ข้ามไปเนื้อหา

อู้ตั่น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อู้
ตั่น
သန့်
อู้ตั่นในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1963
เลขาธิการสหประชาชาติคนที่ 3
ดำรงตำแหน่ง
30 พฤศจิกายน ค.ศ. 1961 – 31 ธันวาคม ค.ศ. 1971
ก่อนหน้าด๊าก ฮัมมาร์เฮิลด์
ถัดไปควร์ท วัลท์ไฮม์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด22 มกราคม ค.ศ. 1909(1909-01-22)
ป้านตะนอ บริติชพม่า บริติชราช
เสียชีวิต25 พฤศจิกายน ค.ศ. 1974(1974-11-25) (65 ปี)
นครนิวยอร์ก รัฐนิวยอร์ก สหรัฐ
สาเหตุการเสียชีวิตมะเร็งปอด
ที่ไว้ศพKandawmin Garden Mausolea ย่างกุ้ง พม่า
เชื้อชาติพม่า
พรรคการเมืองAFPFL (1947 – 1958)
คู่สมรสDaw Thein Tin (died 1989)
บุตร
  • Maung Bo
  • Tin Maung Thant
  • Aye Aye Thant
บุพการี
  • Po Hnit
  • Nan Thaung
ญาติ
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยย่างกุ้ง
ลายมือชื่อ

ตั่น (พม่า: သန့်; เอ็มแอลซีทีเอส: san.; ออกเสียง: [θa̰ɰ̃]; 22 มกราคม พ.ศ. 2452 – 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2517) หรือที่เรียกร่วมกับคำนำหน้าชื่อว่า อู้ตั่น (ဦးသန့်) เป็นนักการทูตชาวพม่า และเป็นเลขาธิการองค์การสหประชาชาติใน ค.ศ. 1961 ถึง 1971 เป็นเวลา 10 ปีกับอีกหนึ่งเดือน[a]

อู้ตั่นเสียชีวิตเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน ค.ศ. 1974 ที่นครนิวยอร์ก สหรัฐ ด้วยโรคมะเร็งปอด รวมอายุได้ 65 ปี

ชีวิตช่วงต้น

[แก้]
ตั่นขณะศึกษาที่มหาวิทยาลัยย่างกุ้งใน ค.ศ. 1927

ตั่นเป็นลูกคนแรกจากลูกชายสี่คนที่เกิดในป้านตะนอ บริติชพม่า จากครอบครัวเจ้าของที่ดินที่ร่ำรวยปานกลางและพ่อค้าข้าว Po Hnit พ่อของเขา ซึ่งจบการศึกษาที่โกลกาตา เป็นบุคคลเดียวในเมืองที่สามารถพูดภาษาอังกฤษได้คล่องแคล่ว[2] โดยเป็นคนก่อตั้งสมาคมวิจัยพม่าและช่วยก่อตั้งหนังสือพิมพ์เดอะซัน (สุริยะ) ที่ย่างกุ้ง[2][3] ถึงแม้ว่าสมาชิกครอบครัวของเขามีเชื้อสายพม่าและนับถือศาสนาพุทธ ตั่น-มหยิ่นอู้ (หลานชายของอู้ตั่น) รายงานว่า พ่อของตั่นมีบรรพบุรุษ "จากทั้งอินเดียและจีน พุทธและมุสลิม เช่นเดียวกันกับไทใหญ่และม้ง"[4] พ่อของเขาหวังว่าลูกชายทั้งสี่จะจบในระดับปริญญา[5] Khant, Thaung และ Tin Maung กลายมาเป็นนักการเมืองและนักวิชาการ[3]

ตั่นมีส่วนร่วมในการตีพิมพ์หนังสือพิมพ์และวารสารบางวส่วนภายใต้นามปากกา "Thilawa" และแปลหนังสือหลายเล่ม ซึ่งรวมไปถึงเล่มหนึ่งของสันนิบาตชาติ[6] เขาได้แรงบันดาลใจจากเซอร์สแตฟฟอร์ด คริปปส์, ซุน ยัตเซ็น และมหาตมา คานธี[7] ในช่วงวิกฤตการเมืองพม่า ตั่นอยู่ตรงกลางระหว่างกลุ่มชาตินิยมกับกลุ่มจงรักภักดีต่ออังกฤษ[8]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. รวม 3,683 วัน ซึ่งรวมช่วงว่างตำแหน่งหนึ่งเดือนในเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม ค.ศ. 1966[1]

อ้างอิง

[แก้]
  1. UN website's biography of Thant
  2. 2.0 2.1 Bingham 1966, p. 29.
  3. 3.0 3.1 Robert H. Taylor, บ.ก. (2008). Dr. Maung Maung: Gentleman, Scholar, Patriot. Institute of Southeast Asian Studies. pp. 211–212. ISBN 978-981-230-409-4.
  4. Thant Myint-U (2011). Where China Meets India: Burma and the New Crossroad of Asia. New York: Farrar, Straus and Giroux. pp. 76. ISBN 978-0-374-98408-3.
  5. Bingham 1966, p. 32.
  6. Naing, Saw Yan (January 22, 2009). Remembering U Thant and His Achievements เก็บถาวร 2012-03-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. The Irrawaddy.
  7. Dorn 2007, p. 144.
  8. Lewis 2012.

บรรณานุกรม

[แก้]

อ่านเพิ่ม

[แก้]
  • Bernard J. Firestone (2001). The United Nations under U Thant, 1961–1971. Metuchen, N.J: Scarecrow Press. ISBN 0-8108-3700-5.
  • Ramses Nassif (1988). U Thant in New York, 1961–1971: A Portrait of the Third UN Secretary-General. New York: St. Martin's Press. ISBN 0-312-02117-8.
  • Hanwong, L. (2014). ʻŪ than nai thāna lēkhāthikān ʻOngkān Sahaprachāchāt chāo ʻĒchīa khon rǣk [U Thant as the first Asian secretary-general of the United Nations]. In A. Khamson, T. Weerakietsoontorn & C. Khuntong (Eds.), Yō̜n phinit phūsāng prawattisāt ʻĒchīa Tawanʻō̜k Chīang Tai [Reflections on Makers of Southeast Asian History 2] (pp. 131–63). Bangkok: Reviews of Southeast Asian History and Culture Project (TRF). (in Thai)
  • U Thant (1978). View from the UN. Garden City, NY: Doubleday. ISBN 0-385-11541-5.
  • ลลิตา หาญวงศ์. “อูถั่นในฐานะเลขาธิการองค์การสหประชาชาติชาวเอเชียคนแรก.” ใน อรพินท์ คำสอน, ธิษณา วีรเกียรติสุนทร และชลธิชา ขุนทอง (บก.), ย้อนพินิจผู้สร้างประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 2. น. 131–63. กรุงเทพฯ: โครงการวิจัย “ปริทรรศน์ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (สกว.), 2557.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
ก่อนหน้า อู้ตั่น ถัดไป
ด๊าก ฮัมมาร์เฮิลด์
เลขาธิการสหประชาชาติ คนที่ 3
(30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2504 – 31 ธันวาคม พ.ศ. 2514)
ควร์ท วัลท์ไฮม์
pFad - Phonifier reborn

Pfad - The Proxy pFad of © 2024 Garber Painting. All rights reserved.

Note: This service is not intended for secure transactions such as banking, social media, email, or purchasing. Use at your own risk. We assume no liability whatsoever for broken pages.


Alternative Proxies:

Alternative Proxy

pFad Proxy

pFad v3 Proxy

pFad v4 Proxy