ข้ามไปเนื้อหา

การประมงเกินขีดจำกัด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปลาในวงศ์ปลาหางแข็งถูกจับโดยเรือประมงของชิลี

การประมงเกินขีดจำกัด (อังกฤษ: overfishing) คือ การนำปลาชนิดใดชนิดหนึ่งออกจากแหล่งน้ำ (เช่น การตกปลา) ในอัตราที่มากกว่าความสามารถที่ปลาชนิดนั้นเติมเต็มจำนวนประชากรได้ตามธรรมชาติ ส่งผลให้ปลาชนิดนั้นมีประชากรน้อยลงในพื้นที่ การประมงเกินขีดจำกัดสามารถเกิดขึ้นได้ในแหล่งน้ำทุกขนาด เช่น บ่อน้ำ พื้นที่ชุ่มน้ำ แม่น้ำ ทะเลสาบ หรือมหาสมุทร และอาจส่งผลให้ทรัพยากรปลาหมดลง อัตราการเติบโตทางชีวภาพลดลง และระดับชีวมวลต่ำ การประมงเกินขีดจำกัดอย่างต่อเนื่องอาจทำให้ประชากรปลาไม่สามารถคงจำนวนอยู่ได้อีกต่อไป การประมงเกินขีดจำกัดบางรูปแบบ เช่น การประมงฉลามเกินขีดจำกัด ส่งผลเกิดความปั่นป่วนต่อระบบนิเวศทางทะเลทั้งหมด[1]

การฟื้นตัวประชากรปลาหลังจากการประมงเกินขีดจำกัดขึ้นอยู่กับจำนวนประชากรที่รับได้ของพื้นที่และสภาวะทางนิเวศวิทยาเหมาะสมสำหรับการฟื้นฟูหรือไม่ การเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของสปีชีส์ในแต่ละพื้นที่ที่มากเกินไปอาจส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศ สมดุลที่เปลี่ยนไปนี้อาจทำให้สปีชีส์ในพื้นที่อื่น ๆ อาจเข้ามาแทนที่สปีชีส์เดิมที่อาศัยก่อนถูกจับไป ตัวอย่างเช่น เมื่อปลาเทราต์ถูกจับมากเกินไป ปลาคาร์ปอาจใช้ประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงสมดุลนี้และเข้ามาแทนที่ในรูปแบบที่ทำให้ปลาเทราต์ไม่สามารถผสมพันธุ์และฟื้นฟูจำนวนประชากรขึ้นใหม่ได้อีกเลย

นับตั้งแต่การเติบโตของธุรกิจประมงทั่วโลกหลังทศวรรษ 1950 การทำประมงอย่างหนักนี้เริ่มแพร่กระจายจากพื้นที่ที่เพียงไม่กี่แห่งไปจนถึงการประมงเกือบทั้งหมด เกิดการขูดก้นทะเลซึ่งเป็นการทำลายล้างปะการัง ฟองน้ำ และชีวินก้นทะเลอื่น ๆ ที่เติบโตช้าและไม่สามารถฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ การทำลายล้างนี้เปลี่ยนการทำงานของระบบนิเวศ และสามารถเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของสปีชีส์และความหลากหลายทางชีวภาพได้อย่างถาวร นอกจากนี้ยังมีการจับสิ่งมีชีวิตอื่นโดยไม่ได้ตั้งใจในระหว่างการตกปลา โดยปกติแล้วสิ่งมีชีวิตนั้นจะถูกปล่อยกลับสู่มหาสมุทรและตายจากการบาดเจ็บหรือการสัมผัส สิ่งมีชีวิตอื่นนี้คิดเป็นประมาณหนึ่งในสี่ของการจับสัตว์ทะเลทั้งหมด ในกรณีจับกุ้ง จะเกิดการจับสิ่งมีชีวิตอื่นมากกว่ากุ้งที่จับได้ประมาณ 5 เท่า

รายงานโดย FAO ในปี 2020 ระบุว่า "ในปี 2017 ร้อยละ 34 ของปริมาณปลาในพื้นที่ทำการประมงทะเลของโลกจัดอยู่ในประเภทประมงเกินขีดจำกัด"[2] ทางเลือกในการลดผลกระทบ ได้แก่ กฎระเบียบของรัฐบาล การยกเลิกเงินอุดหนุน การลดผลกระทบจากการประมง การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และความตระหนักของผู้บริโภค

อ้างอิง

[แก้]
  1. Scales, Helen (29 March 2007). "Shark Declines Threaten Shellfish Stocks, Study Says". National Geographic News. สืบค้นเมื่อ 1 May 2012.
  2. The State of World Fisheries and Aquaculture 2020 (ภาษาอังกฤษ). FAO. 2020. doi:10.4060/ca9229en. hdl:10535/3776. ISBN 978-92-5-132692-3.
pFad - Phonifier reborn

Pfad - The Proxy pFad of © 2024 Garber Painting. All rights reserved.

Note: This service is not intended for secure transactions such as banking, social media, email, or purchasing. Use at your own risk. We assume no liability whatsoever for broken pages.


Alternative Proxies:

Alternative Proxy

pFad Proxy

pFad v3 Proxy

pFad v4 Proxy