ลาว (กลุ่มชาติพันธุ์)
ประชากรทั้งหมด | |
---|---|
ป. 4 ล้านคน (ไม่รวมชาวอีสาน)[a][1] | |
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ | |
ลาว 3,427,665[2] | |
ไทย | 17,222,432 (รวมคนอีสานในประเทศไทย)[3] |
ฝรั่งเศส | 200,000[4] |
สหรัฐอเมริกา | 200,000 (2015)[5] |
กัมพูชา | 23,000[b][1] |
แคนาดา | 24,580 (2016)[6] |
พม่า | 17,000[1] |
เวียดนาม | 17,532[7] |
เยอรมนี | 4,000[8] |
ภาษา | |
ลาว | |
ศาสนา | |
พุทธเถรวาท, ศาสนาพื้นเมืองลาว | |
กลุ่มชาติพันธุ์ที่เกี่ยวข้อง | |
ชาวไทอื่น ๆ (เช่น ชาวไทดำ, ชาวอีสาน, ชาวไต่ ฯลฯ) |
ลาว (ลาว: ລາວ) เป็นหนึ่งในกลุ่มชาติพันธุ์ที่ใช้ตระกูลภาษาขร้า-ไท เป็นชนชาติใหญ่ที่สุดและมีจำนวนมากที่สุดในประเทศลาว มีประชากรประมาณ 14 ล้านคน ซึ่งคิดเป็นเป็นจำนวนร้อยละ 53.2 ส่วนที่อื่น ๆ อาศัยอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ชาวลาวบางส่วนได้อพยพไปตั้งถิ่นฐานที่สหรัฐอเมริกาและทวีปยุโรป ชาวลาวส่วนใหญ่ใช้ภาษาลาวเป็นภาษาที่พูดกันในชีวิตประจำวัน
ชาวลาวส่วนมากจะนับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท และบางส่วนยังนับถือควบคู่ไปกับลัทธิภูตผีวิญญาณต่าง ๆ แม้ชาวลาวจะตกอยู่ภายใต้อำนาจของชนชาติต่าง ๆ แต่ก็ยังรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีของตนได้เป็นอย่างดี
ชื่อเรียก
[แก้]ศัพทมูลวิทยา ของคำว่า ลาว ยังไม่เป็นที่แน่ชัด แต่เป็นที่สันนิษฐานกันว่าอาจจะมีความเกี่ยวข้องกับเผ่า อ้ายลาว (ลาว: ອ້າຍລາວ, อีสาน: อ้ายลาว, จีน: 哀牢; พินอิน: Āiláo, เวียดนาม: ai lao) ซึ่งเป็นชนเผ่าที่ปรากฏในบันทึกสมัยราชวงศ์ฮั่นของจีน โดยอาศัยอยู่ที่บริเวณมณฑลยูนนานในปัจจุบัน ต่อมาชนเผ่าที่สืบเชื้อสายมาจากเผ่าอ้ายลาวรวมถึงเผ่าไทได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[9] นักวิชาการสมัยใหม่ได้ตั้งคำถามเกี่ยวกับการสร้างอัตลักษณ์ทางชาติพันธ์ของลาว ซึ่งเป็นหนึ่งในชาติพันธ์ที่พูดตระกูลภาษาขร้า-ไท โดย แกรนท์ อีวานส์ (Grant Evans) และ Søren Ivarsson เสนอว่าอัตลักษณ์ทางชาติพันธ์ของลาวอย่างที่เข้าใจกันในปัจจุบัน อาจเป็นสิ่งที่ฝรั่งเศสสร้างขึ้นในยุคล่าอาณานิคม เพื่อโต้แย้งอำนาจของไทยในดินแดนฝั่งขวาของแม่น้ำโขง และสร้างความเป็นชาตินิยม[10] และอีวานส์ยังเชื่อว่า คำว่าลาว ถูกใช้โดยชาติตะวันตกอย่างจริงจังเป็นครั้งแรก (โดยเฉพาะโปรตุเกส) ราวคริสต์ศตวรรษที่ 16 เมื่อเข้ามาค้าขายในแถบสุวรรณภูมิ เนื่องจากฝรั่งที่เข้ามาติดต่อค้าขายและสำรวจพื้นที่ ต้องการคำไว้ใช้เรียกผู้คน และดินแดนที่อยู่เลยไปจากอำนาจปกครองของอยุธยาอย่างคร่าวๆ[11]
