ศาสนาในประเทศอิรัก
ศาสนาในประเทศอิรักส่วนใหญ่เป็นมุสลิม ซึ่งแบ่งออกเป็นสองลักธิหลักคือ ชีอะฮ์และซุนนี รายงานจากเดอะเวิลด์แฟกต์บุ๊กของซีไอเอ ร้อยละ 95 ถึง 98 ของประชากรเป็นมุสลิม[2]
รองจากนี้คือศาสนาคริสต์, การผสานความเชื่อทางศาสนาแบบลัทธิยาซีดี, ศาสนามันดาอี, ลัทธิชะบัก และลัทธิยาร์ซาน
อิสลาม
[แก้]มุสลิมในประเทศอิรักนับถือศาสนาอิสลามสองแบบคือ ชีอะฮ์และซุนนี รายงานจากเดอะเวิลด์แฟกต์บุ๊กของซีไอเอ ร้อยละ 99 ของชาวอิรักเป็นมุสลิม: อิรักเป็นที่ตั้งของสถานที่สำคัญทางศาสนาหลายแห่งทั้งซุนนีและชีอะฮ์ แบกแดดเคยเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ศาสนาอิสลามเป็นเวลาหลายศตวรรษและทำหน้าที่เป็นเมืองหลวงของรัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์ เมืองกัรบะลาอ์โดดเด่นในกลุ่มชีอะฮ์จากผลของยุทธการที่กัรบะลาอ์ ซึ่งเริ่มในวันที่ 10 ตุลาคม ค.ศ. 680 เช่นเดียวกันกับนาจาฟที่โดดเด่นจากการเป็นที่ฝังศพของอะลี อิบน์ อะบีฏอลิบ (หรือ"อิหม่ามอะลี") ที่ชาวกูฟะฮ์ทรยศและฆ่าท่าน ชีอะฮ์ถือว่าอะลีเป็นเคาะลีฟะฮ์ที่เที่ยงธรรมและเป็นอิหม่ามคนแรก ปัจจุบันตัวเมืองเป็นศูนย์กลางขนาดใหญ่สำหรับผู้แสวงบุญจากทั่วโลกชีอะฮ์ แม้ว่าจะมีการโต้แย้งเรื่องสุสานของท่าน และมีการประมาณการว่ามีแค่มักกะฮ์และมะดีนะฮ์เท่านั้นที่สามารถรับผู้แสวงบุญได้ เมืองกูฟะฮ์เป็นบ้านเกิดของอะบูฮะนีฟะฮ์ นักวิชาการซุนนี เช่นเดียวกันกับซามัรรออ์ที่เป็นที่ตั้งของมัสยิดอัลอัสกะรี ซึ่งมีสุสานของอะลี อัลฮาดีกับฮะซัน อัลอัสกะรี อิหม่ามคนที่ 10 กับ 11 ตามลำดับ กับศาลเจ้ามุฮัมมัด อัลมะฮ์ดี ซึ่งเป็น"อิหม่ามซ่องเร้น" ผู้เป็นอิหม่ามคนที่ 12 และคนสุดท้ายของชีอะฮ์มัซฮับญะอ์ฟารี นอกจากนี้ ญาติฝ่ายหญิงของศาสดามุฮัมมัดถูกฝังที่ซามัรรออ์ด้วย ทำให้ตัวเมืองมีสถานที่สำคัญทั้งฝ่ายชีอะฮ์กับซุนนี
นอกจากนี้ยังมีลัทธิขนาดเล็กนประเทศนี้ด้วย เช่นชัยคียะฮ์ของชีอะฮ์ในบัสรากับกัรบะลาอ์
เคิร์ด
[แก้]ร้อยละ 98 ของชาวอิรักเชื้อสายเคิร์ดเป็นมุสลิม โดยเป็นชีอะฮ์เฟย์ลีร้อยละ 2[3] ส่วนใหญ่อาศัยอยูทางเหนือของประเทศ ชาวอิรักเชื้อสายเคิร์ดส่วนใหญ่นับถือมัซฮับชะฟิอี ในขณะที่บางส่วนนัับถือมัซฮับกอดิรียะฮ์หรือนักชะบันดี[4]
เติร์กเมน/เตอร์โกแมน
[แก้]ชาวอิรักเชื้อสายเติร์กเมนประมาณร้อยละ 75 เป็นมุสลิมนิกายซุนนี ส่วนประมาณร้อยละ 25 เป็นชีอะฮ์[5][6] โดยรวมแล้ว ชาวอิรักเชื้อสายเติร์กเมนส่วนใหญ่เป็นฆราวาส[5] ปัจจัยทางศาสนาและชนเผ่าในวัฒนธรรมการเมืองอิรักไม่ส่งผลทั่งฝ่ายซุนนีและชีอะฮ์[7]
คริสต์
