ข้ามไปเนื้อหา

เซลล์ต้นกำเนิด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เซลล์ต้นกำเนิด
ลักษณะโครงสร้างดูจากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนทั่วไปของเซลล์ต้นกำเนิดเต็มวัย
รายละเอียด
ตัวระบุ
ภาษาละตินCellula praecursoria
MeSHD013234
THH1.00.01.0.00028, H2.00.01.0.00001
FMA63368
อภิธานศัพท์กายวิภาคศาสตร์

เซลล์ต้นกำเนิด หรือ เซลล์ต้นตอ (อังกฤษ: stem cell) เป็นเซลล์ไม่จำเพาะซึ่งสามารถเจริญ (differentiate) ไปเป็นเซลล์ที่ทำหน้าที่เฉพาะและสามารถแบ่งตัวแบบไมโทซิสเพื่อสร้างเซลล์ต้นกำเนิดเพิ่มได้ เซลล์ต้นกำเนิดพบในสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม แบ่งเซลล์ต้นกำเนิดออกกว้าง ๆ ได้เป็นสองชนิด คือ เซลล์ต้นกำเนิดจากตัวอ่อน (embryonic stem cell) ซึ่งแยกจากมวลเซลล์ชั้นในของตัวอ่อนระยะบลาสโตซิสท์ (blastocyst) และเซลล์ต้นกำเนิดเต็มวัย (adult stem cell) ซึ่งพบในเนื้อเยื่อหลายชนิด ในสิ่งมีชีวิตเต็มวัย เซลล์ต้นกำเนิดและโปรเจนิเตอร์เซลล์ (progenitor cell) ทำหน้าที่เป็นระบบซ่อมแซมของร่างกาย โดยทดแทนเนื้อเยื่อเต็มวัย ในตัวอ่อนที่กำลังเจริญ เซลล์ต้นกำเนิดสามารถเจริญไปเป็นเซลล์ที่ทำหน้าที่เฉพาะได้ทุกชนิด ทั้งเอ็กโทเดิร์ม เอ็นโดเดิร์มและเมโซเดิร์ม ทว่า ยังคงการหมุนเวียนปกติของอวัยวะที่สร้างใหม่ได้ (normal turnover of regenerative organ) เช่น เลือด ผิวหนังและเนื้อเยื่อลำไส้ได้อีกด้วย

แหล่งที่เข้าถึงได้ของเซลล์ต้นกำเนิดเต็มวัยตัวเอง (autologous) ในมนุษย์มีสามแหล่ง คือ

  1. ไขกระดูก ซึ่งต้องอาศัยการสกัดโดยการเก็บ นั่นคือ การเจาะเข้าไปในกระดูก (มักเป็นกระดูกต้นขาหรือสันกระดูกปีกสะโพก)
  2. เซลล์ไขมัน ซึ่งอาศัยการสกัดโดยการดูดไขมัน และ
  3. เลือด ซึ่งอาศัยการสกัดโดยการเจาะเอาเฉพาะส่วนประกอบหนึ่งของเลือด (apheresis) คือ เป็นการดึงเลือดจากผู้บริจาค (ทำนองเดียวกับการบริจาคเลือด) และผ่านเข้าเครื่องซึ่งแยกเซลล์ต้นกำเนิดและคืนเลือดส่วนอื่นคืนให้ผู้บริจาค

เซลล์ต้นกำเนิดยังได้มาจากเลือดสายสะดือไม่นานหลังคลอด ในบรรดาเซลล์ต้นกำเนิดทุกชนิด การเก็บจากตัวเองมีความเสี่ยงน้อยที่สุด ตามนิยาม คือ เก็บเซลล์จากร่างกายของตนเอง แบบเดียวกับที่เก็บสำรองเลือดของตนไว้ตามกระบวนการผ่าตัดแบบไม่เร่งด่วน

เซลล์ต้นกำเนิดเต็มวัยใช้ในการรักษาทางการแพทย์บ่อยครั้ง ตัวอย่างเช่นในการปลูกถ่ายไขกระดูก ปัจจุบัน มนุษย์สามารถเพาะเลี้ยงเซลล์ต้นกำเนิดได้และให้เจริญเปลี่ยนเป็นเซลล์ที่ทำหน้าที่เฉพาะโดยมีคุณสมบัติเข้ากันกับเซลล์ของเนื้อเยื่อหลายชนิด อย่างกล้ามเนื้อหรือเส้นประสาท มีการเสนอว่าเซลล์ไลน์ตัวอ่อนและเซลล์ต้นกำเนิดตัวอ่อนของตนเองที่ถูกสร้างผ่านการโคลนเพื่อการรักษาเป็นทางเลือกที่มีโอกาสสำหรับการรักษาในอนาคต[1] การวิจัยเรื่องเซลล์ต้นกำเนิดมีที่มาจากการค้นพบโดย Ernest A. McCulloch และ James E. Till แห่งมหาวิทยาลัยโตรอนโตในคริสต์ทศวรรษ 1960[2][3]

ประเภท

[แก้]
เซลล์ต้นกำเนิดตัวอ่อนแบบ pluripotent เกิดขึ้นเป็นมวลเซลล์ชั้นใน (ICM) ภายในบลาสโตซิสต์ เซลล์ต้นกำเนิดเหล่านี้สามารถกลายเป็นเนื้อเยื่อใดในร่างกายก็ได้ ยกเว้นรก เฉพาะเซลล์จากตัวอ่อนระยะมอรูลาที่มีคุณสมบัติ totipotent คือ สามารถกลายเป็นเนื้อเยื่อทุกชนิดในร่างกายและรกนอกตัวอ่อนได้

เซลล์ต้นกำเนิดจัดตามแหล่งที่ได้มาเป็น 2 ชนิดคือ

  • เซลล์ต้นกำเนิดจากตัวอ่อนมนุษย์ (Embryonic Stem Cell) คือ เซลล์ต้นกำเนิดที่เก็บส่วนของ inner cell mass จากตัวอ่อนของมนุษย์หรือสัตว์ที่ยังอยู่ในครรภ์ในระยะ blastocyst เซลล์ต้นกำเนิดในระยะนี้จะมีอายุเพียง 3-5 วัน หลังการปฏิสนธิ แต่สามารถเจริญเปลี่ยนแปลงไปเป็นเซลล์ที่ทำหน้าที่เฉพาะได้ทุกชนิด
  • เซลล์ต้นกำเนิดจากเนื้อเยื่อที่โตเต็มวัย (Adult Stem Cell) คือเซลล์ต้นกำเนิดที่เก็บจากเนื้อเยื่อที่โตเต็มวัย เช่นจาก ไขกระดูก เลือด ผิวหนัง ฟันน้ำนม เป็นต้น

และมีการจำแนกตามความสามารถในการนำไปพัฒนาได้อีก 3 ชนิด คือ

  1. Totipotent cell คือ เซลล์ที่พัฒนาไปได้แบบไม่จำกัด เช่น เซลล์ตัวอ่อนมนุษย์
  2. Pluripotent cell คือ เซลล์ที่พัฒนาไปได้หลายแบบ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเนื่อเยื่อต่างๆของสิ่งมีชีวิต
  3. Unipotent cell คือ เซลล์ที่พัฒนาไปเป็นเซลล์จำเพาะชนิดใดชนิดหนึ่งเท่านั้น

การรักษา

[แก้]
โรคและสภาพซึ่งการรักษาด้วยเซลล์ต้นกำเนิดมีโอกาสหรือกำลังเกิดขึ้น อย่างไรก็ดี จนถึงปี 2552 การปลูกถ่ายไขกระดูกยังเป็นการใช้เซลล์ต้นกำเนิดที่ได้รับการยอมรับเพียงอย่างเดียว

นักวิจัยทางการแพทย์เชื่อว่าการรักษาด้วยเซลล์ต้นกำเนิดมีศักยภาพเปลี่ยนแปลงการรักษาโรคของมนุษย์อย่างสำคัญ มีการรักษาด้วยเซลล์ต้นกำเนิดเต็มวัยหลายชนิดแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปลูกถ่ายไขกระดูกซึ่งใช้รักษามะเร็งเม็ดเลือดขาว[4] ในอนาคต นักวิจัยทางการแพทย์คาดว่าจะสามารถใช้เทคโนโลยีที่มาจากการวิจัยเซลล์ต้นกำเนิดเพื่อรักษาอีกหลายโรค รวมถึง มะเร็ง, โรคพาร์กินสัน, การบาดเจ็บของไขสันหลัง, โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเอแอลเอส, โรคมัลติเพิล สเกลอโรซิส และการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ ตลอดจนความบกพร่องและสภาพอื่นอีกจำนวนหนึ่ง[5][6] อย่างไรก็ดี ยังมีความไม่แน่นอนทางสังคมและวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการวิจัยเซลล์ต้นกำเนิดอยู่มาก ซึ่งต่อไปอาจเอาชนะได้ด้วยการถกเถียงสาธารณะ การวิจัยในอนาคตและการศึกษาของสาธารณะเพิ่มเติม

ความกังวลหนึ่งของการรักษา คือ ความเสี่ยงที่เซลล์ต้นกำเนิดที่ได้รับการปลูกถ่ายอาจเกิดเป็นเนื้องอกและกลายเป็นมะเร็งหากเซลล์ยังแบ่งตัวอย่างควบคุมไม่ได้[7]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Tuch BE (2006). "Stem cells—a clinical update". Australian Family Physician. 35 (9): 719–21. PMID 16969445.
  2. Becker AJ, McCulloch EA, Till JE (1963). "Cytological demonstration of the clonal nature of spleen colonies derived from transplanted mouse marrow cells". Nature. 197 (4866): 452–4. Bibcode:1963Natur.197..452B. doi:10.1038/197452a0. PMID 13970094.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  3. Siminovitch L, McCulloch EA, Till JE (1963). "The distribution of colony-forming cells among spleen colonies". Journal of Cellular and Comparative Physiology. 62 (3): 327–36. doi:10.1002/jcp.1030620313. PMID 14086156.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  4. Gahrton G, Björkstrand B (2000). "Progress in haematopoietic stem cell transplantation for multiple myeloma". J Intern Med. 248 (3): 185–201. doi:10.1046/j.1365-2796.2000.00706.x. PMID 10971785.
  5. Lindvall O (2003). "Stem cells for cell therapy in Parkinson's disease". Pharmacol Res. 47 (4): 279–87. doi:10.1016/S1043-6618(03)00037-9. PMID 12644384.
  6. Goldman S, Windrem M (2006). "Cell replacement therapy in neurological disease". Philos Trans R Soc Lond B Biol Sci. 361 (1473): 1463–75. doi:10.1098/rstb.2006.1886. PMC 1664668. PMID 16939969.
  7. "Stem-cell therapy: Promise and reality." Consumer Reports on Health 17.6 (2005): 8–9. Academic Search Premier. EBSCO. Web. 5 Apr. 2010.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
ทั่วไป
วารสารที่มีการทบทวน
pFad - Phonifier reborn

Pfad - The Proxy pFad of © 2024 Garber Painting. All rights reserved.

Note: This service is not intended for secure transactions such as banking, social media, email, or purchasing. Use at your own risk. We assume no liability whatsoever for broken pages.


Alternative Proxies:

Alternative Proxy

pFad Proxy

pFad v3 Proxy

pFad v4 Proxy