คำเรียกภาษาอังกฤษจะเรียกว่า Laotian ใช้สลับกันได้กับลาวในบริบทส่วนใหญ่มาจากฝรั่งเศส Laotien / Laotienne โดยชาวลาวส่วนใหญ่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยจะมีดีเอ็นเอใกล้เคียงกับชาวลาวในเวียงจันทร์[12] โดยคนไทยจะเรียกตามแบบภาษาไทยว่า อีสาน หรือ "ไทยอีสาน" (ลาว: ໄທ ອີສານ, อีสาน: ไทยอีสาน) ซึ่งมาจากคำภาษาสันสกฤตที่หมายความว่า "ตะวันออกเฉียงเหนือ" แต่คำว่า "ลาว" ก็ยังคงใช้อยู่[13]
ภาษาและอักษร
[แก้]ภาษาลาว (ພາສາລາວ) เป็นภาษาที่ใช้เป็นส่วนใหญ่ในประเทศลาว ส่วนอักษรเขียนอย่างเป็นทางการจะใช้อักษรลาว[14] และเป็นภาษาพูดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ประชากรประมาณครึ่งหนึ่งสื่อสารโดยใช้ภาษาของชนกลุ่มน้อยเช่น ตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก, ตระกูลภาษาจีน-ทิเบต, ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน และ ตระกูลภาษาม้ง-เมี่ยน เป็นต้น
การแบ่งย่อย
[แก้]ใน ประเทศลาว มีความแตกต่างเล็กน้อยระหว่างลาวกับกลุ่มชาติพันธ์อื่นๆ มีเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด เช่น ชาวไท กับภาษาเข้าใจร่วมกันที่มีการจัดกลุ่มเข้าด้วยกัน เป็น ลาวโลม หรือ "ลุ่มลาว" (ลาว: ລາວລຸ່ມ láːu lūm , Thai: ลาวลุ่ม, IPA: laːw lum) กลุ่มเหล่านี้ส่วนใหญ่มีลักษณะทางวัฒนธรรมร่วมกันหลายอย่างและพูดภาษาหรือสำเนียงที่คล้ายกันมาก มีความแตกต่างเพียงเล็กน้อยในโทนเสียง คำศัพท์และการออกเสียงของคำบางคำ แต่ก็ไม่เป็นอุปสรรคต่อการสนทนา แต่หลายกลุ่มเหล่านี้ เช่น ไทญ้อ หรือ ภูไท พิจารณาตัวเองว่ามีแตกต่างกัน และมักมีความแตกต่างในเสื้อผ้าที่แยกความแตกต่างออกไป[15]
ประวัติ
[แก้]การอพยพของชาวไท
[แก้]ตามตำนานร่วมกันระหว่างเผ่าไทต่างๆ กษัตริย์ที่อาจเป็นตำนานหรือ ขุนบรม กษัตริย์แห่งเมืองแถน (ເມືອງແຖນ) ได้ให้กำเนิดลูกชายหลายคนซึ่งได้แยกย้ายกันไปตั้งถิ่นฐานและก่อตั้งอาณาจักรของตนเอง หรือเมืองรัฐทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และทางตอนใต้ของประเทศจีน[16] สืบเชื้อสายมาจากชาวจีนยุคโบราณที่รู้จักกันในชื่อว่า เย่ว์ และ อ้ายลาว ชนเผ่าไทเริ่มอพยพเข้าสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เมื่อต้นสหัสวรรษที่ 1 แต่การโยกย้ายถิ่นฐานขนาดใหญ่เกิดขึ้นระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 7 และ 13 โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากบริเวณ สิบสองปันนา, ยูนนาน และ กวางสี ในปัจจุบัน เหตุผลที่เป็นไปได้สำหรับการโยกย้ายถิ่นชาวไทมากจากการกดดันจากการขยายดินแดนของชาวจีนฮั่น และการรุกรานมองโกล เพื่อหาที่ดินเหมาะสำหรับปลูกข้าวเปลือกเพิ่ม และนำไปสู่การล่มสลายของรัฐที่ชาวไทอาศัยอยู่[17][18]
