เสาแบบไอออนิก
หน้าตา
เสาแบบไอออนิก (อังกฤษ: Ionic order; กรีก: Ιωνικός ρυθμός) เป็นลักษณะทางสถาปัตยกรรม หนึ่งในสามของเสาแบบคลาสสิก ซึ่งนำมาจากกรีกและโรมันโบราณ อีกสองแบบได้แก่ ดอริกและคอรินเทียน (นอกจากนี้ยังมีเสาอีกสองแบบที่สำคัญน้อยกว่า ได้แก่ ทัสกัน และอีกแบบหนึ่งซึ่งเป็นการเพิ่มเติมและผสมผสานรายละเอียดของแบบคอรินเทียนกับแบบอื่น ๆ มากเข้าไปอีก เรียกว่า คอมโพซิต ซึ่งสร้างขึ้นช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 โดยสถาปนิกชาวอิตาลี)
เสาแบบไอออนิกมีลักษณะเสาเรียวสง่า แผ่นหินบนเสาเป็นรูปโค้งย้อยม้วนลงมาทั้งสองข้าง เหนือขึ้นไปเป็นรูปฐาน 3 ชั้น บริเวณเสา (shaft) ถูกรองรับด้วยฐานใต้เสา (stylobate) ซึ่งเป็นคนละชิ้นแยกจากกัน บริเวณยอดหรือหัวเสา (capital) มักจะตกแต่งด้วยลายประดับรูปไข่ (egg-and-dart)
ระเบียงภาพ
[แก้]-
หัวเสาแบบไอออนิกกรีก ในหนังสือ Nordisk familjebok ปีค.ศ. 1910
-
เสาแบบไอออนิกที่เมืองปรีน (Priene)
-
เสาไอออนิกบนหน้าบันประตูของปราสาทคูล (Castle Coole)
-
เสาแบบไอออนิกในแบบนีโอคลาสสิก ของสำนักงานใหญ่บริษัท Cincinnati life insurance
-
มหาวิทยาลัยแห่งออสโล