ชาวยั้ง
ประชากรทั้งหมด | |
---|---|
ไม่ทราบ | |
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ | |
ลาว | 5,843 คน (พ.ศ. 2558)[1] |
เวียดนาม | ไม่ทราบ |
ไทย | ไม่ทราบ |
ภาษา | |
ยั้ง · ลาว · ไทลื้อ | |
ศาสนา | |
ผี | |
กลุ่มชาติพันธุ์ที่เกี่ยวข้อง | |
ไทลื้อ · ไทดำ · ไทขาว · ลาว |
ยั้ง (ลาว: ຢັ້ງ) หรือ ไทยั้ง (ลาว: ໄຕຢັ້ງ) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ไทกลุ่มหนึ่ง อาศัยอยู่แขวงอุดมไซ[2][3] แขวงหลวงน้ำทา[4] และแขวงพงสาลี[5] ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศลาว พวกเขามีภาษาและวัฒนธรรมเฉพาะของตนเอง โดยภาษายั้งนั้นจัดอยู่ในตระกูลภาษาไท เช่นเดียวกับภาษาไทลื้อและภาษาลาว[3] ชาวยั้งอาจมีความสัมพันธ์กับชาวปู้ยัง (จีน: 布央) ในมณฑลยูนนาน ประเทศจีน[6] หรือกับชาวญั่ง (เวียดนาม: Nhắng) ชาติพันธุ์ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศเวียดนาม[7]
โดยชื่อ "ยั้ง" คือคำว่า หยุด หรือ หยุดยั้ง ในภาษาไทย[3] ปัจจุบันมีชาวยั้งอาศัยอยู่ที่เมืองไซและเมืองแบง แขวงอุดมไซ พวกเขาอาศัยอยู่ร่วมกับชนเผ่าอื่นอย่างเป็นสุขตามอัตภาพ[2] ใน พ.ศ. 2558 มีประชากรชาวยั้งในประเทศลาวทั้งหมด 5,843 คน[1] โดยใน พ.ศ. 2557 เฉพาะเมืองนาหม้อในแขวงอุดมไซ มีชาวยั้งอาศัยอยู่ทั้งหมด 875 คน[3]
ประวัติ
[แก้]เดิมชาวยั้งอาศัยอยู่ทางตอนใต้ของประเทศจีน ก่อนเคลื่อนตัวลงมาตั้งรกรากที่จังหวัดเซินลา จังหวัดลายเจิว และจังหวัดหล่าวกาย ทางตอนเหนือของประเทศเวียดนาม หลังจากนั้นก็อพยพลงมาตั้งรกรากที่แขวงอุดมไซ แขวงหลวงน้ำทา และแขวงพงสาลี ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศลาว โดยลงหลักปักฐานที่พื้นที่ดังกล่าวมานานนับศตวรรษแล้ว ประกอบอาชีพกสิกรรม จำพวกข้าวเหนียว มัน เผือก ข้าวสาลี บ้างก็ประกอบอาชีพเชิงหัตถกรรม เช่น ทอผ้า หรือตีเหล็ก[3]
ชาวยั้งนับถือศาสนาผี เคารพบูชาบรรพชน โดยเฉพาะผีพ่อ ผีแม่ ผีบ้านผีเรือน และผีอื่น ๆ พวกเขาให้การนับถือหมอผีในฐานะผู้เป็นที่พึ่งทางใจ มีพิธีกรรมเป็นระบบซับซ้อน เช่น การปลูกเรือน การแต่งงาน การหย่าร้าง และงานบุญกินเจียง ซึ่งเป็นวัฒนธรรมร่วมรากกับชาวฮ่อ อาข่า และไทดำ[3]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "Results of Population and Housing Census 2015" (PDF). Lao Statistics Bureau. สืบค้นเมื่อ 1 May 2020.
- ↑ 2.0 2.1 ລານກ້ອມ (มีนาคม 2538). ແກະຮອຢໃບລານ ໃນດິນແດນອຸດົມໄຊ (PDF) (ภาษาลาว). ໂຄງການປົກປັກຮັກສາໜັງສືລາວ ການຮ່ວມມືລາວ–ເຢຢຣະມັນ (ປີທີ III ສະບັບ 6). p. 2.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 "ເຜົ່າຢັ້ງໜື່ງໃນ 12 ເຜົ່າ ດຳລົງຊີວິດຢູ່ແຂວງອຸດົມໄຊ". CRI Online (ภาษาลาว). 16 ธันวาคม 2557. สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2567.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ທະວີສັກ ໃບລາສີ. "ໄປທ່ຽວຫຼວງນໍ້າທາ ຫາສຳຜັດວິຖີຊີວິດ 17 ຊົນເຜົ່າ". ລາວສຕາຣ໌ (ภาษาลาว). สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2567.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ຜົ້ງສາລີ ປະກວດອາພອນເພດຊົງລາວບັນດາເຜົ່າ". ສຳນັກຂ່າວສານປະເທດລາວ (ภาษาลาว). 23 กรกฎาคม 2558. สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2567.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ Outlying Kam-Tai: notes on Ta Mit Laha.
- ↑ Doling, Tim. 2010. Mountains and Ethnic Minorities: North West Việt Nam. Hà Nội: Thế Giới Publishers.