[แก้]ศาสนาคริสต์เริ่มเข้ามาในประเทศอิรักใน ค.ศ. 40 โดยโธมัสอัครทูต, ธัดแดอุสแห่งเอเดซซา กับอักกากีและมารี ศิษย์ของท่าน โธมัสกับธัดแดอุสเป็นสองในสิบสองอัครทูตของพระเยซู[8] ชาวอัสซีเรียมีเกือบร้อยละ 3 ของประชากรทั้งหมด (แฟกต์บุ๊กของซีไอฉบับแรก ๆ) ส่วนใหญ่อยู่ในอิรักตอนเหนือ ปัจจุบันไม่มีการบันทึกสถิติทางการ โดยใน ค.ศ. 1950 มีชาวคริสต์ร้อยละ 10–12 ของประชากร 5.0 ล้านคน จนกระทั่งมีชาวคริสต์ 1.5 ล้านคนจากประชากร 26 ล้านคนใน ค.ศ. 2003 นับตั้งแต่สงครามอิรักใน ค.ศ. 2003 ก็ไมมีการทำสำมะโนอีกเลย โดยมีชาวคริสต์ในอิรักประมาณ 1.2–2.1 ล้านคน
ปัจจุบันชาวคริสต์ในประเทศอิรักมีอยู่ 4 นิกาย:
- "แคลเดีย" (โรมันคาทอลิกแคลเดีย)
- "อัสซีเรีย"หรือ"เนสโตเรีย" (คริสตจักรอัสซีเรียตะวันออก และคริสตจักรตะวันออกโบราณ)
- "ซีรีแอกตะวันตก" หรือ "ยาโคไบต์" (คริสต์จักรออร์ทอดอกซ์ซีรีแอก)
- "ออร์ทอดอกซ์ตะวันออก" (อาร์ชไดโอซีนแห่งแบกแดด อยู่ภายใต้การปกครองของคริสตจักรออร์ทอดอกซ์กรีกแห่งแอนติออก)
ลัทธิยาซีดี
[แก้]ยาซีดีเป็นกลุ่ม[9]ที่มีผู้นับถือมากกว่า 650,000 คน โดยมีเมืองโมซูลเป็นเมืองศักดิ์สิทธิ์ ศาลเจ้าศักดิ์สิทธิ์ของยาซีดีคือชัยค์อะดีที่เนโครโปลิส ลาลิช
โซโรอัสเตอร์
[แก้]ศาสนาโซโรอัสเตอร์เคยเป็นหนึ่งในศาสนาที่มีผู้นับถือมากในเคอร์ดิสถานก่อนที่ศาสนาอิสลามจะมาที่นี่ ปัจจุบัน[10] ศาสนาโซโรอัสเตอร์เป็นศาสนาที่ได้รับการยอมรับในเคอร์ดิสถานในประเทศอิรักและประเทศอิหร่าน
โซโรอัสเตอร์เป็นศาสนาเติบโตเร็วสุดในชาวเคิร์ด โดยเฉพาะในภาคเหนือของประเทศอิรัก[11] เพราะพันธะทางศาสนากับวัฒนธรรมเคิร์ด และในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2015 รัฐบาลภูมิภาคเคอร์ดิสถานยอมรับศาสนาโซโรอัสเตอร์เป็นศาสนาในเคอร์ดิสถานส่วนประเทศอิรัก[12] รายงานจากยัสนา สมาคมที่สนับสนุนศาสนาโซโรอัสเตอร์ในเคอร์ดิสถาน ตั้งแต่ ค.ศ. 2014 มีผู้เข้าร่วมมูลนิธิประมาณ 15,000 คน ส่วนใหญ่เป็นชาวเคิร์ดที่เคยนับถือศาสนาอิสลาม[13][14][15] ชาวอิรักในเคอร์ดิสถานเริ่มเข้ารีตจากอิสลามไปนับถือศาสนาโซโรอัสเตอร์ตั้งแต่ ค.ศ. 2015 ้เป็นต้นมา โดยมีการสร้างวิหารไฟแรกที่เปิดตัวใน ค.ศ. 2016[16]
ชาวเคิร์ดหลายคนหันไปนับถือศาสนาโซโรอัสเตอร์ โดยเฉพาะหลังจากการโจมตีเคอร์ดิสถานของไอซิล[17][18] การที่มุสลิมชาวเคิร์ดเปลี่ยนมานับถือศาสนาโซโรอัสเตอร์มากขึ้น ความเชื่อจากบรรพบุรุษของพวกเขา ส่วนใหญ่มาจากความหมดหวังต่อศาสนาอิสลามหลังจากการก่อความรุนแรงและความป่าเถื่อนที่เตรียมการโดยกลุ่มก่อการร้ายรัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์เป็นเวลาหลายปี[19][20]
