แมคดอนเนลล์ดักลาส เอ็มดี-80
แมคดอนเนลล์ดักลาส เอ็มดี-80 | |
---|---|
เอ็มดี 81 ของสวิสแอร์ ลูกค้าเปิดตัว | |
ข้อมูลทั่วไป | |
บทบาท | อากาศยานลำตัวแคบแบบไอพ่น |
ชาติกำเนิด | สหรัฐอเมริกา |
บริษัทผู้ผลิต | แมคดอนเนลล์ดักลาส โบอิง (ตั้งแต่สิงหาคม 1997) |
สถานะ | ในประจำการ |
จำนวนที่ผลิต | 1,191 ลำ |
ประวัติ | |
สร้างเมื่อ | ค.ศ. 1979–1999 |
เริ่มใช้งาน | 10 ตุลาคม ค.ศ. 1980 กับสวิสแอร์ |
เที่ยวบินแรก | 18 ตุลาคม ค.ศ. 1979 |
พัฒนาจาก | แมคดอนเนลล์ ดักลาส ดีซี-9 |
พัฒนาเป็น | โบอิง 717 แมคดอนเนลล์ ดักลาส เอ็มดี-90 |
แมคดอนเนลล์ดักลาส เอ็มดี-80 ซีรีส์ (McDonnell Douglas MD-80 series) เป็นเครื่องบินเจ็ต แบบลำตัวแคบ มี 2 เครื่องยนต์ เครื่องบินรุ่นเอ็มดี-80 มีการปรับปรุงทำให้ความยาวของเครื่องเพิ่มขึ้นจากรุ่น แมคดอนเนลล์ ดักลาส ดีซี-9 สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 130–172 คน แต่โดยปกติในสายการบินราคาปกติจะรองรับผู้โดยสาร 140 คน และ 165 คนในสายการบินราคาประหยัด
เอ็มดี-80 เปิดตัวเมื่อ ตุลาคม พ.ศ. 2523 โดยสายการบิน Swissair ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยมีการปรับปรุงพัฒนาต่อเนื่องเป็นรุ่น เอ็มดี-90 ในปี พ.ศ. 2532 และ เอ็มดี-95 หรือ โบอิง 717 ในปี พ.ศ. 2541[1]
การออกแบบและการพัฒนา
[แก้]เครื่องบินดักลาส พัฒนามาจากรุ่น ดีซี-9 ในทศวรรษ 1960s ซึ่งมีขนาดยาวกว่า ดีซี-8 โดย ดีซี-9 ได้มีการออกแบบใหม่ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นส่วนเครื่องยนต์ที่อยู่ด้านหลังของลำตัวเครื่องบิน และหาง โดย ดีซี-9 มีลำตัวที่แคบ โดยมีที่นั่งผู้โดยสั่งฝั่งละ 5 ที่นั่ง และรองรับผู้โดยสารได้ 80–135 คน ขึ้นอยู่กับการจัดการที่นั่งของผู้โดยสารและเครื่องบินในแต่ละเวอร์ชัน
รุ่น เอ็มดี-80 เป็นเครื่องบินรุ่นที่สองของ ดีซี-90 ชื่อเดิมของ เอ็มดี-80 มีชื่อเรียกว่า ดีซี-9-80 หรือ ดีซี-9 ซูปเปอร์ 80 และให้บริการในปี 1980 เอ็มดี-80 ที่พัฒนามาจาก เอ็มดี-90 ให้บริการในปี 1955 การพัฒนาเปลี่ยนแปลงครั้งสุดทายของตระกูล ดีซี-9 คือ เอ็มดี-95 และได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็น โบอิ้ง 717-200 หลังจาก แมคคอนเนลล์ดักลาส ได้ขายกิจการใน โบอิ้ง ในปี 1997
ตระกูล ดีซี-9 เป็นหนึ่งในเครื่องบินเจ็ตที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด โดยสร้างได้มากกว่า 2,400 ลำ เป็นอันดับที่สาม รองมาจาก ตระกูล แอร์บัส เอ-320 ลำดับที่สอง ซึ่งสร้างได้มากกว่า 3,000 ลำ และ โบอิ้ง 737 เป็นอันดับที่หนึ่ง ซึ่งสร้างได้มากกว่า 5,000 ลำ
เอ็มดี-80 ซีรีส์
[แก้]เอ็มดี-80 ซีรีส์ เป็นเครื่องบินขนาดกลาง เปิดตัวในปี 1980 เป็นเครื่องบินรุ่นที่สองของ ตระกูล ดีซี-9 ซึ่งมีเครื่องยนต์ เทอร์โบแฟน ขนาดเล็ก ตั้งอยู่ทางตอนหลังของลำตัวเครื่องบิน มีปีกที่มีประสิทธิภาพสูง และมีหางอยู่ด้านบนในส่วนตอนหลัง (T-tail) เครื่องบินรุ่นนี้มีจุดเด่นคือ มีที่นั่งผู้โดยสารฝั่งละ 5 คน และทำให้ลำตัวเครื่องบินมีความยาวออกไปมากกว่า เอ็มดี-9-50 และสามารถ Take off ได้โดยขณะที่เครื่องบินมีน้ำหนักมาก และมีความสามารถในการบรรทุกน้ำมัน เครื่องบินรุ่นนี้ออกแบบมาสำหรับการใช้งานบ่อย ๆ การเดินทางหรือการขนส่งที่สั้น โดยสามารถรองรับผู้โดยสารได้เพียง 130–172 คนต่อเที่ยวบิน ขึ้นอยู่กับเวอร์ชันของเครื่องบินและการจัดการที่นั่งของแต่ละสายการบิน
