ข้ามไปเนื้อหา

การอ้างผลที่ตามมา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Appeal to consequences)

การอ้างผลที่ตามมา[1] (อังกฤษ: Appeal to consequences, argumentum ad consequentiam, คำละตินแปลว่า การให้เหตุผลโดยผลที่จะเกิดขึ้น) เป็นการให้เหตุผลที่สรุปว่าสมมติฐาน (ปกติจะเป็นความเชื่อ) เป็นจริงหรือไม่จริง โดยอาศัยเพียงว่าข้อตั้งจะให้ผลที่ตามมาอันน่าพึงใจหรือไม่น่าพึงใจ การให้เหตุผลเช่นนี้เป็นรูปแบบหนึ่งของ การอ้างอารมณ์ (appeal to emotion) และเป็นเหตุผลวิบัติชนิดหนึ่ง เพราะความน่าพึงใจของผลไม่ได้ทำให้เหตุผลนั้นเป็นจริง นอกจากนั้นแล้ว เพราะจำแนกว่าผลนั้นน่าพึงใจหรือไม่น่าพึงใจ จึงมีมุมมองที่เป็นอัตวิสัยโดยธรรมชาติ คือเป็นจริงสำหรับบางบุคคลเท่านั้น (เทียบกับเหตุผลที่ควรจะเป็นปรวิสัย คือเป็นความจริงกับทุกๆ คน)

รูปแบบทั่วไป

[แก้]

การให้เหตุผลที่อาศัยการอ้างผลที่ตามมาโดยทั่วไปจะมีสองรูปแบบ[2]

รูปแบบเชิงบวก

[แก้]
ถ้า "ก" จริง, "ข" จะเกิดขึ้น
"ข" น่าพึงใจ
ดังนั้น "ก" ต้องเป็นจริง

ดังนั้น จึงมีลักษณะคล้ายกับเหตุผลวิบัติโดย wishful thinking (การคิดตามความปรารถนา)

ตัวอย่าง

[แก้]
  • พายน่าจะเป็นจำนวนตรรกยะ เพราะทำให้ค่านั้นงาม
  • อสังหาริมทรัพย์ปีนี้จะมีค่าเพิ่มขี้นเรื่อยๆ (เพราะ) เจ้าของย่อมยินดีกับกำไรส่วนทุน
  • มนุษย์จะเดินทางได้เร็วกว่าแสง (เพราะ) การเดินทางได้เร็วกว่าแสงจะมีประโยชน์มากในการเที่ยวไปในอวกาศ
  • ชีวิตหลังการตายจะต้องมี (เพราะ) ข้าพเจ้าต้องการจะอยู่ตลอดไป

รูปแบบเชิงลบ

[แก้]
ถ้า "ก" จริง, "ข" จะเกิดขึ้น
"ข" ไม่น่าพึงใจ
ดังนั้น "ก" ต้องไม่จริง

ตัวอย่าง

[แก้]
  • เจตจำนงเสรีต้องมี (เพราะ) ถ้าไม่มี เราทั้งหมดก็จะเป็นเพียงเครื่องกล
  • ทฤษฎีวิวัฒนาการจะต้องไม่จริง (เพราะ) ถ้าเป็นจริงแล้ว มนุษย์ก็จะไม่มีอะไรดีกว่าสัตว์เดรัจฉาน และต้องมีบรรพบุรุษเป็นสัตว์เดียรัจฉาน
  • "ถ้าชายหกคนนี้ชนะคดีนี้ ก็จะหมายความว่าพวกตำรวจมีความผิดฐานเบิกความเท็จ ว่าพวกตำรวจมีความผิดโดยการซ้อมและการข่มขู่ ว่าคำสารภาพนั้นกุขึ้นและไม่ได้รับเข้าเป็นหลักฐานอย่างถูกต้องโดยทำให้พิพากษาลงโทษอย่างผิดพลาด นี้เป็นภาพพจน์ที่น่ารังเกียจจนกระทั่งว่า ทุกคนที่มีเหตุมีผลจะต้องกล่าวว่า การปล่อยให้เป็นเช่นนี้ไม่ถูกแน่" เป็นคำตัดสินของศาลอังกฤษว่าผู้ต้องหามีความผิดในคดี Birmingham Six ซึ่งภายหลังต่อมาชายหกคนก็ได้การตัดสินว่าบริสุทธิ์ (และสิ่งไม่ดีที่ศาลพูดถึงนั้นพิสูจน์ว่าเป็นจริงทุกอย่าง) และรัฐบาลต้องเสียค่าเสียหายให้กับผู้ต้องหา
  • พระเป็นเจ้าจะต้องมี (เพราะ) ถ้าไม่มี ก็จะไม่มีเหตุผลให้เป็นคนดีและชีวิตก็จะไม่มีความหมายอะไร
  • ศีลธรรมที่เป็นปรวิสัยต้องมี (เพราะ) ถ้าไม่มี ก็จะต้องพิจารณาว่า การกระทำที่โหดเหี้ยมเป็นสิ่งที่ยอมรับได้

ในนิติศาสตร์

[แก้]

ในนิติศาสตร์ การให้เหตุผลโดยความไม่สะดวกหรือที่เรียกว่า argumentum ab inconvenienti เป็นการอ้างผลที่ตามมาซึ่งไม่จัดว่าวิบัติ เพราะเป็นการแสดงว่า การกระทำที่เสนอนั้นจะสร้างความยากลำบากเกินเหตุ ยกตัวอย่างเช่น ให้เหตุผลเช่นนี้เพื่อค้านกฎหมายที่บังคับผู้ให้กู้เงินแบบจำนองทรัพย์สิน ให้ต้องตรวจสอบว่าผู้ที่ต้องการยืมเงินมีสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นจริงๆ โดยสอบถามกับสำนักงานศาลทุกๆ แห่งทั่วประเทศ

เชิงอรรถและอ้างอิง

[แก้]
  1. นิพัทธ ผึ้งไผ่งาม (May 2014). "2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง". การใช้เหตุผลวิบัติในการโต้แย้งบนเว็บบอร์ด (PDF) (วิทยานิพนธ์ ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-12-06. สืบค้นเมื่อ 2023-12-08.
  2. Curtis, Gary. "Logical Fallacy: Appeal to Consequences". Logical Fallacies. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-09-22. สืบค้นเมื่อ 2023-12-07.
pFad - Phonifier reborn

Pfad - The Proxy pFad of © 2024 Garber Painting. All rights reserved.

Note: This service is not intended for secure transactions such as banking, social media, email, or purchasing. Use at your own risk. We assume no liability whatsoever for broken pages.


Alternative Proxies:

Alternative Proxy

pFad Proxy

pFad v3 Proxy

pFad v4 Proxy