ข้ามไปเนื้อหา

พรรคประชาชนปฏิวัติลาว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พรรคประชาชนปฏิวัติลาว
ພັກປະຊາຊົນປະຕິວັດລາວ
พักปะซาซนปะติวัดลาว
ผู้ก่อตั้งเจ้าสุภานุวงศ์
ไกสอน พมวิหาน
เลขาธิการทั่วไปทองลุน สีสุลิด
สมาชิกประจำบุนทอง จิดมะนี
คำขวัญพรรคประชาชนปฏิวัติลาวที่มีเกียรติสง่า ยั่งยืน!
บรรเทาความทุกข์ยากความทุกข์จนทีละก้าว
ก่อตั้ง22 พฤษภาคม 1955
(69 ปีก่อน)
 (1955-05-22)
ก่อนหน้าพรรคคอมมิวนิสต์อินโดจีน
ที่ทำการลาว นครหลวงเวียงจันทน์, ประเทศลาว
หนังสือพิมพ์ปะซาซน
ฝ่ายเยาวชนสหภาพเยาวชนปฏิวัติประชาชนลาว
ฝ่ายทหาร กองทัพประชาชนลาว
สมาชิกภาพ  (ปี ค.ศ. 2021)348,686
อุดมการณ์ลัทธิคอมมิวนิสต์
ลัทธิมากซ์-เลนิน
แนวคิดไกสอน พมวิหาน
รักชาติลาว (ชาตินิยมลาว)
จุดยืนซ้ายจัด
กลุ่มระดับสากลการประชุมพรรคคอมมิวนิสต์และแรงงานระหว่างประเทศ
เพลง"แองเตอร์นาซิอองนาล"

*เพลงปฏิวัติ-สหาย (ไม่เป็นทางการ)
สภาแห่งชาติ
158 / 164
เว็บไซต์
http://www.pccob.gov.la/
ธงประจำพรรค
การเมืองลาว
รายชื่อพรรคการเมือง
การเลือกตั้ง

พรรคประชาชนปฏิวัติลาว (ลาว: ພັກປະຊາຊົນປະຕິວັດລາວ; ฝรั่งเศส: Parti révolutionnaire populaire lao; อังกฤษ: Lao People's Revolutionary Party, อักษรย่อ: LPRP) เป็นพรรคการเมืองที่ก่อตั้งและบริหารประเทศลาวในปัจจุบัน

ประวัติ

[แก้]

ภูมิหลัง ก่อตั้ง และการปฏิวัติประชาธิปไตยแห่งชาติ (ค.ศ. 1945–1975)

[แก้]

พรรคที่มีมาก่อน LPRP คือพรรคคอมมิวนิสต์อินโดจีน (ICP) [1] ซึ่งก่อตั้งโดยผู้นำเวียดนามโฮจิมินห์ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1930 เพื่อก่อตั้งองค์การคอมมิวนิสต์สากล (โคมินเทิร์น)[1] ทาง ICP มีเป้าที่ "จะขจัดระบอบศักดินา เพื่อแจกจ่ายที่ดินให้ผู้ไถนา เพื่อโค่นระบอบจักรวรรดินิยม และทำให้อินโดจีนเป็นเอกราช"[1] เนื่องจากสมาชิกส่วนใหญ่เป็นชาวเวียดนาม ทำให้เดิม ICP มีชื่อว่า "พรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม"[1] ซึ่งเปลี่ยนชื่อเพราะความไม่พอใจของโคมินเทิร์นต่อองค์การที่มีความเป็นชาตินิยมเวียดนาม[1] และความเชื่อที่ว่า แรงงานในเวียดนาม กัมพูชา และลาว มีความคล้ายคลังกันมากกว่า[1] ถึงกระนั้น พรรค ICP ยังคงอยู่จนกระทั่งยุบตัวลงอย่างเป็นทางการในวันที่ 11 พฤษจิกายน ค.ศ. 1945[1] ในตอนนั้น กลุ่ม ICP ไม่เคยมีสมาชิกเป็นชาวลาวหรือกัมพูชาเลย[1] ทำให้ใน ค.ศ. 1946 มีการจัดตั้ง ICP ใต้ดินเพื่อรับเลือกกลุ่มแกนนำคอมมิวนิสต์ชาวลาว[1] อย่างไรก็ตาม การไม่มีตัวแทนชาวลาวใน ICP ใต้ดินยังคงสร้างปัญหา และในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1951 มีสมาชิก 81 คนจาก 2,091 คนที่เป็นชาวลาว[2]

ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1951 ICP ใต้ดินได้จัดงานสภาแห่งชาติครั้งที่ 2 และเปลี่ยนชื่อเป็นพรรคแรงงานเวียดนาม (WPV)[3] หลังจากนั้น พันธมิตรเวียด-ลาว-เขมรได้ประกาศความมุ่งมั่นที่จะสู้ต่อลัทธิอาณานิคมฝรั่งเศสและจักรวรรดินิยมอเมริกัน[3] ใน ค.ศ. 1952 ทาง WPV ได้จัดตั้งคณะกรรมการองค์การพรรคที่มีสมาชิกห้าคน: ไกสอน พมวิหาร (ในฐานะเลขาธิการ), หนูฮัก พูมสะหวัน, สีสะหวาด แก้วบุนพัน, บุน พูมมะหาไซ และคำเสน[4][3] สองปีต่อมา มีการจัดตั้งหน่วยลับคอมมิวนิสต์ทั่วลาว และในวันที่ 22 มีนาคม ค.ศ. 1955 ได้มีการก่อตั้งสภาและพรรคประชาชนลาว (LPP)[5] อย่างไรก็ตาม ใช่ว่าทุกอย่างจะเป็นไปตามแผน และ LPP เกือบถูกกำจัดจากการปราบปรามของรัฐบาลใน ค.ศ. 1959[5] เวียดนามเหนือเพิ่มการสนับสนุน LPP และปะเทดลาว[6] และในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1960 พรรคนี้ได้ควบคุมเกือบครึ่งประเทศ[6]แม้ว่าจะเป็นแกนหลักในการก่อกำเริบใน ค.ศ. 1955 ถึง 1975 พรรคนี้ยังคงเป็นตนเองเป็นความลับ โดยมีชาวลาวเพียงไม่กี่คนที่รู้ว่ามีพรรคหรือชื่อหัวหน้าพรรคในช่วงนั้น[7]

ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1973 หลังมีสงครามเป็นเวลาหลายปี มีการละเมิดสัญญาสงบศึกของรัฐบาลราชอาณาจักรลาว[8] ซึ่งคล้ายกับการคลี่คลายในเวียดนามใต้ใน ค.ศ. 1974 ถึง 1975 รัฐบาลราชอาณาจักรลาวเผชิญกับการก่อกบฏหลายครั้ง[9] ทำให้พรรคนี้ ซึ่งคือปะเทดลาว ควบคุมถนนที่มีเส้นทางไปที่เวียงจันทน์ ซึ่งตัดขาดเสบียงไปยังเมืองหลวง[9] ในช่วงเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม มีการประท้วงต่อต้านรัฐบาลทั่วเมืองเวียงจันทน์ ทำให้มีรัฐมนตรี 5 คนลาออก[10] รัฐบาลจึงจัดการเลือกตั้งใน ค.ศ. 1976 ซึ่งเป็นความพยายามในการรักษาพระมหากษัตริย์ครั้งสุดท้าย[11] ในวันที่ 26 พฤศจิกายน ตัวแทนพรรคประชาชนปฏิวัติลาวสามารถทำให้พระมหากษัตริย์สละทรัพย์สินส่วนพระองค์และสละราชสมบัติ"ด้วยความสมัครใจ"[12] ทำให้พรรคนี้ได้จัดการประชุมสภาผู้แทนราษฎรแห่งชาติในวันที่ 1–2 ธันวาคม ค.ศ. 1975 สภานี้ประกาศยุบราชอาณาจักรลาว ก่อตั้งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชชนลาว และประกาศสิ้นสุดสงครามที่ดำรงเป็นเวลา 30 ปี[11]