ในวันที่ 21 กันยายน ค.ศ. 2016 มีการเปิดตัววิหารไฟของเคอร์ดิสถานในประเทศอิรักแห่งแรกที่อัซซุลัยมานียะฮ์ ผู้เข้าร่วมฉลองด้วยการจุดไฟพิธีและตีกลอง[21]
ไม่มีการนับจำนวนผู้นับถือศาสนาโซโรอัสเตอร์อย่างถูกต้อง เพราะเอกสารรัฐบาลมักใส่ชื่อพวกเขาเป็น"มุสลิม"แทน[22]
ศาสนามันเดอี
[แก้]ศาสนามันดาอีเป็นศาสนาที่นับถือโดยชาวมันดาอีทางใต้ของอิรัก รายงานจากฮาวัน กาไวตา มีข้อความกล่าวถึงประวัติศาสตร์ของชาวมันดาอี โดยพวกเขามาที่จักรวรรดิพาร์เธียในรัชสมัยอาร์ธาบานุสที่ 2 และต่อมาค่อยอพยพไปที่บาบิโลเนียใต้[23][24] อย่างไรก็ตาม ชาวมันดาอีเชื่อว่าศาสนาของตนมีมาก่อนศาสนายูดาห์และคริสต์ โดยสามารถสืบไปได้ถึงศาสดาอาดัม[25] มีชาวมันดาอีอาศัยอยู่ในประเทศอิรักประมาณ 60,000 คนก่อนสงครามอิรักใน ค.ศ. 2003 [26][27]
ยูดาห์
[แก้]ศาสนายูดาห์เริ่มมาที่อิรักในรัชสมัยของกษัตริย์บาบิโลน พระเจ้าเนบูคัดเนสซาร์ที่ 2 หลังสงครามหกวันในประเทศอิสราเอล การก่อกบฏทำให้ชาวยิวเริ่มอพยพออกไป ปัจจุบันมีชาวยิวในแบกแดดประมาณ 8 คน (2007),[28] 7 คน (2008)[29] และ 5 คน (2013) [ต้องการอ้างอิง] ในสถานีกองทัพสหรัฐที่ประเทศอิรัก มีอนุศาสนาจารย์ยิวเพียงแค่ 3 คนเท่านั้น[30]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ https://www.cia.gov/the-world-factbook/countries/iraq/
- ↑ "The World Factbook". CIA.
- ↑ Szanto, Edith (2020), Lukens-Bull, Ronald; Woodward, Mark (บ.ก.), "Islam in Kurdistan: Religious Communities and Their Practices in Contemporary Northern Iraq", Handbook of Contemporary Islam and Muslim Lives (ภาษาอังกฤษ), Cham: Springer International Publishing, pp. 1–16, doi:10.1007/978-3-319-73653-2_88-1, ISBN 978-3-319-73653-2, สืบค้นเมื่อ 2020-12-09
- ↑ Szanto, Edith (2020), Lukens-Bull, Ronald; Woodward, Mark (บ.ก.), "Islam in Kurdistan: Religious Communities and Their Practices in Contemporary Northern Iraq", Handbook of Contemporary Islam and Muslim Lives (ภาษาอังกฤษ), Cham: Springer International Publishing, pp. 1–16, doi:10.1007/978-3-319-73653-2_88-1, ISBN 978-3-319-73653-2, สืบค้นเมื่อ 2020-12-09
- ↑ 5.0 5.1 Oğuzlu, Tarik H. (2004), "Endangered community:The Turkoman identity in Iraq", Journal of Muslim Minority Affairs, Routledge, 24 (2): 313
- ↑ Jawhar, Raber Tal'at (2010), "The Iraqi Turkmen Front", ใน Catusse, Myriam; Karam, Karam (บ.ก.), Returning to Political Parties?, The Lebanese Center for Policy Studies, pp. 313–328, ISBN 1-886604-75-4
- ↑ Oğuzlu 2004, 314.
- ↑ Suha Rassam. Christianity in Iraq. Gracewing Publications. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-21.
- ↑ "Yezidi Identity Politics and Political Ambitions in the Wake of the ISIS Attack". Journal of Balkan and Near Eastern Studies. 20 (5): 427. 2018. doi:10.1080/19448953.2018.1406689.
- ↑ Stewart, Sarah; Hintze, Almut; Williams, Alan (2016). The Zoroastrian Flame: Exploring Religion, History and Tradition. London: I.B Tauris. ISBN 9781784536336.
- ↑ Szanto, Edith (2018-05-15). ""Zoroaster was a Kurd!": Neo-Zoroastrianism among the Iraqi Kurds". Iran and the Caucasus. 22 (1): 96–110. doi:10.1163/1573384X-20180108. ISSN 1609-8498.
- ↑ PS21 (2015-11-26). "The curious rebirth of Zoroastrianism in Iraqi Kurdistan". PS21. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-04-17. สืบค้นเมื่อ 2017-04-17.
- ↑ www.israelhayom.com https://www.israelhayom.com/2020/10/02/zoroastrians-make-comeback-in-northern-iraq-but-still-face-stigma/. สืบค้นเมื่อ 2020-10-20.
{{cite web}}
:|title=
ไม่มีหรือว่างเปล่า (help) - ↑ "Zoroastrian faith returns to Kurdistan in response to ISIS violence". Rudaw. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-04-17. สืบค้นเมื่อ 2017-04-17.
- ↑ "Hamazor Issue #2 2017: "Kurdistan reclaims its ancient Zoroastrian Faith" (PDF). Hamazor. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-30.
- ↑ "Converts must die: Kurdistan's Zoroastrians outraged by Islamic preacher". Rudaw. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-04-17. สืบค้นเมื่อ 2017-04-17.
- ↑ "Head of Zoroastrian temple says people are returning to their roots". Rudaw. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-27.
- ↑ "Zoroastrianism in Iraq seeks official recognition - Al-Monitor: the Pulse of the Middle East". Al-Monitor. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-16.
- ↑ "Iraqi Kurds turn to Zoroastrianism as faith, identity entwine". France24. 23 October 2019.
- ↑ Fatah, Lara. "The curious rebirth of Zoroastrianism in Iraqi Kurdistan". Projects 21. สืบค้นเมื่อ 14 October 2020.
- ↑ "Hopes for Zoroastrianism revival in Kurdistan as first temple opens its doors". Rudaw. 2016-09-21. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-09-26. สืบค้นเมื่อ 2016-10-08.
- ↑ "Zoroastrianism in Iraq seeks official recognition". Al-Monitor (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2016-02-17. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-04-08. สืบค้นเมื่อ 2017-04-17.
- ↑ Buckley, Jorunn Jacobsen. The Mandaeans: Ancient Texts and Modern People. Oxford University Press, 2002.p4
- ↑ Buckley, Jorunn Jacobsen(2010). Turning the Tables on Jesus: The Mandaean View. In Horsley, Richard (March 2010). Christian Origins. ISBN 9781451416640.(pp94-11). Minneapolis: Fortress Press
- ↑ "The People of the Book and the Hierarchy of Discrimination".
- ↑ Iraqi minority group needs U.S. attention เก็บถาวร 2007-10-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Kai Thaler, Yale Daily News, 9 March 2007.
- ↑ "Save the Gnostics" by Nathaniel Deutsch, 6 October 2007, New York Times.
- ↑ "The Last Jews of Baghdad". Time. July 27, 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 12, 2011.
- ↑ Baghdad Jews Have Become a Fearful Few เก็บถาวร 2017-11-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, The New York Times
- ↑ "American Soldiers in Iraq Enlist in a Different Kind of Service". Jewish Daily Forward. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-07-12.