ข้ามไปเนื้อหา

การปรับตาดูใกล้ไกล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การปรับตาดูไกลและใกล้
Lens = เลนส์ตาหรือแก้วตา
Retina = จอตา

การปรับตาดูใกล้ไกล[1] (อังกฤษ: Accommodation ตัวย่อ Acc) เป็นกระบวนการที่ตาของสัตว์มีกระดูกสันหลังเปลี่ยนการหักเหของแสงเพื่อรักษาภาพที่มองเห็นให้ชัด หรือเพื่อรักษาโฟกัสให้อยู่ที่วัตถุเป้าหมายเมื่อความใกล้ไกลเปลี่ยนไป แม้การปรับตาเช่นนี้จะทำงานเหมือนกับรีเฟล็กซ์ แต่ก็อยู่ใต้อำนาจจิตใจด้วย สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม นก และสัตว์เลื้อยคลาน จะเปลี่ยนการหักเหของแสงโดยเปลี่ยนรูปร่างของเลนส์ (แก้วตา) ที่ยืดหยุ่นได้ด้วยระบบ ciliary body (อันรวมเอ็นและกล้ามเนื้อ) ซึ่งในมนุษย์สามารถเปลี่ยนได้ถึง 15 ไดออปเตอร์ ส่วนปลาและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก จะควบคุมการหักเหของแสงโดยเปลี่ยนระยะระหว่างเลนส์ที่แข็งกับจอตาด้วยกล้ามเนื้อ[2]

เยาวชนสามารถเปลี่ยนโฟกัสของตาจากระยะไกลที่สุด (อนันต์) มาที่ 7 ซม. วัดจากตา โดยใช้เวลาแค่ 350 มิลลิวินาที นี่เป็นการเปลี่ยนโฟกัสของตาที่น่าทึ่ง โดยต่างกันเกือบ 13 ไดออปเตอร์ และเกิดเมื่อเอ็นขึงแก้วตา (Zonule of Zinn) ซึ่งยึดอยู่กับเลนส์ตา ลดความตึงเนื่องจากการหดเกร็งของกล้ามเนื้อยึดเลนส์ตา

สมรรถภาพการปรับตาดูใกล้ไกลจะลดลงตามอายุ ในช่วงอายุ 50 จะลดไปจนกระทั่งโฟกัสที่ใกล้สุด จะไกลกว่าระยะที่อ่านหนังสือโดยปกติ กลายเป็นสายตาแบบของผู้สูงอายุ (presbyopic) และเมื่อเกิดขึ้นแล้ว ผู้ที่สายตาปกติ (emmetropic) ซึ่งธรรมดาไม่จำเป็นต้องใส่แว่นเพื่อมองไกล ก็จะต้องใช้แว่นเพื่อมองใกล้ ๆ ส่วนผู้ที่สายตาสั้นและปกติต้องใช้แว่นเพื่อมองไกล ก็จะปรากฏกว่า เห็นระยะใกล้ได้ดีกว่าถ้าไม่ใส่แว่นมองไกล ส่วนผู้ที่สายตายาวก็จะพบว่า ต้องใส่แว่นทั้งเมื่อมองใกล้และไกล

ในประชากรทั้งหมด การปรับตาจะลดลงจนเหลือน้อยกว่า 2 ไดออปเตอร์เมื่อถึงอายุ 45-50 ปี ซึ่งเมื่อถึงอายุช่วงนี้ ทั้งหมดจะสังเกตว่า มองใกล้ได้แย่ลง และต้องใช้แว่นตาสำหรับอ่านหนังสือหรือต้องใส่แว่นสองชั้น การปรับตาใกล้ไกลจะเหลือเท่ากับ 0 ไดออปเตอร์เมื่อถึงอายุ 70 ปี

กลไกตามทฤษฎีต่าง ๆ

[แก้]

Helmholtz

[แก้]

เป็นทฤษฎีที่ยอมรับกันมากที่สุด[3] ซึ่งเสนอโดยแฮร์มันน์ ฟอน เฮล์มโฮลทซ์ ในปี พ.ศ. 2398 คือเมื่อมองไกล กล้ามเนื้อยึดแก้วตาที่ล้อมเลนส์ตาเป็นวงกลม จะคลายตัวโดยมีผลให้เอ็นขึงแก้วตาดึงเลนส์แล้วทำให้แบน แรงดึงจะมาจากแรงดันของวุ้นตาและสารน้ำในลูกตาที่ดันออกที่ตาขาว (sclera) เทียบกับเมื่อมองวัตถุใกล้ ๆ ที่กล้ามเนื้อยึดเลนส์ตาจะหดเกร็ง (ต้านแรงดันที่ตาขาว) ทำให้เอ็นขึงแก้วตาคลายตัว แล้วทำให้เลนส์กลับนูนหนาขึ้น