พรรคการเมืองที่ปกครอง (ค.ศ. 1975–ปัจจุบัน)

[แก้]

หลังรัฐบาลกษัตริย์ล่มสลาย และการยึดครองของพวกคอมมิวนิสต์ทำให้เกิดการย้ายถิ่นฐาน[13] และใน ค.ศ. 1980 ร้อยละ 10 ของประชากรได้หนีออกจากประเทศแล้ว[14] ในช่วงที่ได้อำนาจแรก ๆ พรรคนี้ยังคงอยู่แบบลับ ๆ[14] เช่น ในตอนนั้นผู้คนส่วนใหญ่ไม่รู้จักไกสอน พมวิหาน เลขาธิการทั่วไป LPRP[14] รัฐบาลใหม่ได้ปิดองค์กรข่าวอิสระอย่างรวดเร็ว[15] ส่วนองค์กรที่ไม่ถูกยุบจะถูกบังคับให้เข้าร่วมเป็นสมาชิกแนวลาวส้างซาด (LFNC) องค์กรมวลชนที่ควบคุมโดย LPRP[16]

ใน ค.ศ. 1978 ทาง LPRP ยังดำเนินการเปลี่ยนแปลงทางสังคมผ่านการเกษตรแบบนารวม[17] เป้าหมายหลักสองอย่างของวิธีการทำนารวมคือ (1) ยกเลิกทรัพย์สินส่วนบุคคลในพื้นที่ชนบท และ (2) สร้างความเข้มแข็งทางการเมืองในพื้นที่ที่รัฐบาลราชอาณาจักรลาวเคยควบคุม[18] แต่ผลที่ออกมากลับตรงกันข้าม การทำนารวมดำเนินการไปได้ยาก และมีการต่อต้านนโยบายนี้ในบางพื้นที่[18] ผลที่ตามมา ทำให้คณะกรรมการกลาง LPRP ยกเลิกการทำนารวมใน ค.ศ. 1981[19] แล้วไปใช้เครื่องมือการเกษตรที่ทันสมัยเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจ[20] ใน ค.ศ. 1988 ไกสอน พมวิหารยอมรับว่าการทำนารวมเป็นความล้มเหลว[20] สองปีต่อมา ใน ค.ศ. 1990 สหกรณ์การเกษตรทั้งหมดล่มสลายไปจนเกือบหมด[21]

การล่มสลายของคอมมิวนิสต์ในยุโรปส่งผลกระทบมาที่ลาวอย่างหนัก[22] นักศึกษาบางคนเริ่มวิจารณ์อำนาจของพรรค และเริ่มเรียกร้องให้นำระบบหลายพรรคมาใช้[22] พรรคประชาชนปฏิวัติลาวไม่ได้เปลี่ยนระบบ และทองสุก ไซสังคี (Thongsouk Saisangkhi) ร่วมกับLatsami Khamphoui รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเศรษฐกิจและการวางแผน กับPheng Sakchittaphong เจ้าหน้าที่กระทรวงยุติธรรมถูกจับในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1990 และถูกตัดสินจำคุกเป็นเวลา 14 ปีในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1992[22] หลังจากนั้นในปีเดียวกัน การใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งกล่าวว่าประเทศลาวเป็นเผด็จการประชาธิปไตยของปวงชนภายใต้การปกครองของ LPRP[23]