ชาวไทซึมซับหรือปลีกตัวเองออกวัฒนธรรมพื้นเมืองของตน และรับเอาตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก (มอญ-เขมร) มาใช้ และตั้งรกรากอยู่ที่ขอบอาณาจักรที่ได้รับอิทธิพลจากอินเดีย ได้แก่ กลุ่มอาณาจักรมอญ และ จักรวรรดิเขมร การผสมผสานของชนชาติและการไหลบ่าเข้ามาของปรัชญา ศาสนา ภาษา วัฒนธรรมและประเพณี จากอินเดีย ได้ถูกรับเข้ามาและปรับเข้าสู่วัฒนธรรมของชาวไท แต่ชาวไทก็ยังคงติดต่อกับกลุ่มชาวไทจากเมืองอื่นๆ[19]
สมัยล้านช้าง
[แก้]รัฐของชาวไทได้ใช้ประโยชน์จากความเสื่อมของจักรวรรดิเขมร และประกาศตนออกมาเป็นอิสระ สำหรับชาวลาวนับเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ชาติของพวกเขาจนถึงเวลานี้ เห็นได้จากอนุสาวรีย์ที่สำคัญจำนวนมาก, วัด, งานศิลปะ, และด้านอื่น ๆ ของวัฒนธรรมลาว ได้ถือกำเนิดมาจากช่วงเวลานี้ จากจุดนี้ชาวลาวมักอ้างถึงรัฐไทบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาว่า ไทยสยาม[20] และเรียกรัฐไทอาณาจักรล้านช้าง หรือบริเวณประเทศลาวในปัจจุบันว่า "คนลาว"
อาณาจักรลาวล้านช้าง หรือ "แผ่นดินแห่งช้างล้านตัว" เริ่มในปี ค.ศ. 1354 เมื่อพระยาฟ้างุ้ม (ຝ້າງູ່ມ) (ค.ศ. 1354 - 1373) กลับมายังเมืองซวา (ເມືອງຊວາ, เปลี่ยนชื่อเป็น เซียงทอง หรือ "เชียงทอง" (ຊຽງທອງ) ปัจจุบันเป็นที่รู้จักกันในชื่อ หลวงพระบาง จากเมืองนี้ล้านช้างขยายอาณาเขตไปถึงบริเวณของประเทศลาวทั้งหมดและบริเวณที่ราบสูงโคราชของประเทศไทย รวมทั้งบางส่วนของสิบสองปันนาในภาคใต้ของประเทศจีน สิบสองจุไทย ในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศเวียดนาม และ เชียงแตง[21][22] บริเวณจังหวัดสตึงแตรง[23] ของประเทศกัมพูชาในปัจจุบัน
ราชอาณาจักรล้านช้างที่มีประสิทธิภาพมีความมั่งคั่งและมีอิทธิพลเนื่องมาจากทำเลที่ตั้งของเมืองหลวงที่เป็นเส้นทางการค้าที่สำคัญระหว่างอาณาจักรรอบข้างและยังเป็นแหล่งศูนย์กลางของพุทธศาสนาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[24] อาณาจักรยังรุ่งเรืองจากการค้าตามเส้นทางการจราจรตามแนวแม่น้ำโขงและเส้นทางบนบกไปยังท่าเรือต่างๆของสยาม ซึ่งได้เติบโตขึ้นเป็นเมืองท่าธุรกิจที่คึกคักจากการติดต่อค้าขายทางทะเล และไปทางใต้ของประเทศจีนและกลุ่มรัฐที่มีกลุ่มชาวไทอาศัยอยู่ ชาวตะวันตกได้เข้ามาติดต่อกับอาณาจักรล้านช้างครั้งแรกในสมัยพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช (ພຣະເຈົ້າສຸຣິຍະວົງສາທັມມິກຣາດ) (ค.ศ. 1634–1697) ได้มีการบันทึกไว้ว่าราชอาณาจักรรุ่งเรืองจากการส่งออกของ ทอง, เรซิน, กำยาน,ครั่ง, เครื่องเคลือบ สมุนไพร, งาช้าง, ไหม, ผ้าไหมและไม้ วัดต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเซียงทอง (หลวงพระบางปัจจุบัน) และเวียงจันทร์ ได้มีหลักฐานบันทึกถึงเรื่องราวเหล่านี้[25]