Schachar

[แก้]

นักวิชาการอีกผู้หนึ่งเสนอทฤษฎีอีกทฤษฎีหนึ่งซึ่งแสดงว่า เลนส์ตาของมนุษย์เพิ่มกำลังโฟกัสโดยสัมพันธ์กับแรงดึงเลนส์ที่เพิ่มขึ้น ผ่านเอ็นขึงแก้วตาซึ่งยึดอยู่ที่ใกล้แนวกลาง (equatorial) ของเลนส์ และเมื่อกล้ามเนื้อยึดเลนส์ตาหดเกร็ง เอ็นขึงแก้วตาที่จุดนั้นก็จะตึงเพิ่มขึ้น ทำให้ตรงกลางของเลนส์นูนขึ้น เลนส์ตรงกลางจะหนาขึ้นคือเพิ่มเส้นผ่านศูนย์กลางจากหน้าไปหลัง โดยผิวส่วนรอบ ๆ เลนส์จะบางลง และในขณะที่แรงดึงของเอ็นขึงแก้วตาส่วนแนวกลางเพิ่มขึ้นเมื่อปรับตา เอ็นขึงแก้วตาส่วนหน้า (anterior) และหลัง (posterior) จะคลายลงพร้อม ๆ กัน[4]

การเปลี่ยนรูปเลนส์ในมนุษย์จึงมีผลเพิ่มกำลังโฟกัสของเลนส์ส่วนตรงกลาง โดยความคลาดทรงกลมของเลนส์จะเปลี่ยนไปในทางลบยิ่งขึ้น[5] แต่เพราะแรงดึงที่เพิ่มขึ้นของเอ็นขึงแก้วตาส่วนศูนย์กลางเมื่อปรับตา แคปซูลของเลนส์ก็จะได้รับแรงดันเพิ่มขึ้น และดังนั้น จึงยังสามารถคงที่โดยไม่ได้รับผลจากแรงโน้มถ่วง[6][7]

การเปลี่ยนรูปเหมือนกับเลนส์เมื่อตาปรับดูใกล้ไกล ก็เห็นได้ในวัตถุนูนสองข้างทุกอย่างที่ได้แรงดึงผ่านศูนย์กลาง ถ้าเป็นวัตถุที่หุ้มวัสดุที่บีบอัดได้เล็กน้อย (โดยปริมาตรจะเปลี่ยนได้น้อยกว่าประมาณ 3%) และเป็นรูปวงรีที่มีอ้ตรากว้าง/ยาวน้อยกว่า 0.6[8] เพราะแรงดึงที่เส้นผ่านศูนย์กลาง (Equatorial) จะมีประสิทธิภาพมากเมื่อใช้กับวัตถุนูนสองข้าง ที่มีอัตรากว้าง/ยาวน้อยกว่า 0.6 คือแม้แรงดึงที่เพิ่มเส้นผ่านศูนย์กลางเล็กน้อย ก็จะเป็นเหตุให้แนวโค้งตรงกลางเพิ่มขึ้นอย่างมาก

ปรากฏการณ์นี้อธิบายว่า ทำไมอัตราความกว้าง/ยาวของเลนส์ตาของสัตว์มีกระดูกสันหลัง จึงสามารถใช้พยากรณ์ขนาดการปรับตาดูใกล้ไกลในเชิงคุณภาพได้ คือ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีเลนส์ซึ่งมีอัตรากว้าง/ยาวน้อยกว่า 0.6 จะสามารถปรับตาดูใกล้ไกลได้ในระดับสูง สัตว์ตัวอย่างก็คือไพรเมตและเหยี่ยว ในขณะที่สัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีอัตรากว้าง/ยาวของเลนส์มากกว่า 0.6 จะสามารถปรับตาดูใกล้ไกลได้น้อย สัตว์ตัวอย่างก็คือ นกเค้าและแอนทิโลป[9]

