ข้ามไปเนื้อหา

บาธ

พิกัด: 51°23′N 2°22′W / 51.38°N 2.36°W / 51.38; -2.36
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บาธ

Bath
ใจกลางเมืองบาธ
ใจกลางเมืองบาธ
พิกัด: 51°23′N 2°22′W / 51.38°N 2.36°W / 51.38; -2.36
รัฐเอกราชธงของสหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักร
ประเทศ อังกฤษ
ภาคเซาท์เวสต์อิงแลนด์
เทศมณฑลทางพิธีการซัมเมอร์เซต
ประชากร88,859 คน
เดมะนิมBathonian
เขตเวลาUTC±0 (GMT)
 • ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)UTC+1 (BST)
รหัสไปรษณีย์BA
รหัสพื้นที่01225
บาธ *
  แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก
ประเทศธงของสหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักร
ประเภทมรดกทางวัฒนธรรม
เกณฑ์พิจารณา(i), (ii), (iv)
อ้างอิง428
ประวัติการขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียน2530 (คณะกรรมการสมัยที่ 11)
พื้นที่2,900 เฮกตาร์
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก
** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก

บาธ (อังกฤษ: Bath) เป็นเมืองที่มีฐานะนครในมณฑลซัมเมอร์เซตในภาคตะวันตกเฉียงใต้ของอังกฤษ บาธตั้งอยู่ห่างจากลอนดอนไปทางตะวันตก 156 กิโลเมตร และจากบริสตอลไปทางตะวันออกเฉียงใต้ 21 กิโลเมตร

บาธมีประชากรทั้งหมดประมาณ 80,000 คน[2] บาธได้รับพระราชทานฐานะเป็น “นคร” โดยสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 ในปี ค.ศ. 1590[3] และได้เป็นเทศบาลมณฑล ในปี ค.ศ. 1889 ที่ทำให้บาธเป็นอิสระจาการบริหารของมณฑลซัมเมอร์เซต บาธเป็นส่วนหนึ่งของมณฑลเอวอนเมื่อเอวอนได้รับฐานะเป็นมณฑลในปี ค.ศ. 1974 ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1996 เมื่อมณฑลเอวอนถูกยุบบาธก็กลายเป็นศูนย์กลางของรัฐบาลท้องถิ่นระดับเดียวของบาธและตะวันออกเฉียงเหนือของซัมเมอร์เซต (B&NES) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมณฑลภูมิศาสตร์แห่งซัมเมอร์เซต

ตัวเมืองบาธตั้งอยู่เนินหลายลูกในหุบเขาของแม่น้ำเอวอนในบริเวณที่มีน้ำพุร้อนธรรมชาติที่เป็นที่ตั้งถิ่นฐานของโรมัน ผู้สร้างโรงอาบน้ำโรมัน (Roman Bath) และแอบบีย์[4] และตั้งชื่อเมืองว่า “Aquae Sulis” เมืองบาธเป็นสถานที่ที่พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดผู้อาวุโสทำพิธีราชาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์อังกฤษที่แอบบีย์บาธ ในปี ค.ศ. 973[5] ต่อมาในยุคจอร์เจีย บาธกลายเป็นเมืองน้ำแร่ที่เป็นที่นิยมกันมากซึ่งทำให้เมืองขยายตัวขึ้นมากและมีสถาปัตยกรรมจอร์เจียนที่โดดเด่ จากสมัยนั้นที่สร้างจากหินบาธที่เป็นหินสีเหลืองนวล

เมืองบาธได้รับฐานะเป็นเมืองมรดกโลกในปี ค.ศ. 1987 และมีโรงละคร, พิพิธภัณฑ์ และสิ่งสำคัญทางวัฒนธรรมและทางการกีฬา ที่ทำให้กลายเป็นเมืองที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวโดยมีนักท่องเที่ยวพักค้างคืนหนึ่งล้านคน และนักท่องเที่ยวไปเช้าเย็นกลับ 3.8 ล้านคนต่อปี เมืองบาธมีมหาวิทยาลัยสองมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยและสถานศึกษาอื่น ๆ แรงงานส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมการบริการและมีความเจริญเติบโตทางด้านข้อมูลและเทคโนโลยีที่สร้างงานให้แก่ผู้อยู่อาศัยในเมืองบาธเองและบริเวณปริมณฑล

อ้างอิง

[แก้]
  1. Bath is a constituency and unparished area; at the time of the 2011 census the city was exactly co-extensive with 16 wards https://www.nomisweb.co.uk/query/asv2htm.aspx เก็บถาวร 30 กันยายน 2018 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  2. "Bath Local Plan". Bath & North East Somerset Council. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-30. สืบค้นเมื่อ 2007-12-07.
  3. "Civic Insignia". City of Bath. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-15. สืบค้นเมื่อ 2007-12-10.
  4. "City of Bath World Heritage Site Management Plan". Bath and North East Somerset. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-14. สืบค้นเมื่อ 2007-11-01.
  5. "Edgar the Peaceful". English Monarchs - Kings and Queens of England. สืบค้นเมื่อ 2007-12-08.

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ บาธ วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ มหาวิหารบาธ

ระเบียงภาพ

[แก้]
pFad - Phonifier reborn

Pfad - The Proxy pFad of © 2024 Garber Painting. All rights reserved.

Note: This service is not intended for secure transactions such as banking, social media, email, or purchasing. Use at your own risk. We assume no liability whatsoever for broken pages.


Alternative Proxies:

Alternative Proxy

pFad Proxy

pFad v3 Proxy

pFad v4 Proxy