ข้ามไปเนื้อหา

สกังก์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สกังก์
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: สมัยไมโอซีนตอนกลาง–ปัจจุบัน
สกังก์ลายแถบ (Mephitis mephitis) เป็นสกังก์ที่เป็นที่รู้จักกันดีที่สุดและนิยมเป็นสัตว์เลี้ยง
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Carnivora
อันดับย่อย: Caniformia
วงศ์ใหญ่: Musteloidea
วงศ์: Mephitidae
Bonaparte, 1845
สกุล
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์
ชื่อพ้อง[1][2]
  • Mephitinae Bonaparte, 1845
  • Myadina Gray, 1825
  • Mydaina Gray, 1864

สกังก์ (อังกฤษ: skunk) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกินเนื้อ ที่อยู่ในวงศ์ Mephitidae

สกังก์เดิมเคยถูกจัดให้อยู่ในวงศ์เดียวกับวงศ์เพียงพอน (Mustelidae) ซึ่งเป็นวงศ์ของสัตว์กินเนื้อขนาดเล็กจำนวนมาก เช่น วีเซล, มาร์เทิน, หมาหริ่ง, หมูหริ่ง, แบดเจอร์ ซึ่งสกังก์เคยถูกเป็นวงศ์ย่อยใช้ชื่อว่า Mephitinae[1] แต่ปัจจุบันได้มีการศึกษาทางพันธุศาสตร์พบว่าสกังก์ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับวงศ์เพียงพอน จึงแยกออกมาเป็นวงศ์ต่างหาก[3][4]

ลักษณะ

[แก้]

โดยทั่วไปแล้ว สกังก์จะมีขนาดลำตัวยาวตั้งแต่ 40 เซนติเมตร ถึง 70 เซนติเมตร และน้ำหนักที่มีตั้งแต่ 0.5 กิโลกรัม ถึง 10 กิโลกรัม แตกต่างออกไปตามแต่ชนิด มีร่างกายที่ยาวพอสมควร มีขาที่ล่ำสัน และมีกรงเล็บหน้าที่ยาวซึ่งทำให้สามารถขุดดินได้เป็นอย่างดี มีขนหางยาวฟูเป็นพวง สีของขนที่พบได้มากที่สุด คือ สีดำที่มีริ้วเป็นสีขาวคล้ายรูปตัววี สกังก์ทุกตัวจะมีริ้วลายตั้งแต่เกิด ถึงแม้ว่ารูปแบบของริ้วลายจะแตกต่างกันออกไปโดยขึ้นอยู่กับชนิด ในฤดูหนาวสกังก์จะไม่จำศีลแต่จะเคลื่อนไหวน้อยลง[5]

สกังก์มีประสาทสัมผัสการดมและการได้ยินที่ดีเยี่ยม ทว่ามีประสาทสายตาที่แย่ และเมื่อหลงทางไม่สามารถจดจำทางถิ่นที่อยู่ของตนเองได้ [6]

สกังก์เป็นสัตว์ที่กินอาหารได้หลากหลายทั้งพืชและสัตว์ เป็นสัตว์ที่หากินในเวลากลางคืน แต่ส่วนมากแล้วจะกินเนื้อสัตว์ เช่น ไส้เดือน, หนอน, ดักแด้, หอยทาก และสัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็ก หากมีความจำเป็นยังกินผลไม้ป่าและเมล็ดพืชต่าง ๆ ได้อีกด้วย โดยจะอาศัยอยู่ในสภาพแลดล้อมที่เป็นทุ่งหญ้าโล่งหรือป่าละเมาะ และอาจจะเข้ามาอาศัยอยู่ในชุมชนเมืองของมนุษย์ได้ เช่น เข้าไปอยู่ในท่อระบายน้ำหรือโพรงที่ผู้ขุดไว้ ถือว่าเป็นสัตว์รังควานจำพวกหนึ่ง[5]

การป้องกันตัว

[แก้]

