ข้ามไปเนื้อหา

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บัณฑิตจากมหาวิทยาลัยแมคกิลล์สวมชุดครุยระดับปริญญาเอก
กลุ่มบัณฑิตที่ได้รับปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกับอาจารย์ของพวกเขา

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต[1] (ละติน: Philosophiae doctor, อังกฤษ: Doctor of Philosophy, อักษรย่อ ปร.ด., PhD, Ph.D. หรือ DPhil ) คือปริญญาทางวิชาการสูงสุดที่ได้รับจากมหาวิทยาลัยในหลายประเทศ การได้รับปรัชญาดุษฎีบัณฑิตมาจากหลักสูตรที่มีความกว้างขวางของสาขาทางวิชาการ การได้มาซึ่งปรัชญาดุษฎีบัณฑิตมักจะเป็นที่ต้องการสำหรับอาชีพอาจารย์มหาวิทยาลัย นักวิจัย หรือนักวิทยาศาสตร์ในสาขาต่าง ๆ บุคคลที่ได้รับปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตอาจใช้คำนำหน้าว่าดอกเตอร์ (Doctor) หรือนิยมเรียกสั้น ๆ ว่า "ดร." ("Dr" ) ในทางกฎหมายได้ หรือในประเทศที่ไม่ใช้ภาษาอังกฤษอาจใช้คำที่แตกต่างกันเช่น "Dr. phil." ในชื่อของพวกเขา และอาจใช้เป็นคำนำหลังชื่อเช่น "Ph.D.", "PhD" ขึ้นอยู่กับสถาบันที่ได้รับ

ข้อกำหนดในการได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตมีความแตกต่างกันไปตามแต่ละประเทศ สถาบัน และช่วงสมัย ตั้งแต่ปริญญาการวิจัยในระดับเริ่มต้นจนถึงปริญญาเอกขั้นสูง ในระหว่างการเรียนนักศึกษาจะถูกเรียกว่า นักศึกษาปริญญาเอก (doctoral student หรือ PhD student) นักศึกษาที่จบการเรียนการสอน การสอบประมวลความรู้และอยู่ในระหว่างการทำวิทยานิพนธ์หรือดุษฎีนิพนธ์ของตนบางครั้งจะถูกเรียกว่า ผู้มีสิทธิได้รับปริญญาเอก (doctoral candidate หรือ PhD candidate) (ดู All but dissertation) นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาในระดับนี้อาจได้รับปริญญา Candidate of Philosophy ในสถาบันบางแห่ง

ผู้มีสิทธิได้รับปริญญาเอกจะต้องเสนอโครงการ วิทยานิพนธ์ หรือดุษฎีนิพนธ์ซึ่งประกอบด้วยเนื้อหาที่เป็นจุดเริ่มต้นของการวิจัยทางวิชาการซึ่งเป็นหลักวิชาการที่มีคุณค่าต่อการเผยแพร่ในวารสารที่พิชญพิจารณ์แล้ว [2] ในหลายประเทศผู้มีสิทธิจะต้องสอบป้องกัน วิทยานิพนธ์นี้ก่อนที่จัดสรรผู้เชี่ยวชาญที่เป็นคณะกรรมการสอบที่ได้รับการแต่งตั้งจากมหาวิทยาลัย ในบางครั้งมหาวิทยาลัยจะมอบปริญญาเอกประเภทอื่น ๆ นอกเหนือจากปรัชญาดุษฎีบัณฑิต เช่น วิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต (วศ.ด.) สำหรับวิศวกร และศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ศษ.ด.) สำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษา ในปี 2005 สมาคมมหาวิทยาลัยยุโรปได้กำหนดหลักซาลซ์บูร์ก (Salzburg Principles) ถึงหลักพื้นฐานสิบประการสำหรับปริญญาขั้นที่สาม (ปริญญาเอก) ภายใต้กระบวนการโบโลญญา[3] ตามมาด้วย หลักฟลอเรนซ์ (Florence Principles) ในปี 2016 ประกอบด้วยหลักพื้นฐานเจ็ดประการสำหรับปริญญาเอกในสาขาศิลปะที่กำหนดโดยสันนิบาตแห่งสถาบันศิลปะยุโรป ซึ่งได้รับการรับรองโดยสมาคมโรงเรียนสอนศิลปะยุโรป สมาคมโรงเรียนภาพยนตร์และโทรทัศน์นานาชาติ สมาคมมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยศิลปะ การออกแบบ และสื่อนานาชาติ และสมาคมเพื่อการวิจัยศิลปะ

ในบริบทของปรัชญาดุษฎีบัณฑิตและชื่อปริญญาอื่น ๆ ที่คล้ายกัน คำว่า "ปรัชญา" ไม่ได้หมายถึงสาขาหรือแขนงทางวิชาการของปรัชญาเพียงอย่างเดียว แต่ถูกนำมาใช้ในความหมายที่กว้างขึ้นตามความหมายดั้งเดิมในภาษากรีก คือ "ความรักในปัญญา" (love of wisdom) ซึ่งหมายถึงความใฝ่รู้ ส่วนใหญ่ในยุโรปทุกสาขา (ประวัติศาสตร์ ปรัชญา สังคมศาสตร์ คณิตศาสตร์ และปรัชญาธรรมชาติหรือวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ)[4] รวมถึงเทววิทยา นิติศาสตร์ และแพทยศาสตร์ (ทั้งหลักสูตรวิชาชีพ อาชีวศึกษา และเทคนิค) เป็นที่รู้ตามธรรมเนียมว่าคือปรัชญา ในเยอรมนี และที่อื่น ๆ ในยุโรป คณะพื้นฐานทางศิลปศาสตร์เป็นที่รู้จักกันว่า "คณะปรัชญา"

อ้างอิง

[แก้]
  1. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง หลักเกณฑ์การกำหนดชื่อปริญญา พ.ศ. ๒๕๕๙ เล่ม 133 ตอนพิเศษ 158 ง, 14 กรกฎาคม 2559, หน้า 6-18
  2. Dinham, S.; Scott, C. (2001). "The Experience of Disseminating the Results of Doctoral Research". Journal of Further and Higher Education. 25: 45–55. doi:10.1080/03098770020030498.
  3. Kirsti Koch Christensen (2005). "BOLOGNA SEMINAR: DOCTORAL PROGRAMMES FOR THE EUROPEAN KNOWLEDGE SOCIETY" (PDF). European Universities Association. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-10-11. สืบค้นเมื่อ 2018-05-22.
  4. Sooyoung Chang, Academic Genealogy of Mathematicians, World Scientific, 2010, p. 183.
pFad - Phonifier reborn

Pfad - The Proxy pFad of © 2024 Garber Painting. All rights reserved.

Note: This service is not intended for secure transactions such as banking, social media, email, or purchasing. Use at your own risk. We assume no liability whatsoever for broken pages.


Alternative Proxies:

Alternative Proxy

pFad Proxy

pFad v3 Proxy

pFad v4 Proxy