การปรับตาดูใกล้ไกลได้ที่ลดลง ก็เป็นอาการปรากฏของสายตาผู้สูงอายุ (presbyopia) ด้วย[10] เมื่อสูงอายุขึ้น ขนาดผ่านศูนย์กลาง (equatorial) ของเลนส์จะใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ และแรงดึงพื้นฐานของเอ็นขึงแก้วตาก็จะลดลงเรื่อย ๆ ด้วย โดยทั้งสองจะมีผลทำให้กล้ามเนื้อยึดเลนส์ตาสั้นลงและทำให้มีกำลังปรับเลนส์ตาน้อยลง นี้เป็นสมุฏฐานของการปรับตาดูใกล้ไกลที่ลดสมรรถภาพลงดังที่พบในสายตาผู้สูงอายุ[11][12]

Catenary

[แก้]
โซ่ที่ห้อยจากเสาจะมีรูปร่างเป็นเส้นโค้งแคทีนารี ในสาขาฟิสิกส์และเรขาคณิต แคทีนารี (catenary) หมายถึงรูปเส้นโค้งที่โซ่หรือสายเคเบิลที่ห้อยอยู่โดยยึดอยู่กับเสาที่ด้านทั้งสองจะมีรูปร่าง

มีนักวิชาการอีกท่านหนึ่งที่เสนอว่า แก้วตา เอ็นขึงแก้วตา และเยื่อ anterior hyaloid membrane รวมกันทำหน้าที่เป็นไดอะแฟรมระหว่างห้องหน้า (anterior chamber) และห้องวุ้นตา (vitreous chamber) ด้านหลังของตา[13] การเกร็งของกล้ามเนื้อยึดเลนส์ตาจะสร้างแรงดันที่ระหว่างห้องทั้งสอง เป็นแรงดันซึ่งคงสภาพรูปร่างของเลนส์ที่โค้งนูนมากออกด้านหน้า (anterior) ตรงกลาง โดยตามขอบจะแบนกว่า และถ้ามองตามหน้าตัด ผิวเลนส์ด้านหลัง (posterior) จะอยู่ในรูปเส้นโค้งแคทีนารี[14] แคปซูลเลนส์และเอ็นยึดเลนส์รวมกัน จะมีรูปร่างเหมือนผิวเตียงผ้าใบหรือเปลญวนที่ทำให้เกิดได้ขึ้นอยู่กับความกลมรีของส่วนรอบ ๆ คือขึ้นอยู่กับเส้นผ่าศูนยกลางผ่าน ciliary body/Müeller’s muscle ด้งนั้น ciliary body จึงเป็นตัวกำหนดรูปร่างของเลนส์คล้ายกับเสาของสะพานแขวนกำหนดความโค้งของสายเคเบิล แต่ไม่จำเป็นต้องสร้างแรงดึงที่เอ็นยึดเลนส์ส่วนเส้นผ่านศูนย์กลาง (equatorial) เพื่อทำเลนส์ให้แบน[15][16]

ผลที่เกิดเนื่องจากการปรับตา

[แก้]

เมื่อมนุษย์ปรับตาเพื่อดูใกล้ ๆ ก็จะเบนตาทั้งสองเข้าและลดขนาดรูม่านตาด้วย แต่การลดรูม่านตาก็ไม่ได้เป็นส่วนของการปรับเลนส์ตาเพื่อดูใกล้ไกล การขยับตาสามอย่างร่วมกันรวมทั้งการปรับตาดูใกล้ไกล การเบนตาเข้า และรูม่าตาหด (miosis) อยู่ใต้การควบคุมของนิวเคลียสประสาท Edinger-Westphal nucleus และเรียกรวม ๆ กันในภาษาอังกฤษว่า near triad หรือ accommodation reflex (รีเฟล็กซ์ปรับตาดูใกล้ไกล)[17] แม้จะเข้าใจดีแล้วว่า การเบนตาเข้าจำเป็นเพื่อไม่ให้เห็นภาพซ้อน หน้าที่/เป้าหมายของการลดรูม่านตาก็ยังไม่ชัดเจน อาจเป็นไปได้ว่า การลดรูรับแสงอาจเพิ่มช่วงความชัด แล้วลดการปรับตาที่จำเป็นเพื่อให้ภาพโฟกัสที่จอตา[18]

มีอัตราที่ชัดเจนว่า การปรับตาดูใกล้ไกลจะทำให้ตาเบนเข้าเท่าไร และค่าที่ผิดปกติอาจทำให้เกิดปัญหาการเห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตา[ต้องการอ้างอิง]

ความผิดปกติ

[แก้]

นักวิชาการได้จัดหมวดหมู่ต่าง ๆ ของความผิดปกติในการปรับตาดูใกล้ไกล โดยแบ่งเป็น[19]

