ข้ามไปเนื้อหา

รามลีลา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การแสดงรามลีลาที่ป้อมแดง

รามลีลา (สันสกฤต: रामलीला, อักษรโรมัน: Rāmalīlā) เป็นการแสดงนาฏกรรมที่บอกเล่าเรื่องราวชองพระรามจากรามายณะ หรือจากวรรณกรรมทุติยภูมิที่มีที่มาจากรามายณะ เช่น รามจริตมนัส[1] คำว่ารามลีลานี้มีความหมายกว้าง และสามารถใช้เรียกการแสงนาฏศิลป์เกี่ยวกับพระรามจำนวนมาก[2] ที่จัดแสดงในระหว่างเทศกาลเฉลิมฉลองนวราตรีในประเทศอินเดีย[3] หลังเสร็จการแสดงอันบอกเล่าเรื่องราวของชัยชนะของความดีเหนือความชั่ว รามรีลาจะเฉลิมฉลองจุดสูงสุดในคืนวิชัยทศมิ ที่ซึ่งหุ่นจำลองขนาดใหญ่รูปอสูร เช่น รากษส หรือทศกัณฐ์ นำมาเผาด้วยไฟหรือด้วยพลุ[4][5]

พระรามเป็นอวตารปางที่เจ็ดของพระวิษณุตามคติศาสนาฮินดูและเป็นตัวละครหลักกลางในรามายณะ มหากาพย์ภาษาสันสกฤตที่ผสมผสานการแสดงนาฏกรรมเข้ากับเนื้อเรื่องที่ขับเคลื่อนด้วยคุณค่าทางจริยธรรม รามลีลาเป็นการดัดแปลงมาจากเรื่องราวในมหากาพย์นี้ รามลีลาส่วนใหญ่ในอินเดียเหนือมีรากฐานมาจากวรรณกรรรมทุติยภูมิที่มีที่มาจากรามายณะอีกที ซึ่งคือ รามจริตมนัส เขียนขึ้นในศตวรรษที่ 16 ด้วยภาษาพื้นถิ่นอวัธ ซึ่งมีความสัมพันธ์ใกล้เคียงกับภาษาฮินดี[6]) โดยตุลสีทาส[4][7]

รามลีลาได้รับการขึ้นทะเบียนโดยยูเนสโกให้เป็นหนึ่งในมรดกโลกที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติในปี 2008 เมืองที่มีความสำคัญทางศาสนาฮินดู เช่น อโยธยา, พาราณสี, วฤนทาวัน, อัลโมรา, สัตนะ และ มธุพานี ล้วนมีรามลีลาที่มีความโดดเด่นและมีชื่อเสียง[4][8] รามลีลายังแพร่หลายมาเป็นส่วนหนึ่งหรือมีอิทธิพลซึ่งนาฏกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะในชุมชนฮินดูของบาหลี, พม่า, กัมพูชา และประเทศไทย[9] และหลังการอพยพย้ายถิ่นฐานของชาวอินเดียในศตวรรษที่ 19-20 ไปยังยุโรปและพื้นที่อื่น ๆ ของโลก การเฉลิมฉลองรามลีลาได้แพร่หลายและพบได้ในบริเวณอื่น ๆ ของโลก เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย ตอลดจนฟีจี กายอานา แอฟริกาใต้ สหรัฐ แคนาดา สหราชอาณาจักร เป็นต้น[10]

อ้างอิง

[แก้]
  1. James G. Lochtefeld 2002, p. 389.
  2. Schechner, Richard; Hess, Linda (1977). "The Ramlila of Ramnagar [India]". The Drama Review: TDR. The MIT Press. 21 (3): 51–82. doi:10.2307/1145152. JSTOR 1145152.
  3. Encyclopedia Britannica.
  4. 4.0 4.1 4.2 Ramlila, the traditional performance of the Ramayana, UNESCO
  5. Ramlila Pop Culture India!: Media, Arts, and Lifestyle, by Asha Kasbekar. Published by ABC-CLIO, 2007. ISBN 1-85109-636-1. Page 42.
  6. Jennifer Lindsay (2006). Between Tongues: Translation And/of/in Performance in Asia. National University of Singapore Press. pp. 12–14. ISBN 978-9971-69-339-8.
  7. Constance Jones & James D. Ryan 2006, p. 457.
  8. James G. Lochtefeld 2002, pp. 561–562.
  9. Mandakranta Bose (2004). The Ramayana Revisited. Oxford University Press. pp. 342–350. ISBN 978-0-19-516832-7.
  10. Ramlila – The traditional performance of Ramayana – Part I & II Indira Gandhi National Centre for the Arts

บรรณานุกรม

[แก้]
pFad - Phonifier reborn

Pfad - The Proxy pFad of © 2024 Garber Painting. All rights reserved.

Note: This service is not intended for secure transactions such as banking, social media, email, or purchasing. Use at your own risk. We assume no liability whatsoever for broken pages.


Alternative Proxies:

Alternative Proxy

pFad Proxy

pFad v3 Proxy

pFad v4 Proxy