ข้ามไปเนื้อหา

ประธานาธิบดีมอลตา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ประธานาธิบดี
แห่งสาธารณรัฐมอลตา
ธงประจำตำแหน่ง
ผู้ดำรงตำแหน่งคนปัจจุบัน
Myriam Spiteri Debono
ตั้งแต่ 4 เมษายน พ.ศ. 2567
การเรียกขานฯพณฯ
จวนพระราชวังซานแอนตัน
ผู้แต่งตั้งสภาผู้แทนราษฎร
วาระ5 ปี
ผู้ประเดิมตำแหน่งเซอร์ แอนโธนี มาโม
สถาปนา13 ธันวาคม 1974; 49 ปีก่อน (1974-12-13)
เงินตอบแทน€68,936 ต่อปี[1]
เว็บไซต์https://president.gov.mt/
รายชื่อประธานาธิบดีมอลตา ณ พระราชวังซานแอนตัน ในปี 2557

ประธานาธิบดีมอลตา (มอลตา: President ta' Malta) หรือเรียกอย่างเป็นทางการว่า ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐมอลตา เป็นประมุขแห่งรัฐตามรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐมอลตา ประธานาธิบดีได้รับการเลือกตั้งทางอ้อมโดยสภาผู้แทนราษฎรมอลตา ซึ่งเป็นผู้แต่งตั้งประธานาธิบดีในวาระ 5 ปี และกำหนดให้ประธานาธิบดีต้องเข้าสาบานตนว่าจะทำการปกป้องรัฐธรรมนูญ[2] ประธานาธิบดีมอลตายังดำรงอยู่ทั้งโดยตรงหรือโดยอ้อมในทั้งสามสาขาของรัฐ เป็นส่วนหนึ่งของรัฐสภา รับผิดชอบในการแต่งตั้งตุลาการ และอำนาจบริหารจะตกเป็นของประธานาธิบดีในนาม แต่ในทางปฏิบัติแล้ว นายกรัฐมนตรีเป็นผู้ดำเนินการ[3]

ประวัติ

[แก้]

ตำแหน่งประธานาธิบดีมอลตา (มอลตา: President ta' Malta) เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2517 เมื่อมอลตากลายเป็นสาธารณรัฐในเครือจักรภพแห่งประชาชาติ สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ทรงยุติการเป็นประมุขและสมเด็จพระราชินีนาถแห่งมอลตา (มอลตา: Reġina ta' Malta) ทำให้ผู้สำเร็จราชการคนสุดท้าย เซอร์ แอนโธนี มาโม กลายเป็นประธานาธิบดีคนแรกของมอลตา

อ้างอิง

[แก้]
  1. "LEĠIŻLAZZJONI MALTA". legislation.mt.
  2. Article 50 and the Second Schedule of the Constitution of Malta
  3. Articles 51, 96 and 78 of the Constitution of Malta
pFad - Phonifier reborn

Pfad - The Proxy pFad of © 2024 Garber Painting. All rights reserved.

Note: This service is not intended for secure transactions such as banking, social media, email, or purchasing. Use at your own risk. We assume no liability whatsoever for broken pages.


Alternative Proxies:

Alternative Proxy

pFad Proxy

pFad v3 Proxy

pFad v4 Proxy