ในช่วงเวลานี้ตำนานของขุนบรม ได้ถูกเขียนบันทึกต้นฉบับไว้บนใบลานและมหากาพย์สังข์ศิลป์ชัยก็ได้ถูกบันทึกขึ้นด้วยเช่นกัน พุทธศาสนาเถรวาทเป็นศาสนาประจำชาติและเวียงจันทน์กลายเป็นเมืองสำคัญทางพุทธศาสนา อิทธิพลทางวัฒนธรรมนอกเหนือจากนี้ก็มาจาก ชาวมอญ และ ชาวเขมร การรวมล้านนาไทยเข้ากับอาณาจักรล้านช้างเกิดช่วงสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช (ພຣະເຈົ້າໄຊເສດຖາທິຣາດ) (ค.ศ. 1548–1572) นำไปสู่การพัฒนาสถาปัตยกรรมและศิลปะจำนวนมาก ในด้านศิลปะได้เลียนแบบศิลปะของล้านนา การรับเอาวัฒนธรรมล้านนามาใช้ในอาณาจักรล้านช้างรวมไปถึงวัฒนธรรมทางปัญญาด้วย เช่น หอสมุดของล้านนาถูกคัดลอก รวมทั้งวรรณกรรมทางศาสนามาก นี้อาจนำไปสู่การยอมรับหรืออาจนำมาประยุกต์ใช้ใหม่ของตัวเมืองที่มาจากภาษามอญ นำมาใช้ในอาณาจักรล้านช้างสำหรับงานเขียนด้านศาสนา
อาณาจักรล้านช้างถูกแบ่งออกเป็นสามอาณาจักร ได้แก่ อาณาจักรจำปาศักดิ์ อาณาจักรเวียงจันทน์และอาณาจักรหลวงพระบาง ซึ่งต่อมาทั้งสามอาณาจักรก็ได้ตกอยู่ภายใต้การปกครองของสยาม ส่วนที่เหลือของกลุ่มล้านช้างได้รวบรวมผู้คนของพวกเขาขึ้นในศตวรรษที่ 18 และ 19 นำไปสู่การก่อกบฏในลาวของเจ้าอนุวงศ์ (ເຈົ້າອນຸວົງ) ต่อต้านอิทธิพลของสยามขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 แต่ก็ถูกปราบปรามจนพ่ายแพ้ไป[26]
วัฒนธรรม
[แก้]การแต่งกาย
[แก้]การแต่งกายของชาวลาวจะแตกต่างกันไปตามกลุ่มชาติพันธุ์ แต่ในโอกาสที่เป็นทางการหรืองานพิธีการ ผู้หญิงลาวจะนุ่งผ้าซิ่น, ผ้าถุง, ใส่เสื้อแขนยาวทรงกระบอกหรือ "เสื้อปัด" (ເສື້ອປັດ) และไว้ผมเกล้ามวยประดับดอกไม้ สำหรับผู้ชายมักแต่งกายแบบสากล หรือนุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อชั้นนอกกระดุมเจ็ดเม็ด คล้ายเสื้อพระราชทานของไทย
อาหาร
[แก้]อาหารลาวมีความคล้ายคลึงกับอาหารในภูมิภาคอื่น ๆ เช่นอาหารไทยและกัมพูชา แต่มีลักษณะเด่นแตกต่างกันหลายประการที่ไม่ซ้ำกัน อาหารที่มีชื่อเสียงที่สุดของประเทศลาวคือ ลาบ และส้มตำลาว ซึ่งสองอาหารดังกล่าวเป็นอาหารดั้งเดิมของลาว[27] อาหารของลาวในประเทศลาวและภาคอีสานของไทยแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย ความแตกต่างที่สำคัญคือ อาหารลาวขาดอิทธิพลของอาหารไทยและอาหารอีสานในไทยจะขาดอิทธิพลจากอาหารฝรั่งเศสที่มีอิทธิพลต่ออาหารลาว
สำหรับอาหารลาว ข้าวเป็นวัตถุดิบหลักในการปรุงอาหาร ข้าวที่นิยมใช้ปรุงมากที่สุดคือข้าวเหนียว (ເຂົ້າຫນຽວ) ซึ่งเป็นวัตถดิบที่นิยมในภาคอีสานและภาคเหนือของประเทศไทยเช่นกัน ซึ่งทั้งสองได้รับอิทธิพลจากอาหารลาว แม้ว่าบางครั้งถูกแทนที่ด้วยก๋วยเตี๋ยวหรือวัตถุดิบอื่นๆ วัตถุดิบที่นิยมรองลงมาจะถูกใช้โดยทั่วไปเป็นส่วนประกอบของซอส, ผักดิบ, อาหารลาวบางอย่างจะมีรสเผ็ดมากโดยการใช้พันธุ์พริกหลายชนิดในการปรุง ซึ่งจะปรุงรสด้วยสมุนไพรและซอสปลาหมัก[28]
ดนตรี
[แก้]ดนตรีพื้นบ้านดั้งเดิมคือ "ลำลาว" (ລຳລາວ) หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อ หมอลำ ซึ่งจะต่างกับหมอลำในภาคอีสานของไทย โดยหมอลำในประเทศลาวจะใช้สำเนียงลาวในการขับร้องแต่หมอลำในประเทศไทยส่วนใหญ่มักจะนิยมใช้ในภาษาอีสานในการขับร้อง เครื่องดนตรีหลักของดนตรีลาวจะใช้ "แคน" (ແຄນ)[29]
