ข้ามไปเนื้อหา

เต๋า

หน้าถูกกึ่งป้องกัน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ปากว้า เป็นสัญลักษณ์แสดงถึงเต๋าและการก่อกำเนิดสรรพสิ่ง

เต๋า (จีน: เต้า) มีความหมายตามตัวอักษรว่า วิถี หรือ วิธี ต่อมาคัมภีร์เต๋ายุคแรก ได้ใช้คำว่า เต๋า ในความหมายใหม่ว่า เป็นสัจภาวะสูงสุด เป็นอุตรภาพ อัพภันตรภาพ ซึ่งปราศจากรูปร่าง พ้นวิสัยภาษา ความคิด และความเข้าใจของมนุษย์[1] เชื่อว่าเป็นต้นกำเนิดและจุดหมายปลายทางของสรรพสิ่ง แม้ความเชื่อนี้จะมีที่มาจากลัทธิเต๋า แต่ก็ได้แพร่หลายไปยังคตินิยมอื่น ๆ ด้วยทั้ง ลัทธิขงจื๊อ ตลอดจนศาสนาและปรัชญาตะวันออกโดยรวม

คำอธิบายในคัมภีร์

แนวคิดเรื่องเต๋าปรากฏครั้งแรกในคัมภีร์เต้าเต๋อจิงของเล่าจื๊อ ที่กล่าวถึงเต๋าไว้ในบทแรกว่า[2]

道可道,非常道。

名可名,非常名。

เต๋าที่เรียกขานได้ไม่ใช่เต๋าแท้
นามที่เรียกขานได้ไม่ใช่นามแท้

— เต้าเต๋อจิง บทที่ 1, เต้าเต๋อจิง บทที่ 1



นอกจากนี้ยังอธิบายว่า

有物混成,先天地生。

寂兮寥兮,獨立而不改,
周行而不殆,可以為天地母。
吾不知其名,字之曰道,
強為之名曰大。
大曰逝,
逝曰遠,
遠曰反。

มีสิ่งหนึ่งบังเกิดจากกลีภพ มีอยู่ก่อนฟ้าดิน
ดูสงบและว่างเปล่า ดำรงอยู่เอง ไม่เปลี่ยนแปลง
แพร่ไปทั่วโดยไม่รู้เหน็ดเหนื่อย นับว่าเป็นมารดาของสรรพสิ่งก็ว่าได้
ข้าพเจ้าไม่รู้ชื่อ แต่ขอเรียกว่า ”เต๋า” เมื่อต้องขานชื่อ ก็ขอเรียกว่า “สิ่งที่ยิ่งใหญ่”
สิ่งที่ยิ่งใหญ่ย่อมชื่อว่าล่วงไป
ล่วงไปก็ชื่อว่าไกล
ไกลย่อมชื่อว่าย้อนกลับ

— เต้าเต๋อจิง บทที่ 25

ลักษณะของเต๋า

นักวิชาการได้สรุปลักษณะของเต๋าไว้ดังนี้[1]

  • เป็นที่มาของสรรพสิ่ง
  • เป็นรหัสยภาวะที่ไม่อาจเรียกขานได้
  • แทรกซึมแพร่หลายไปในทุกสิ่ง
  • เป็นกระบวนการที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของจักรวาล

ทัศนะเปรียบเทียบ

ตามความเชื่อของศาสนาเต๋า เต๋า คือปฐมธาตุ เป็นพลังงาน ต้นกำเนิดของสรรพสิ่งทั้งปวง เต๋าไม่มีชีวิต ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่พระเป็นเจ้า แต่ดำรงอยู่ก่อนพระเป็นเจ้า[3] ความเชื่อเรื่องเต๋าของศาสนาเต๋าจึงมีลักษณะเป็นเอกนิยม[4] มีความคล้ายคลึงกับธรรมกายในศาสนาพุทธนิกายมหายาน-วัชรยานและคล้ายกับความเชื่อเรื่องพรหมันของศาสนาฮินดูสำนักอไทฺวตะ เวทานตะ อีกด้วย

ลัทธิอนุตตรธรรมมีความเชื่อเรื่องเต๋าเช่นกัน แต่เชื่อว่าเต๋าเป็นพลังงานชีวิต เป็นบุคคล พระผู้สร้างสรรค์และก่อกำเนิดสรรพสิ่งตามเจตจำนงของพระองค์ และสถิตแพร่หลายแทรกซึมอยู่ในทุกสิ่ง ลัทธิอนุตตรธรรมจึงเรียกเต๋าว่า "พระแม่องค์ธรรม"[5] และเชื่อว่าวิญญาณของสรรพสัตว์ก็มาจากพระแม่องค์ธรรมนี้ ความเชื่อเรื่องเต๋าของลัทธิอนุตตรธรรมจึงมีลักษณะเป็นสรรพัชฌัตเทวนิยม คล้ายความเชื่อเรื่องพรหมันของศาสนาฮินดูสำนักวิศิษฏาไทฺวตะ เวทานตะ

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 "Dao 道". Center for Daoist Studies. ม.ป.ป. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-07-26. สืบค้นเมื่อ 21 มีนาคม 2556. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  2. "Tao Te Ching". Tao Te Ching. ม.ป.ป. สืบค้นเมื่อ 21 มีนาคม 2556. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  3. Stephen Mitchell (2006). "Tao Te Ching Translations". Tao Te Ching. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-08-31. สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2556. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. New World Encyclopedia (5 กันยายน 2551). "Monism". New World Encyclopedia. สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2556. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. สายทอง, ศุภนิมิต แปลและเรียบเรียง, ม.ป.ป., หน้า 9
pFad - Phonifier reborn

Pfad - The Proxy pFad of © 2024 Garber Painting. All rights reserved.

Note: This service is not intended for secure transactions such as banking, social media, email, or purchasing. Use at your own risk. We assume no liability whatsoever for broken pages.


Alternative Proxies:

Alternative Proxy

pFad Proxy

pFad v3 Proxy

pFad v4 Proxy