  • Accommodative insufficiency - การปรับตาไม่พอ เด็ก 80% ที่วินิจฉัยว่าเบนตาเข้ามากเกินไป (convergence excess) ก็จะมีอาการนี้ด้วย
  • Ill-sustained accommodation
  • Accommodative infacility - การปรับตาได้ไม่เร็วหรือไม่แม่นยำพอ
  • Paralysis of accommodation
  • Spasm of accommodation - กล้ามเนื้อยึดเลนส์ตาหดเกร็งตลอด ทำให้มองวัตถุที่ไกล ๆ ไม่ได้

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Accommodation", ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑ ฉบับ ๒๕๔๕, (จักษุวิทยา) การปรับตาดูใกล้ไกล
  2. Augen (ภาษาเยอรมัน), คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-07, สืบค้นเมื่อ 2009-05-02
  3. M. Baumeister, T. Kohnen: Akkommodation und Presbyopie: Teil 1: Physiologie der Akkommodation und Entwicklung der Presbyopie " Nach der heute größtenteils akzeptierten und im Wesentlichen experimentell bestätigten Theorie von Helmholtz ..." (German)
  4. Schachar, RA (2006). "The mechanism of accommodation and presbyopia". International Ophthalmology Clinics. 46 (3): 39–61.
  5. Abolmaali, A; Schachar, RA; Le, T (2007). "Sensitivity study of human crystalline lens accommodation". Computer Methods and Programs in Biomedicine. 85 (1): 77–90.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  6. Schachar, RA; Davila, C; Pierscionek, BK; Chen, W; Ward, WW (2007). "The effect of human in vivo accommodation on crystalline lens stability". British Journal of Ophthalmology. 91 (6): 790–793.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  7. Schachar, RA (2007). "The lens is stable during accommodation". Ophthalmic Physiological Optics.
  8. Schachar, RA; Fygenson, DK (2007). "Topographical changes of biconvex objects during equatorial traction: An analogy for accommodation of the human lens". British Journal of Ophthalmology.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  9. Schachar, RA; Pierscionek, BK; Abolmaali, A; Le, T (2007). "The relationship between accommodative amplitude and the ratio of central lens thickness to its equatorial diameter in vertebrate eyes". British Journal of Ophthalmology. 91 (6): 812–817.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  10. Schachar, RA (2008). "Equatorial lens growth predicts the age-related decline in accommodative amplitude that results in presbyopia and the increase in intraocular pressure that occurs with age". International Ophthalmology Clinics. 48 (1).
  11. Schachar, RA; Abolmaali, A; Le, T (2006). "Insights into the etiology of the age related decline in the amplitude of accommodation using a nonlinear finite element model of the accommodating human lens". British Journal of Ophthalmology. 90: 1304–1309.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  12. Schachar, RA (2006). "The mechanism of accommodation and presbyopia". International Ophthalmology Clinics. 46 (3): 39–61.
  13. Coleman, DJ (1970). "Unified model for the accommodative mechanism". Am J Ophthalmol. 69: 1063–79.
  14. Ovenseri-Ogbomo, Godwin O; Oduntan, Olalekan A (2015). "Mechanism of accommodation: A review of theoretical propositions". African Vision and Eye Health. AOSIS Publishing. 74 (1).{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  15. Coleman, DJ (1986). "On the hydraulic suspension theory of accommodation". Trans Am Ophthalmol Soc. 84: 846–68.
  16. Coleman, DJ; Fish, SK (2001). "Presbyopia, Accommodation, and the Mature Catenary". Ophthalmol. 108 (9): 1544–51.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  17. Bhola, Rahul (MD) (2006-01-23). "Binocular Vision". The University of Iowa Department of Ophthalmology & Visual Sciences.
  18. doi:10.1016/j.survophthal.2005.11.003
    This citation will be automatically completed in the next few minutes. You can jump the queue or expand by hand
  19. Duke-Elder, Sir Stewart. The Practice of Refraction (8th ed.). St. Louis: The C. V. Mosby Company. ISBN 0-7000-1410-1.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
pFad - Phonifier reborn

Pfad - The Proxy pFad of © 2024 Garber Painting. All rights reserved.

Note: This service is not intended for secure transactions such as banking, social media, email, or purchasing. Use at your own risk. We assume no liability whatsoever for broken pages.


Alternative Proxies:

Alternative Proxy

pFad Proxy

pFad v3 Proxy

pFad v4 Proxy