เนโม
เนโม | |
---|---|
เนโมในปี ค.ศ. 2024 | |
ข้อมูลพื้นฐาน | |
ชื่อเกิด | เนโม เมทแทลร์ |
เกิด | 3 สิงหาคม ค.ศ. 1999 |
แนวเพลง | |
อาชีพ |
|
เครื่องดนตรี |
|
ค่ายเพลง | บาคารามูสีค (Bakara Music)[1] |
เว็บไซต์ | nemothings |
เนโม เมทแทลร์ (อักษรโรมัน: Nemo Mettler; เกิด 3 สิงหาคม ค.ศ. 1999) หรือที่รู้จักในชื่อ เนโม เป็นแร็ปเปอร์และนักร้องชาวสวิส ที่เชี่ยวชาญในการเล่นไวโอลิน เปียโน และกลอง[2] เขาเป็นผู้ชนะการประกวดเพลงยูโรวิชันปี 2024 ด้วยเพลง "เดอะโค้ด"[3][4] ซึ่งทำให้สวิตเซอร์แลนด์ชนะการประกวดเป็นครั้งแรกตั้งแต่ปี 1988[5][6]
ประวัติ
[แก้]เนโมเกิดที่เมืองบีล/เบียนน์ รัฐแบร์น[7] บิดาเป็นนักประดิษฐ์และนักลงทุน ส่วนมารดาเป็นผู้สื่อข่าว[8] เขามีน้องสาวหนึ่งคน[9] เนโมเริ่มเล่นดนตรีตั้งแต่อายุสามขวบ โดยฝึกเล่นไวโอลิน เปียโน และกลอง ต่อมาเมื่ออายุเก้าขวบเขาเริ่มเรียนร้องเพลงโอเปรา[10] เนโมเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยศิลปะซือริชเป็นเวลาหนึ่งปี[11] ก่อนย้ายมายังเบอร์ลินเพื่อสานต่อความฝันการเป็นนักดนตรี[12]
อาชีพการงาน
[แก้]อีพี Clownfisch (โคลวนฟิช) ของเนโมในปี 2015 ขึ้นถึงอันดับที่ 95 ในชาร์ตสวิส สองปีต่อมาเขาได้เปิดตัวซิงเกิล "Du" ซึ่งขึ้นถึงอันดับ 4 ในสวิตเซอร์แลนด์ [13] ในรายการ The Masked Singer Switzerland ซีซั่น 2 เมื่อปี 2021/2022 เขาเข้าร่วมแข่งขันโดยใช้หน้ากากแพนด้า
เมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2024 เนโมได้รับการคัดเลือกเป็นตัวแทนของสวิตเซอร์แลนด์ในการประกวดเพลงยูโรวิชัน ด้วยเพลง "เดอะโค้ด" ซึ่งได้แรงบันดาลใจจากอุปรากร "ขลุ่ยวิเศษ" ของ ว็อล์ฟกัง อมาเดอุส โมทซาร์ท[14] ที่เขาเคยร่วมการแสดงเมื่อยังเป็นเด็ก[15] เขาใช้เพลงนี้ในรอบคัดเลือกที่สองของการประกวดเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม และผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศ[16] เขาคว้าแชมป์การประกวดอีกสองวันถัดมา โดยได้คะแนนรวม 591 คะแนน[17] ในจำนวนนี้เป็นคะแนนจากคณะกรรมการ 365 คะแนน มากเป็นอันดับสองของจำนวนผู้เข้าประกวดยูโรวิชันรวมทุกคน รองจาก ซัลวาโดร์ ซูบรัล ผู้ชนะในปี 2017 แต่ถ้านับคะแนนจากการโหวตจากผู้ชมด้วยจะเป็นลำดับที่สี่ ทั้งนี้ เนโมเป็นบุคคลเพศอทวิลักษณ์ (Non-Binary) คนแรกที่ชนะการประกวดเพลงยูโรวิชัน[18][19]
ชีวิตส่วนตัว
[แก้]ในเดือนพฤศจิกายน 2023 เนโมประกาศว่าตนเป็นเพศอทวิลักษณ์ (Non-Binary) ผ่านบทความในหนังสือพิมพ์ ซ็อนทากไซทุง เขากล่าวว่าตนชอบให้เรียกด้วยชื่อจริงมากกว่าคำสรรพนามในภาษาเยอรมัน[20] และแทนตัวเองด้วยคำสรรพนาม "เขา" (they/them) ในภาษาอังกฤษ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Tuchschmid, Benno (2016-10-14). "Dieser 17-jährige Zahnspangenträger wird der nächste Mundart-Rap-Star". Aargauer Zeitung (ภาษาเยอรมันสูง (สวิส)). สืบค้นเมื่อ 2016-12-27.
