ข้ามไปเนื้อหา

เกาะรอสส์

พิกัด: 77°30′S 168°00′E / 77.500°S 168.000°E / -77.500; 168.000
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เกาะรอสส์
Ross Island
แผนที่เกาะรอสส์
ข้อผิดพลาด Lua ใน มอดูล:Location_map บรรทัดที่ 522: "แอนตาร์กติกา" is not a valid name for a location map definition
ภูมิศาสตร์
ที่ตั้งแอนตาร์กติกา
พิกัด77°30′S 168°00′E / 77.500°S 168.000°E / -77.500; 168.000
กลุ่มเกาะกลุ่มเกาะรอสส์
พื้นที่2,460 ตารางกิโลเมตร (950 ตารางไมล์)
ระดับสูงสุด3,794 ม. (12448 ฟุต)
จุดสูงสุดภูเขาไฟเอเรบัส
การปกครอง
ไม่มี
ประชากรศาสตร์
ประชากรฤดูร้อน: 1,000; ฤดูหนาว: 140

เกาะรอสส์ (อังกฤษ: Ross Island) เป็นที่เกิดจากภูเขาไฟ 4 ลูกในทะเลรอสส์ อ่าวแมคเมอร์โดนอกชายฝั่งวิกตอเรียแลนด์ ในทวีปแอนตาร์กติกา

ภูมิศาสตร์

[แก้]

การที่พืดน้ำแข็งขยายตัวอยู่เรื่อย ๆ จึงทำให้ในบางครั้งเกาะนี้ถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของทวีปแอนตาร์กติกา เกาะนี้มีพื้นที่ประมาณ 2,460 ตารางกิโลเมตร และมีพื้นที่บนเกาะเพียงไม่กี่แห่งที่ไม่มีหิมะและน้ำแข็งมาปกคลุม เกาะนี้เป็นที่ตั้งของภูเขาไฟเอเรบัส (3,794 ม.) ซึ่งเป็นภูเขาไฟมีพลังที่อยู่ใต้สุดของโลก รวมถึงภูเขาไฟดับสนิทอย่างภูเขาเทอร์เรอร์ (3,230 ม.)[1] กัปตันเจมส์ คลาร์ก รอสส์ นำชื่อเรือหลวงเอเรบัส และเรือหลวงเทอร์เรอร์ มาตั้งชื่อภูเขา 2 ลูกนี้ พื้นที่สูงเป็นอันดับ 3 ของเกาะคือภูเขาเบิร์ด

ถึงเกาะนี้จะเป็นเกาะที่ค่อนข้างเล็ก แต่มันเป็นเกาะที่สูงที่สุดเป็นอันดับ 6 ของโลก และเป็นเกาะที่สูงที่สุดในทวีปแอนตาร์กติกา

การค้นพบ

[แก้]

เจมส์ คลาร์ก รอสส์พบเกาะนี้ใน พ.ศ. 2383 ต่อมาโรเบิร์ต ฟอลคอน สกอตต์ ได้นำชื่อท้ายของรอสส์มาตั้งชื่อเกาะเพื่อเป็นการให้เกียรติ เกาะรอสส์มักใช้เป็นฐานสำหรับการสำรวจแอนตาร์กติกา เนื่องจากมันเป็นเกาะใต้สุดที่สามารถแล่นเรือเข้าไปได้ กระท่อมที่คณะสำรวจของโรเบิร์ต ฟอลคอน สกอตต์ และเออร์เนสต์ แชคเคิลตันสร้างยังคงอยู่บนเกาะและถูกเก็บรักษาไว้เป็นสถานที่ทางประวัติศาสตร์ ทุกวันนี้เกาะรอสส์เป็นที่ตั้งของฐานสกอตต์ของนิวซีแลนด์ และสถานีแมคเมอร์โดโครงการแอนตาร์กติกของสหรัฐ ซึ่งเป็นที่ตั้งถิ่นฐานที่ใหญ่ที่สุดในแอนตาร์กติกา กรีนพีซเริ่มจัดตั้งฐานเวิลด์พาร์กบนเกาะและดำเนินงานเป็นเวลา 5 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2530 − 2535

การอ้างสิทธิ

[แก้]

เกาะรอสส์อยู่ในรอสส์ดีเพนเดนซี ที่อ้างสิทธิโดยนิวซีแลนด์

ระเบียงภาพ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. LeMasurier, W. E.; Thomson, J. W., บ.ก. (1990). Volcanoes of the Antarctic Plate and Southern Oceans. American Geophysical Union. p. 512. ISBN 0-87590-172-7.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
pFad - Phonifier reborn

Pfad - The Proxy pFad of © 2024 Garber Painting. All rights reserved.

Note: This service is not intended for secure transactions such as banking, social media, email, or purchasing. Use at your own risk. We assume no liability whatsoever for broken pages.


Alternative Proxies:

Alternative Proxy

pFad Proxy

pFad v3 Proxy

pFad v4 Proxy