การบริหารของพรรคและรัฐยังคงทนมาตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1980[24] หลังดำรงตำแหน่งเลขาธิการทั่วไปพรรคเป็นเวลา 14 ปี คำไต สีพันดอนลาออกใน ค.ศ. 2006 และจูมมะลี ไซยะสอนดำรงตำแหน่งต่อ 10 ปี[25] ใน ค.ศ. 2016 บุนยัง วอละจิดดำรงตำแหน่งนี้จนถึง ค.ศ. 2021[26] ปัจจุบัน ผู้ดำรงตำแหน่งนี้คือทองลุน สีสุลิด[27]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]

จำเพาะ

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 1.7 1.8 Zasloff 1973, p. 12.
  2. Stuart-Fox 2008a, p. 136.
  3. 3.0 3.1 3.2 Zasloff 1973, p. 13.
  4. Stuart-Fox 2008, p. 66.
  5. 5.0 5.1 Zasloff 1973, p. 14.
  6. 6.0 6.1 Zasloff 1973, pp. 14–5.
  7. "Lao People's Revolutionary Party - LPRP". Library of Congress. สืบค้นเมื่อ 15 January 2021.
  8. Brown & Zasloff 1976, p. 193.
  9. 9.0 9.1 Brown & Zasloff 1976, p. 194.
  10. Brown & Zasloff 1976, p. 195.
  11. 11.0 11.1 Brown & Zasloff 1976, p. 197.
  12. Brown & Zasloff 1976, pp. 196–7.
  13. Stuart-Fox 2008a, pp. 176–7.
  14. 14.0 14.1 14.2 Stuart-Fox 2008a, p. 177.
  15. Stuart-Fox 2008a, p. 178.
  16. Stuart-Fox 2008a, p. 179.
  17. Stuart-Fox 2008a, p. 191.
  18. 18.0 18.1 Stuart-Fox 2008a, p. 193.
  19. Stuart-Fox 2008a, p. 194.
  20. 20.0 20.1 Stuart-Fox 2008a, p. 195.
  21. Stuart-Fox 2008a, p. 196.
  22. 22.0 22.1 22.2 Stuart-Fox 2008a, p. 200.
  23. Stuart-Fox 2008a, p. 201.
  24. Wescott 2003, p. 246.
  25. Gunn 2007, p. 183–4.
  26. Gunn 2017, p. 206.
  27. "Laos Communist Party names PM Thongloun as new leader". Reuters. 15 January 2021. สืบค้นเมื่อ 15 January 2021.

บรรณานุกรม

[แก้]

หนังสือ:

  • Wescott, Clay (2003). "Combating Corruption in Southeast Asia". ใน Frank-jurgen Richter & John Kidd (บ.ก.). Fighting Corruption In Asia: Causes, Effects And Remedies. World Scientific. ISBN 978-9814486934.
  • Son, Bui Ngoc (2020). Constitutional Change in the Contemporary Socialist World. Oxford University Press. ISBN 978-0198851349.
  • Stuart-Fox, Martin (2002). Buddhist Kingdom, Marxist State: The Making of Modern Laos (2nd ed.). University of Michigan. ISBN 978-9748496481.
  • Stuart-Fox, Martin (2008a). A History of Laos (2nd ed.). Cambridge University Press. ISBN 978-0521597463.
  • Stuart-Fox, Martin (2008b). Historical Dictionary of Laos. Scarecrow Press. ISBN 978-0-81086-411-5.
  • ไมเคิล ลีเฟอร์. พจนานุกรมการเมืองสมัยใหม่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กทม. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 2548

วิทยานิพนธ์:

วารสาร:

รายงาน:

pFad - Phonifier reborn

Pfad - The Proxy pFad of © 2024 Garber Painting. All rights reserved.

Note: This service is not intended for secure transactions such as banking, social media, email, or purchasing. Use at your own risk. We assume no liability whatsoever for broken pages.


Alternative Proxies:

Alternative Proxy

pFad Proxy

pFad v3 Proxy

pFad v4 Proxy