การพัฒนาเครื่องบินรุ่น เอ็มดี-80 เริ่มพัฒนาขึ้นในปี 1970 ขณะที่ยังมีการขยายตัวและเพิ่มขึ้นของเครื่องบินรุ่น ดีซี-9 ซีรีส์ 50 Pratt & Whitney JT8D เป็นเครื่องยนต์ใหม่ที่ใช้ขับเคลื่อนเครื่องบินรุ่น ดีซี-9 ซีรีส์ 55 ซีรีส์ 50 และ ซีรีส์ 60 ในการออกแบบมีความพยายามที่จะติดตั้งให้กับเครื่องบินรุ่น ดีซี-9 ซีรีส์ 55 ในเดือน สิงหาคม 1977 และใช้งานได้จริงในปี 1980 จากการออกแบบในครั้งนี้ ทำให้สายการบินมีความต้องการเป็นจำนวนมาก ทำให้สายการบิน Swissair ได้ปล่อยเครื่องบิน ซีรีส์ 80 ออกมาในเดือน ตุลาคม 1977 และมีคำสั่งซื้อมากกว่า 15 ลำ
ซีรีส์ 80 มีความยาวของลำตัวซึ่งยาวกว่า ดีซี-9-50 14 ฟุต 3 นิ้ว ปีกของ ดีซี-9 มีการออกแบบใหม่ โดยเพิ่มความยาวของปีกหลักและจุดปลายสุดของปีกอีก 28% ซีรีส์ 80 เริ่มบินครั้งแรก เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 1979
หลังจากให้บริการปี 1980 โดยเริ่มแรกมีการรับรองเครื่องบินเวอร์ชันของ ดีซี-9 แต่มีการเปลี่ยนเป็น เอ็มดี-80 ในเดือนกรกฎาคม 1983 ในขณะที่มีการเปลี่ยนแปลงของบริษัท เวอร์ชันใหม่ของซีรีส์ 80 คือ เอ็มดี-81/82/83 และล่าสุดคือ เอ็มดี-87 อย่างไรก็ตาม ดีซี-90-81/82 และรุ่นอื่น ๆ ก็ได้รับใบรับรอง โดยเฉพาะ เอ็มดี-88 ได้มีการให้ใบรับรองชื่อว่า "เอ็มดี" และรวมถึง เอ็มดี-90 ด้วย
ข้อมูลจำเพาะ
[แก้]MD-81 | MD-82 / MD-88 |
MD-83 | MD-87 | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จำนวนนักบิน | 2 คน | |||||
ความจุผู้โดยสาร (ปกติ) |
172 (ชั้นโดยสารเดียว) 155 (สองชั้นโดยสาร) |
139 (ชั้นโดยสารเดียว) 130 (สองชั้นโดยสาร) | ||||
ความยาว | 147 ft 8 in (45.01 m) | 130 ft 4 in (39.73 m) | ||||
ความยาวปีก | 107 ft 8 in (32.82 m) | |||||
พื้นที่ปีก | 1,209 sq ft (112.3 m2) | |||||
Tail height | 29 ft 7 in (9.02 m) | 30 ft 4 in (9.25 m) | ||||
ความกว้างของลำตัว | 11 ft (3.35 m) | |||||
ความจุสินค้า | 1,253 คิวบิกฟุต (35.5 ลูกบาศก์เมตร) | 1,103 คิวบิกฟุต (31.2 ลูกบาศก์เมตร) | 937 คิวบิกฟุต (26.5 ลูกบาศก์เมตร) | |||
น้ำหนักบรรทุกเปล่า | 77,900 lb (35,300 kg) | 78,000 lb (35,400 kg) | 79,700 lb (36,200 kg) | 73,300 lb (33,200 kg) | ||
น้ำหนักสูงสุดเมื่อนำเครื่องขึ้น (MTOW) |
140,000 lb (63,500 kg) | 149,500 lb (67,800 kg) | 160,000 lb (72,600 kg) | 140,000 lb (63,500 kg) | ||
ความเร็ว | มัค 0.76 (504 mph, 811 km/h) | |||||
พิสัยบิน เมื่อบรรทุกเต็มลำ |
1,570 nmi (2,910 km; 1,810 mi) | 2,050 nmi (3,800 km; 2,360 mi) | 2,500 nmi (4,600 km; 2,900 mi) | 2,370 nmi (4,390 km; 2,730 mi) | ||
ระยะทางสำหรับนำเครื่องขึ้นที่ MTOW (ที่ระดับน้ำทะเล) |
7,200 ft (2,200 m) | 7,300 ft (2,200 m) | 8,000 ft (2,400 m) | 7,500 ft (2,300 m) | ||
ความจุเชื้อเพลิงสูงสุด | 5,850 แกลลอน (22,100 ลิตร) |
5,850 แกลลอน (22,100 ลิตร) |
7,000 แกลลอน (26,000 ลิตร) |
5,840 แกลลอน (22,100 ลิตร) | ||
เครื่องยนต์ (×2) | Pratt & Whitney JT8D-200 series | |||||
แรงผลัก (×2) | 18,500–21,000 lbf (82–93 kN) |
ที่มา: ข้อมูลอย่างเป็นทางการของ MD-80 [2] รายงานท่าอากาศยานสำหรับ MD-80 (Airport Report) [3] ข้อมูลจำเพาะของ MD-80[4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ The McDonnell Douglas MD-81/82/83/88Airliners
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-14. สืบค้นเมื่อ 2016-07-18.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-11. สืบค้นเมื่อ 2016-07-18.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "Airport Compatibility". Boeing. สืบค้นเมื่อ 2015-07-10.