ศาสนา
[แก้]ศาสนาในประเทศลาวเป็นลักษณะผสมผสาน ศาสนาในลาวนั้นได้มาจากสามศาสนาผสมผสานกันอย่างกลมกลืน ถึงแม้ว่าชาวลาวส่วนใหญ่จะอ้างว่าเป็นชาวพุทธ แต่ประเพณีต่างๆมาจากแนวปฏิบัติของศาสนาฮินดูและศาสนาผีซึ่งเป็นศาสนาพื้นบ้าน
พุทธศาสนา
[แก้]พุทธศาสนา (ພຣະພຸດທະສາສນາ) เป็นศาสนาที่ชาวลาวนิยมมากที่สุดและศาสนาประจำชาติในประเทศลาว คิดเป็น 67% ของประเทศและเกือบทั้งหมดของกลุ่มชาติพันธุ์ลาว ซึ่งตัวเลขจริงอย่างจะสูงกว่านี้เล็กน้อย ในขณะที่พุทธศาสนายังมีอิทธิพลต่อกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ อีกหลายกลุ่มซึ่งโดยทั่วไปนับถือศาสนาผีหรือศาสนาพื้นบ้าน[30] นอกจากนี้ยังเป็นศาสนาที่เด่นชัดของประเทศอีสานและประเทศอื่น ๆ ที่อยู่นอกพรมแดนของประเทศลาว ซึ่งผู้คนเหล่านี้ส่วนใหญ่จะเป็นเป็นนิกายเถรวาท (ເຖຣະວາດ) ส่วนศาสนานิกายๆอื่น ได้แก่ อิทธิพลทางประวัติศาสตร์ของพุทธศาสนามหายาน ซึ่งยังคงเป็นนิกายหลักของชนกลุ่มน้อยชาวเวียดนามและชาวจีนที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ในหมู่ชาวลาว
วัดในชุมชนลาวเป็นศูนย์กลางของชุมชนที่ชาวบ้านจะหารือเกี่ยวกับความกังวลใจหรือขอให้พระสงฆ์สำหรับภูมิปัญญาและคำแนะนำ ชาวลาวส่วนใหญ่มักจะหาโอกาสจะเข้าวัดอารามเพื่อเพิ่มพูนความรู้ทางศาสนาและทำบุญ
วันสำคัญที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาของลาว ได้แก่ บุญพระเวส (ບຸນພຣະເວດ), มาฆบูชา (ມະຄະບູຊາ), สงกรานต์ (ສັງຂານ), วิสาขบูชา (ວິສາຂະບູຊາ), วันเข้าพรรษา (ວັນເຂົ້າພັນສາ), วันออกพรรษา (ວັນອອກພັນສາ), กฐิน (ກະຖິນ) นอกจากนี้ ชาวลาวยังมีวันทำบุญหรือ วันพระ (ວັນພຣະ) ในระหว่างช่วงข้างขึ้นข้างแรม จะมีงานมหกรรมวัดซึ่งชาวลาวจะนิยมเข้าร่วมงานวัด โดยการทำบุญและสวดมนต์
ดูเพิ่ม
[แก้]- ภาษาลาว ภาษาที่ชาวลาวใช้สื่อสารกัน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ บางครั้งจัดให้ชาวอีสานเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ต่างหากแต่มีความใกล้ชิดมาก
- ↑ ไม่รวมจังหวัดสตรึงเตรงที่มี 60,000 คน และจังหวัดรัตนคีรีที่มี 18,400 คน
- ↑ 1.0 1.1 1.2 Hattaway, Paul, บ.ก. (2004). Lao. Peoples of the Buddhist World. William Carey Library. p. 149.
- ↑ "Results of Population and Housing Census 2015" (PDF). Lao Statistics Bureau. สืบค้นเมื่อ 1 May 2020.
- ↑ Vapattanawong, Patama. "ชาวต่างชาติในเมืองไทยเป็นใครบ้าง? (Foreigners in Thailand)" (PDF). Institute for Population and Social Research - Mahidol University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-04-12. สืบค้นเมื่อ June 30, 2017.