- ↑ Vallicotti, Simona (2 February 2016). "Nemo: Ein 16-Jähriger trocknet die Schweizer Rapszene ab" (ภาษาเยอรมันสูง (สวิส)). SRG SSR. สืบค้นเมื่อ 2024-02-29.
- ↑ Fox, Hilary (May 8, 2024). "Nemo, among the favorites at Eurovision, is finding acceptance onstage and off". AP News (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ May 9, 2024.
- ↑ "Switzerland wins Eurovision as chaos engulfs iconic song contest". Sky News. สืบค้นเมื่อ 12 May 2024.
- ↑ Fox, Hilary (May 8, 2024). "Nemo, among the favorites at Eurovision, is finding acceptance onstage and off". AP News (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ May 9, 2024.
- ↑ "Switzerland wins Eurovision as chaos engulfs iconic song contest". Sky News. สืบค้นเมื่อ 12 May 2024.
- ↑ Pascoli, Andrea (11 May 2024). "Chi è Nemo, la popstar della Svizzera icona della comunità Lgbtq+. Sul palco con la bandiera del genere non binario". La Repubblica (ภาษาอิตาลี). สืบค้นเมื่อ 12 May 2024.
- ↑ Hopf-Sulc, Adrian (8 May 2024). "Ideenlabor Brainstore in Biel – Wie Nemos Eltern die schrägste Fabrik der Schweiz gründeten". Der Bund (ภาษาเยอรมัน). สืบค้นเมื่อ 12 May 2024.
- ↑ Martino, Gaia (12 May 2024). "Chi è Nemo, cantante della Svizzera e prima persona non binaria a vincere l'Eurovision Song Contest". Fanpage.it (ภาษาอิตาลี). สืบค้นเมื่อ 12 May 2024.
- ↑ Marzi, Mattia (12 May 2024). "Nemo, chi è la star non binaria che ha vinto l'Eurovision". Rockol (ภาษาอิตาลี). สืบค้นเมื่อ 12 May 2024.
- ↑ "Nemo gewinnt Eurovision Song Contest 2024 | ZHdK.ch". ZHdK (ภาษาเยอรมัน). สืบค้นเมื่อ 2024-05-12.
- ↑ Feller, Michael (2 March 2024). "Vor «Sing meinen Song» und dem ESC – Was erhoffen Sie sich, Nemo? Den Sieg?". Der Bund (ภาษาเยอรมัน). สืบค้นเมื่อ 12 May 2024.
- ↑ "Nemo". hitparade.ch (ภาษาเยอรมันสูง (สวิส)). Swiss Hitparade. สืบค้นเมื่อ 2024-02-29.
- ↑ "Eurovision 2024: Your guide to all 37 songs". www.bbc.com (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2024-05-15.
- ↑ Hämmerli, Rachel (2024-04-30). "Nemo bringt mit Bieler Sinfonieorchester den ESC-Song neu raus". ajour.ch. สืบค้นเมื่อ 2024-05-15.
- ↑ "Nemo will perform 'The Code' in Malmö for Switzerland". Eurovision.tv. EBU. 2024-02-29. สืบค้นเมื่อ 2024-02-29.
- ↑ "Nemo from Switzerland wins the Eurovision Song Contest 2024". Eurovisionworld. 12 May 2024. สืบค้นเมื่อ 11 May 2024.
- ↑ Oltermann, Philip (11 May 2024). "Switzerland wins Eurovision song contest after controversial grand final". The Observer. ISSN 0029-7712. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 May 2024. สืบค้นเมื่อ 12 May 2024.
- ↑ Brady, Kate (12 May 2024). "Switzerland wins politically-charged 2024 Eurovision Song Contest". The Washington Post. ISSN 0190-8286. สืบค้นเมื่อ 12 May 2024.
- ↑ Fischer, Martin (2023-11-11). "Nemo im Interview – «Ich fühle mich weder als Mann noch als Frau»". Tages-Anzeiger (ภาษาเยอรมันสูง (สวิส)). สืบค้นเมื่อ 2023-11-12.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Christof Gertsch: Nemo’s Triumph. In: Tages-Anzeiger/Das Magazin, 9 May 2024 (engl.) (+ German version)