สกังก์เป็นสัตว์ที่ขึ้นชื่อในเรื่องการป้องกันตัว ด้วยการฉีดสารเคมีสีเหลืองที่มีกลิ่นฉุนมาก ตลบอบอวลไปในอากาศได้เป็นเวลานาน ซึ่งสารเคมีนี้ปล่อยมาจากต่อมลูกกลมคล้ายลูกองุ่น 2 ต่อมใกล้ก้น เมื่อสกังก์จะปล่อยจะใช้กล้ามเนื้อบีบพ่นออกมา ซึ่งสามารถพุ่งได้ไกลถึง 25 ฟุต[6] แม้จะหันหลังให้ก็ตาม แต่ก็สามารถปล่อยได้แม่นยำโดยเฉพาะใส่บริเวณใบหน้าและดวงตาของผู้รุกราน ซึ่งมีฤทธิ์ทำให้รู้สึกแสบร้อน และตาบอดไปชั่วขณะ เพื่อที่สกังก์จะได้มีเวลาหนี แต่ก็ไม่สามารถใช้ได้กับสัตว์นักล่าทุกประเภท เช่น นกเค้าใหญ่ซึ่งไม่มีประสาทดมกลิ่นและจู่โจมเหยื่อส่วนหลังจากบนอากาศอย่างเงียบเฉียบ และหากสกังก์ปล่อยสารเคมีนี้แล้ว ต้องใช้เวลานานถึง 10 วัน ที่จะผลิตสารนี้ให้เต็ม ดังนั้นสกังก์จึงไม่ใช้วิธีนี้บ่อย ๆ หากไม่จำเป็นจริง ๆ[7]

สกังก์ มีฤดูผสมพันธุ์ในช่วงต้นของฤดูใบไม้ผลิ มีระยะเวลาการตั้งท้องประมาณ 9 สัปดาห์ โดยปกติแล้วจะออกลูกเพียงแค่ครอกเดียวต่อปี และโดยปกติแล้วจะมีลูกประมาณ 3-4 ตัวต่อครอก ลูกสกังก์จะไม่เปิดตาจนกระทั่งมีอายุได้ 3 สัปดาห์ และหย่านมเมื่ออายุได้ 2 เดือน อายุขัยโดยเฉลี่ยในธรรมชาติ สกังก์มีอายุอยู่ได้ได้ระหว่าง 5-6 ปี แต่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ยาวนานมากขึ้นอย่างมากหากอยู่ในที่เลี้ยง[5]

ซึ่งสารเคมีที่สกังก์ปล่อยออกมาสามารถเขียนเป็นสูตรได้ว่า

การจำแนก

[แก้]

สกังก์ สามารถจำแนกออกได้เป็น 4 สกุล 12 ชนิด กระจายพันธุ์ทั่วไปในอเมริกาเหนือจนถึงอเมริกาใต้ และพบบางชนิดในเอเชีย คือ เกาะปาลาวันในฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย

สัตว์เลี้ยง

[แก้]
สกังก์ขนสีขาวล้วนที่เป็นสัตว์เลี้ยงตามบ้าน

ปัจจุบัน ที่สหรัฐอเมริกา ได้มีการนำเอาสกังก์มาเป็นสัตว์เลี้ยงตามบ้าน มีการตั้งชมรมเกี่ยวกับสกังก์ ซึ่งสกังก์ที่เป็นสัตว์เลี้ยงนี้จะถูกตัดต่อมกลิ่นออกแล้ว และมีสีขนที่หลากหลายกว่าในธรรมชาติ เช่น ขาวล้วน หรือสีน้ำตาล

อ้างอิง

[แก้]

หรือ

  1. 1.0 1.1 1.2 itis.gov
  2. "FAMILY Mephitidae". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-24. สืบค้นเมื่อ 2013-01-10.
  3. Don E. Wilson & DeeAnn M. Reeder (2005). Mammal Species of the World. A Taxonomic and Geographic Reference (3rd ed). Johns Hopkins University Press. ISBN 978-0-8018-8221-0.
  4. Dragoo and Honeycutt; Honeycutt, Rodney L (1997). "Systematics of Mustelid-like Carnvores". Journal of Mammalogy. Journal of Mammalogy, Vol. 78, No. 2. 78 (2): 426–443. doi:10.2307/1382896. JSTOR 1382896.
  5. 5.0 5.1 5.2 สกังก์ คู่มือสัตว์รบกวน
  6. 6.0 6.1 Pets 101: Pet Skunks, สารคดีทางอนิมอลพลาเน็ต. ทางทรูวิชั่นส์: พฤหัสบดีที่ 10 มกราคม 2556
  7. 10 การป้องกันตัวแปลกประหลาดของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
pFad - Phonifier reborn

Pfad - The Proxy pFad of © 2024 Garber Painting. All rights reserved.

Note: This service is not intended for secure transactions such as banking, social media, email, or purchasing. Use at your own risk. We assume no liability whatsoever for broken pages.


Alternative Proxies:

Alternative Proxy

pFad Proxy

pFad v3 Proxy

pFad v4 Proxy