- ↑ "Présentation du Laos" [Presentation of Laos] (ภาษาฝรั่งเศส). France: French Ministry of Foreign Affairs. 2017. สืบค้นเมื่อ 14 July 2017.
- ↑ "U.S. Immigrant Population by Country of Birth, 2000-Present" (XLSX). migrationpolicy.org. สืบค้นเมื่อ February 14, 2017.
- ↑ Statistics Canada. "Immigration and Ethnocultural Diversity Highlight Tables". สืบค้นเมื่อ 1 June 2016.
- ↑ "Report on Results of the 2019 Census". General Statistics Office of Vietnam. สืบค้นเมื่อ 1 May 2020.
- ↑ https://www.migrationpolicy.org/programs/data-hub/charts/immigrant-and-emigrant-populations-country-origin-and-destination.
{{cite web}}
:|title=
ไม่มีหรือว่างเปล่า (help) - ↑ Fairbank, J. K., Loewe, M., & Twitchett, D. C. (1986). The Ch'in and Han Empires 221 B.C.-A.D. 220 . (1986). The Cambridge history of china. Cambridge, UK: Cambridge University Press.
- ↑ Ivarsson, Søren (2008). Creating Laos: The Making of a Lao Space between Siam and Indochina, 1860–1945. NIAS Press. pp. 240. ISBN 8-7769-4023-3.
- ↑ Ivarsson 2008, pp. 24–25.
- ↑ Srithawong, Suparat; Muisuk, Kanha; Srikummool, Metawee; Mahasirikul, Narongdet; Triyarach, Saksuriya; Sriprasert, Kamnikone; Kutanan, Wibhu (2020-09). "Genetic structure of the ethnic Lao groups from mainland Southeast Asia revealed by forensic microsatellites". Annals of Human Genetics. 84 (5): 357–369. doi:10.1111/ahg.12379. ISSN 1469-1809. PMID 32115685.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ Hayashi, Y. (2003). Practical Buddhism among the thai-lao: religion in the making of a region. Melbourne, Australia: Trans Pacific Press
- ↑ Lao pdr constitution. (1997). Retrieved from laoembassy.com เก็บถาวร 2008-05-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ The Thai and Other Tai-Speaking Peoples
- ↑ Eliot Joshua et al. (2002). Laos Handbook. London: Footprint Publishers.
- ↑ Edmondson, J. A. (2007). The power of language over the past: tai settlement and tai linguistics in southern china and northern vietnam. Harris, J. G., Burusphat, S., Harris, J. (ed). Studies in southeast asian linguistics. Bangkok: Ek Phim Thai Co. Ltd.
- ↑ Church, P. (ed). (2006). A short history of South-East Asia. Vol. XII. Singapore: John Wiley and Sons Asia.
- ↑ Wyatt, D. K., (2003).
- ↑ Cœdès, G. (1921). "The Origins of the Sukhodaya Dynasty" (PDF). Journal of the Siam Society. Siam Heritage Trust. JSS Vol. 14.1b (digital): image. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-10-20. สืบค้นเมื่อ 5 เมษายน 2560.
....formation of the Kingdom of Siam properly so called.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ บ้านจอมยุทธ. สงครามระหว่างไทยกับฝรั่งเศส. เรียกดูเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2556
- ↑ โอเคเนชั่น. ๑๕. สยามเสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง[ลิงก์เสีย]. เรียกดูเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2556
- ↑ ศานติ ภักดีคำ. "เขมร "เขม่น" ไทย ในแบบเรียนประวัติศาสตร์กัมพูชา เก็บถาวร 2009-11-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน". ใน ศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 24 ฉบับที่ 1 มีนาคม 2546, กรุงเทพฯ : มติชน, 2546
- ↑ Town of Luang Prabang
- ↑ Simms, P., & Simms, S. (2001). The Kingdoms of Laos. London, UK: Curzon Press.
- ↑ Askew, Marc, Logan, William, & Long, Colin. (2007). Vientiane: transformations of a lao landscape. New York, NY: Routledge.
- ↑ Asian Bites
- ↑ Fukui, H. (1994). Food and population in a northeast thai village. Honolulu, HI: University of Hawai'i Press.
- ↑ Taylor, J.L. (1993). Forest Monks and the Nation-State: An Anthropological and Historical Study in Northeastern Thailand. Singapore: Institute of Southeast Asian Studies.
- ↑ Cia-the world factbook: laos. (2010, January 05). Retrieved from cia.gov เก็บถาวร 2010-12-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน