ตาม สหภาพนี้ไม่มีความเคลื่อนไหวในปัจจุบัน
ความตึงเครียดระหว่างแอลจีเรียกับโมร็อกโกเหนือเวสเทิร์นสะฮาราตะวันตกได้เกิดขึ้นใหม่ โดยหนุนด้วยข้อพิพาทเรื่องพรมแดนระหว่างทั้งสองประเทศซึ่งยังไม่ได้รับการแก้ไข ความขัดแย้งหลักทั้งสองกรณีเป็นอุปสรรคต่อความร่วมมือของสหภาพและทำให้ทั้งสหภาพล้มเหลวไปทั้งหมด[11] ความไร้เสถียรภาพในภูมิภาคกับการคุกคามความมั่นคงบริเวณชายแดนทำให้มีการเรียกร้องความร่วมมือระดับภูมิภาคอีกครั้ง ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2015 บรรดารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศแห่งสหภาพอาหรับอัลมัฆริบได้ประกาศความจำเป็นในการประสานนโยบายความมั่นคงในการประชุมคณะกรรมการติดตามครั้งที่ 33 ทำให้เกิดความหวังในการร่วมมือกันอีกครั้ง[12]
ดูเพิ่ม
[แก้]- สหภาพอาหรับอัลมัฆริบ
- ชายฝั่งบาร์บารี
- ชนเบอร์เบอร์
- ภูมินามวิทยาอัลมัฆริบ
- อักษรอัลมัฆริบ
- ภาษาอาหรับอัลมัฆริบ
- อัลมัชริก ("แดนอาทิตย์อุทัย") ซึ่งตรงกันข้ามกับอัลมัฆริบ ("แดนอาทิตย์อัสดง")
- ชาวมัวร์
- โลกตะวันตก
- มุฆเราะบี
- ปลาซัสเดโซเบรานิอา
- ตามัซฆา
- ซาเฮล
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "COUNTRY COMPARISON :: POPULATION". The World Factbook (ภาษาอังกฤษ). Central Intelligence Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-27. สืบค้นเมื่อ 2018-08-06.
- ↑ English for Students: Northwest Africa english-for-students.com
- ↑ History and Present Condition of the Barbary States, Michael Russell, 1837, New York.
- ↑ Travels in England, France, Spain, and the Barbary States, Mordecai Manuel Noah, 1819, London.
- ↑ "Barbary Wars, 1801–1805 and 1815–1816". สืบค้นเมื่อ 2014-06-04.
- ↑ "Antique Maps of North Africa". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 11, 2008. สืบค้นเมื่อ 2014-06-04.
- ↑ Amin, Samir (1970). The Maghreb in the modern world: Algeria, Tunisia, Morocco. Penguin. p. 10. สืบค้นเมื่อ 27 August 2017.
- ↑ "The Moors were simply Maghrebis, inhabitants of the Maghreb, the western part of the Islamic world, that extends from Spain to Tunisia, and represents a homogeneous cultural entity", Titus Burckhardt, Moorish Culture in Spain. Suhail Academy. 1997, p.7
- ↑ Elisée Reclus, Africa, edited by A. H. Keane, B. A., Vol. II, North-West Africa, Appleton and company, 1880, New York, p.95
- ↑ "L'Union du Maghreb arabe". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-04-20. สืบค้นเมื่อ 2010-05-17.
- ↑ "Maghreb". The Columbia Encyclopedia, Sixth Edition. 2001–05. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-29. สืบค้นเมื่อ 2007-07-11.
- ↑ "Maghreb Countries Urged to Devise Common Security Strategy, Integration Project Remains Deadlocked", North Africa Post (2015)