ข้ามไปเนื้อหา

ปรากฏการณ์ขบวนแห่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Bandwagon effect)

ปรากฏการณ์ขบวนแห่ (อังกฤษ: bandwagon effect) เป็นความโน้มเอียงที่บุคคลจะเริ่มพฤติกรรม ออกสไตล์ หรือมีทัศนคติบางอย่างเพียงเพราะว่า คนอื่น ๆ ก็ทำหรือมีด้วยเช่นกัน[1]

นี่เป็นความเอนเอียงทางประชานที่มติหรือพฤติกรรมของมหาชนสามารถเปลี่ยนไปได้เนื่องกับการปลุกระดมให้กระทำหรือให้เชื่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง[2] เป็นปรากฏการณ์ทางจิตที่การรับเอาความเชื่อ แนวคิด แฟชั่นสมัยนิยม และเทรนด์สามารถเพิ่มขึ้นเพราะเหตุที่มีคนยอมรับมากขึ้น[3] คือ เมื่อคนเริ่มเชื่ออะไรบางอย่างมากขึ้น ก็จะมีคนมาตามขบวนแห่ไม่ว่าจะมีหลักฐานที่สมเหตุสมผลกันหรือไม่

การทำตามหรือเชื่อตามคนอื่นเกิดเพราะบุคคลต้องการจะเหมือนกับคนอื่น หรือเพราะได้ข้อมูลจากคนอื่น อิทธิพลของปรากฏการณ์นี้โดยมากมาจากความต้องการเข้ากับสังคมได้ เพราะเมื่อเลือกทำเลือกเชื่อสิ่งเดียวกันกับคนอื่น ก็จะทำให้เข้ากับกลุ่มสังคมนั้นได้[4] ตัวอย่างก็คือเทรนด์แฟชั่น ที่ความนิยมยิ่ง ๆ ขึ้นของเสื้อผ้าอย่างหนึ่ง หรือสไตล์แบบหนึ่ง ทำให้คนเข้าร่วมขบวนแห่มากขึ้น[5]

เมื่อบุคคลเลือกทำตามเหตุผลโดยได้ข้อมูลจากคนอื่น นักเศรษฐศาสตร์เสนอว่า จะเกิดการสืบต่อข้อมูลเป็นหลั่น ๆ (information cascade) ในสังคม ซึ่งบุคคลจะละเลยข้อมูลที่ตนมีแล้วทำตามคนอื่น[6] เหตุการณ์สืบต่อเป็นหลั่น ๆ อธิบายได้ว่า ทำไมพฤติกรรมจึงไม่ค่อยแน่นอนเพราะทุกคนเข้าใจว่าพฤติกรรมของตนอาศัยข้อมูลที่จำกัดมาก ดังนั้น แฟชั่นสมัยนิยมจึงเกิดได้ง่าย แต่ก็ล้มลงได้ง่ายเช่นกัน

ปรากฏการณ์นี้ตรวจพบในวิชาการหลายสาขา เช่น เศรษฐศาสตร์ การเมือง แพทยศาสตร์ และจิตวิทยา[7] ในจิตวิทยาสังคม ความโน้มเอียงที่บุคคลจะปรับความเชื่อและพฤติกรรมให้เข้ากับบุคคลในกลุ่มเรียกว่า herd mentality หรือ groupthink[8] ส่วนปรากฏการณ์ตรงกันข้ามคือ reverse bandwagon effect หรือ snob effect (ปรากฏการณ์หยิ่ง) เป็นความเอนเอียงทางประชานที่ทำให้บุคคลหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเพราะเชื่อว่า คนอื่นมีพฤติกรรมเช่นนั้น[9]

กำเนิด

[แก้]
รถแห่จริง ๆ ที่เป็นกำเนิดของคำอุปมานี้

แต่การใช้คำอุปมาว่า bandwagon เริ่มขึ้นในปี 1848[10] รถแห่ (bandwagon) ก็คือรถที่วงดนตรีขี่ไปในขบวนแห่ ในวงละครสัตว์ หรือในเหตุการณ์บันเทิงอื่น [11][12]

คำว่า "jump on the bandwagon" (กระโดดขึ้นรถขบวนแห่) เริ่มใช้อย่างนิยมเป็นครั้งแรกในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐปี 1848 เนื่องกับนายแซคารี เทย์เลอร์ เพราะตัวตลกละครสัตว์ที่มีชื่อเสียงในเวลานั้นคือนายแดน ไรซ์ ได้เชื้อเชิญให้นายเทย์เลอร์ขึ้นรถขบวนแห่ละครสัตว์ของเขา เมื่อนายเทย์เลอร์ได้รับความนิยมมากขึ้น และการหาเสียงของเขาประสบความสำเร็จยิ่ง ๆ ขึ้น ก็เลยเริ่มกล่าวกันว่า คู่แข่งของนายเทย์เลอร์น่าจะ "กระโดดขึ้นรถขบวนแห่" เช่นกันถ้าต้องการจะประสบความสำเร็จเหมือน ๆ กัน

ต่อมาในปี 1900 ขบวนรถแห่จึงกลายเป็นปกติในการหาเสียงประธานาธิบดีสหรัฐ[13] หลังจากนั้น คำนี้จึงเริ่มใช้ในทางที่ไม่ดี เพราะแสดงนัยว่า เป็นคนที่สัมพันธ์ตัวเองกับความสำเร็จโดยไม่ได้คำนึงว่าไปเกี่ยวข้องกันในเรื่องอะไร

แม้จะมีกำเนิดเช่นนี้ แต่ตัวปรากฏการณ์เองก็ยังไม่ได้การศึกษาทางวิทยาศาสตร์จนกระทั่งไม่กี่ทศวรรษก่อน[12] การทดลองที่ดังสุดในเรื่องนี้เป็นของนักจิตวิทยาชาวโปแลนด์-อเมริกันในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1950[14][9] แต่ต้องมาถึงในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1980 ที่การศึกษาทางวิชาการกลายเป็นที่นิยมเป็นพิเศษ เมื่อนักวิชาการศึกษาผลของโพล์มติมหาชนที่มีต่อความคิดเห็นของผู้ลงคะแนนเลือกตั้ง[10]

เหตุปัจจัย

[แก้]

ความกดดันและธรรมเนียมทางสังคมมีอิทธิพลต่อมนุษย์แต่ละคนเป็นอย่างมาก เมื่อแนวคิดหรือความเชื่อได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น บุคคลมีโอกาสยอมรับมันเพิ่มขึ้น เมื่อดูเหมือนว่าทุกคนต่างทำอะไรอย่างหนึ่ง ๆ ก็จะมีความกดดันสูงให้ทำตาม[1] โดยความรู้สึกว่ามติหรือความชอบใจของมหาชนนั้นคืออะไรมีแหล่งที่มาหลายแหล่ง

เหตุบางอย่างที่ก่อปรากฏการณ์นี้รวมทั้ง

  • ประสิทธิภาพ คือการทำตามคนอื่นเป็นทางลัดการตัดสินใจ (คือ ฮิวริสติก) อย่างหนึ่ง ทำให้ตัดสินใจได้เร็ว เพราะปกติจะเสียเวลาในการประเมินพฤติกรรมหรือแนวคิดแล้วตัดสินใจว่าควรจะทำอะไร[10]
  • อิทธิพลทางสังคมให้เป็นเหมือนคนอื่น (normative social influence) คือบุคคลมักจะปรับตัวให้เหมือนคนอื่นเพื่อให้เข้าสังคมได้และได้การยอมรับทางสังคม[9] ดังนั้น บุคคลจึงยอมประพฤติหรือมีแนวคิดเช่นเดียวกันกับกลุ่มสังคมเพื่อไม่ให้แปลกต่างกับคนอื่น[1][10]
  • Informational Social Influence (อิทธิพลทางสังคมเกี่ยวกับการมีข้อมูล) คือ บุคคลมักจะทำตามคนอื่นเพราะต้องการจะอยู่ในฝ่ายถูกต้อง โดยสมมติว่า คนอื่น ๆ อาจรู้อะไรมากกว่า หรืออาจเข้าใจสถานการณ์fuกว่า[9] กล่าวอีกอย่างก็คือ บุคคลจะสนับสนุมความเชื่อยอดนิยมเพราะคนส่วนมากเห็นว่าถูกต้อง[10] อนึ่ง เมื่อปรากฏว่าคนโดยมากมีพฤติกรรมอย่างหนึ่ง การไม่ทำเช่นเดียวกันอาจยากขึ้นเรื่อย [1] เมื่อบุคคลเลือกทำตามเหตุผลโดยได้ข้อมูลจากคนอื่น นักเศรษฐศาสตร์เสนอว่า จะเกิดการสืบต่อข้อมูลเป็นหลั่น ๆ (information cascade) ในสังคม ซึ่งบุคคลละเลยข้อมูลที่ตนมีแล้วทำตามคนอื่น[6]
  • กลัวว่าจะพลาดโอกาส คือกลัวว่าจะพลาดโอกาสในสิ่งที่บุคคลอื่นได้จากการกระทำ จึงอาจถูกครอบงำโดยปรากฏการณ์นี้ได้ง่าย[9]
  • ต้องการจะอยู่ในฝ่ายชนะ ซึ่งจะทำให้เสี่ยงให้ตกอยู่ใต้อิทธิพลของปรากฏารณ์นี้ เช่น เมื่อลงคะแนนเสียงเลือกตั้งแก่ผู้สมัครที่กำลังนำคะแนน[9][10]

การกระจาย

[แก้]

ปรากฏการณ์นี้มีกลไกเป็นผลสะท้อนกลับอันเสริมแรงตนเอง กระจายไปได้อย่างรวดเร็วอย่างกว้างขวางโดยเป็นการป้อนกลับเชิงบวก ซึ่งเมื่อมีคนได้รับอิทธิพลเพิ่มขึ้น ก็จะยิ่งเพิ่มทำให้คนอื่น ๆ ได้รับอิทธิพลด้วย[7][9] แนวคิดใหม่ ๆ ที่แรกเริ่มได้การโปรโหมตจากคน ๆ เดียวหรือคนกลุ่มน้อย ๆ สามารถขยายกลายเป็นเรื่องยอดนิยม แม้จะไม่มีหลักฐานอะไรมายืนยันความคิดนั้น ๆ คือ แนวคิดหนึ่งเริ่มต้นอาจมีคนติดตามเป็นกลุ่มน้อย ๆ แล้วก็ขยายจนกระทั่งถึงขีดที่ทำให้สื่อหลัก ๆ เริ่มกล่าวถึงแนวคิดนั้น ๆ ต่อจากนั้นก็จะเกิดปรากฏการณ์นี้ที่แพร่ไปอย่างกว้างขวาง ซึ่งทำให้คนสนับสนุนแนวคิดเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งอาจเป็นผลของกระบวนการ availability cascade เป็นกระบวนการอันเสริมกำลังตนเองที่ความเชื่อบางอย่างเพิ่มความนิยมขึ้นเรื่อย ๆ ในสังคม[9]

ตัวอย่างจริง

[แก้]

ปรากฏการณ์นี้เกิดในการลงคะแนนเสียง[15] สามารถเกิดในระดับบุคคล คือเมื่อเปลี่ยนใจลงคะแนนเสียงเมื่อผู้สมัครรรับเลือกตั้ง[16] หรือนโยบายที่ลงคะแนนให้ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น[17] ที่เปลี่ยนใจก็เพราะต้องการอยู่ฝ่ายชนะ[18] ซึ่งเกิดบ่อยกว่าเมื่อลงคะแนนเสียงแบบไม่ลับ หรือเมื่อมีการเผยแพร่การลงคะแนนเสียงอย่างกว้างขวาง[19]

ปรากฏกการณ์นี้พบได้ในระบบที่นับคะแนนเสียงส่วนมาก เช่น ที่พบทางการเมือง เมื่อบุคคลเปลี่ยนความเห็นตนให้เหมือนกับคนส่วนมาก[20] ซึ่งอาจเกิดเพราะบุคคลอนุมานหาเหตุผลอาศัยสิ่งที่คนอื่นเลือก[21] เช่น "ฉันมีโอกาสผิดพลาดมากกว่าที่คนทั้งหมดนี้จะผิดพลาด"

สำหรับประเทศที่ให้อาสาสมัครทำงานร่วมกับนักการเมือง ความรู้สึกว่าพรรคไหนหรือใครเป็นที่นิยมอาจทำให้เลือกบริจาคเงินหรือร่วมเป็นอาสาสมัครให้ คือจะทำให้แก่นักการเมืองที่รู้สึกว่าเป็นที่นิยมและมีโอกาสได้รับเลือกตั้ง จึงทำให้นักการเมืองเหล่านั้นสามารถหาเสียงเลือกตั้งที่มีประสิทธิผลยิ่ง ๆ ขึ้น[12]

ในเศรษฐศาสตร์

[แก้]
เส้นโค้งอุปสงค์ปกติจะโค้งลง คือเมื่อราคาสูงขึ้น อุปสงค์หรือความต้องการสิ่งนั้น ๆ ก็จะลดลง

นักเศรษฐศาสตร์อเมริกันผู้ได้รับรางวัลโนเบลแกรี่ เบ็กเกอร์อ้างว่า ปรากฏการณ์นี้มีอิทธิพลมากพอเปลี่ยนเส้นโค้งอุปสงค์ (demand curve) ให้กลับโค้งขึ้นได้ เส้นโค้งอุปสงค์ปกติจะโค้งลง คือเมื่อราคาสูงขึ้น อุปสงค์หรือความต้องการสิ่งนั้น ๆ ก็จะลดลง แต่ตามเบ็เกกอร์ เส้นโค้งที่โค้งขึ้นเท่ากับบอกว่า แม้เมื่อราคาจะสูงขึ้น แต่อุปสงค์ก็ยังเพิ่มขึ้นได้[7]

ตลาดการเงิน

[แก้]

ปรากฏการณ์นี้พบในตลาดการเงินโดยลักษณะ 2 อย่าง อย่างแรกก็คือภาวะราคาฟองสบู่ ฟองสบู่มักเกิดในตลาดการงินที่ราคาของหลักทรัพย์ยอดนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อนักลงทุนเข้าแถวประมูลซื้อหลักทรัพย์แล้วทำให้ราคาเพิ่มขึ้น ก็กลับทำให้หลักทรัพย์น่าสนใจยิ่ง ๆ ขึ้น จนกระทั่งราคาพุ่งเกินขอบเขต ทำให้หลักทรัพย์มีมูลค่าทางตลาดเกินจริง[7]

อย่างที่สองคือสภาพคล่องที่ลดลง คือเมื่อมีเหตุการณ์หรือมีข่าวที่ไม่คาดฝัน นักลงทุนมักจะหยุดซื้อขายหลักทรัพย์จนกระทั่งเหตุการณ์ชัดเจนขึ้น ซึ่งลดจำนวนผู้ซื้อผู้ขายในตลาด และลดความคล่องตัวอย่างสำคัญ แล้วทำให้กระบวนการกำหนดราคา (price discovery) บิดเบือนไป ทำให้ราคาหลักทรัพยเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้ เพิ่มความแตกตื่น เพิ่มความไม่แน่นอน แล้วก่อวงจรต่อ ๆ กันไป[7]

เศรษฐศาสตร์จุลภาค

[แก้]

ในเศรษฐศาสตร์จุลภาค ปรากฏการณ์อาจมีผลต่อปฏิสัมพันธ์ระหว่างอุปสงค์กับความชอบใจ[22] ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อความชอบใจซื้อสินค้าโภคภัณฑ์อย่างหนึ่งเพิ่มขึ้นเมื่อจำนวนคนที่ซื้อเพิ่มขึ้น ผู้บริโภคอาจเลือกผลิตภัณฑ์อาศัยความชอบใจของผู้อื่นโดยเชื่อว่ามันดีกว่า ซึ่งอาจเกิดเพราะเห็นคนอื่นซื้อผลิตภัณฑ์นั้น ๆ หรือเห็นว่า สินค้าขาดแคลนเทียบกับสินค้าอื่น ๆ เพราะคนอื่นได้ซื้อของนั้นไปแล้ว นี้เห็นได้กับร้านอาหารที่มีลูกค้ามาก แล้วทำให้ผู้อื่นมองว่าร้านนั้นต้องอร่อยกว่าร้านอื่น[4] ปฏิสัมพันธ์เช่นนี้อาจมีผลบิดเบือนค่าพยากรณ์ของทฤษฎีอุปสงค์และอุปทานซึ่งสมมุติว่า ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อสินค้าโดยอาศัยราคาและความชอบใจของตนเท่านั้น[7]

ในการแพทย์

[แก้]

การตัดสินใจของแพทย์ก็อาจได้รับอิทธิพลจากปรากฏการณ์นี้ด้วย โดยเฉพาะก็คือ มีวิธีการแพทย์ในอดีตซึ่งได้นิยมใช้อย่างกว้างขวาง ซึ่งปัจจุบันได้ถูกพิสูจน์แล้วว่าไม่สมเหตุผล ศาสตราจารย์กิตติคุณทางศัลยศาสตร์ชาวอเมริกันที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสัน[23] ได้เรียกวิธีการแพทย์เช่นนี้ว่า medical bandwagons (ขบวนแห่การแพทย์) ซึ่งเขานิยามว่า เป็นการยอมรับอย่าล้นหลามซึ่งแนวคิด (ทางการแพทย์) ที่ไม่ได้พิสูจน์แต่เป็นที่นิยม[10] ทำให้นำไปใช้รักษาคนไข้มากมายอย่างไม่สมควร และยังขัดขวางการพัฒนาวิธีการรักษาที่สมควรอีกด้วย[24]

งานศึกษาหนึ่งในปี 1979 เกี่ยวกับปรากฏการณ์นี้ทางการแพทย์ระบุว่า แนวคิดหรือการรักษาทางการแพทย์ใหม่ ๆ สามารถแพร่กระจายจนเป็นปกติ นี่เป็นอิทธิพลของปรากฏการณ์นี้ โดยอาจเป็นไปตามลำดับเช่นนี้คือ[25]

  • สื่อข่าวพบวิธีการรักษาใหม่แล้วเผยแพร่ โดยมักตีพิมพ์บทความหลายบท
  • องค์กรต่าง ๆ รวมทั้งองค์กรของรัฐ มูลนิธิที่สนับสนุนงานวิจัย และบริษัทเอกชนก็โปรโหมตการรักษานี้ด้วย โดยเฉพาะเมื่อมีผลประโยชน์เกี่ยวข้อง
  • มวลชนรับรู้เรื่องการรักษาใหม่นี้ แล้วกดดันให้แพทย์ใช้รักษา โดยเฉพาะเมื่อการรักษานี้เป็นของใหม่
  • แพทย์มักจะต้องการยอมรับการรักษาใหม่ เพราะเป็นวิธีแก้ปัญหาที่ดึงดูดใจสำหรับปัญหาที่แก้ยาก
  • เพราะแพทย์ต้องรวมรวมข้อมูลทางการแพทย์อย่างมหาศาลเพื่อให้ทันสมัยในหลักวิชาของตน ๆ บางครั้ง จึงคิดวิเคราะห์เรื่องใหม่ ๆ อย่างไม่เพียงพอ

ในกีฬา

[แก้]

บุคคลที่สนับสนุนทีมกีฬาหนึ่ง ๆ โดยไม่เคยสนใจมาก่อนจนกระทั่งทีมนั้นเริ่มประสบความสำเร็จ อาจจัดได้ว่าเป็นแฟนขบวนแห่[26]

ในเครือข่ายสังคม

[แก้]

เมื่อมีคนใช้เว็บไซต์หรือแอ็ปเครือข่ายสังคมหนึ่ง ๆ มากขึ้น ก็จะทำให้คนอื่น ๆ มีโอกาสยิ่ง ๆ ขึ้นที่จะใช้เว็บไซต์หรือแอ็ปนั้น ๆ โดยเฉพาะเมื่อเห็นว่า สามารถเข้าถึงคนรู้จักออฟไลน์ของตนหลายคน[27]

ในแฟชั่น

[แก้]

ปรากฏการณ์นี้มีอิทธิพลต่อแฟชั่นและเทรนด์แฟชั่น เพราะคนมักจะต้องใส่เสื้อผ้าให้ทันสมัย โดยมักจะได้รับอิทธิพลจากบุคคลที่ตนเห็นบ่อย ๆ เช่นคนดัง คนในสื่อมวลชนเช่นนั้นมักเป็นตัวจุดชนวนให้เกิดสไตล์แฟชั่นปัจจุบัน เมื่อมีคนกลุ่มน้อยเริ่มเลียนแบบคนดังคนหนึ่ง คนอื่นก็มีโอกาสเลียนแบบมากขึ้นเพราะความกดดันทางสังคม หรือความต้องการเข้าสังคม หรือให้คนอื่นยอมรับ[ต้องการอ้างอิง]

ดูเพิ่ม

[แก้]

เชิงอรรถและอ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 Kiss, Áron; Simonovits, Gábor (2014). "Identifying the bandwagon effect in two-round elections". Public Choice. 160 (3/4): 327–344. doi:10.1007/s11127-013-0146-y. JSTOR 24507550. S2CID 155059990.
  2. Schmitt‐Beck, Rüdiger (2015), "Bandwagon Effect", The International Encyclopedia of Political Communication (ภาษาอังกฤษ), American Cancer Society, pp. 1–5, doi:10.1002/9781118541555.wbiepc015, ISBN 978-1-118-54155-5, สืบค้นเมื่อ 2021-04-25
  3. Colman, Andrew (2003). Oxford Dictionary of Psychology. New York: Oxford University Press. p. 77. ISBN 0-19-280632-7.
  4. 4.0 4.1 van Herpen, Erica; Pieters, Rik; Zeelenberg, Marcel (2009). "When demand accelerates demand: Trailing the bandwagon". Journal of Consumer Psychology. 19 (3): 302–312. doi:10.1016/j.jcps.2009.01.001. ISSN 1057-7408. JSTOR 45106190.
  5. D. Stephen Long; Nancy Ruth Fox (2007). Calculated Futures: Theology, Ethics, and Economics. Baylor University Press. p. 56. ISBN 978-1-60258-014-5. สืบค้นเมื่อ 2013-08-30.
  6. 6.0 6.1 Bikhchandani, Sushil; Hirshleifer, David; Welch, Ivo (1992). "A Theory of Fads, Fashion, Custom, and Cultural Change as Informational Cascades" (PDF). Journal of Political Economy. 100 (5): 992–1026. CiteSeerX 10.1.1.728.4791. doi:10.1086/261849. JSTOR 2138632. S2CID 7784814.
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 7.4 7.5 "Bandwagon Effect - Overview, Economics and Finance, Examples". Corporate Finance Institute (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2021-05-12.
  8. Bloom, Linda (2017-08-11). "The Bandwagon Effect | Psychology Today Canada". Psychology Today (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-05-12.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  9. 9.0 9.1 9.2 9.3 9.4 9.5 9.6 9.7 "The Bandwagon Effect: Why People Tend to Follow the Crowd". Effectiviology (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2021-05-12.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  10. 10.0 10.1 10.2 10.3 10.4 10.5 10.6 "Bandwagon Effect - Biases & Heuristics". The Decision Lab (ภาษาอังกฤษแบบแคนาดา). สืบค้นเมื่อ 2021-05-12.
  11. "Bandwagon". Dictionary.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-03-12. สืบค้นเมื่อ 2007-03-09.
  12. 12.0 12.1 12.2 Schmitt‐Beck, Rüdiger (2015). "Bandwagon Effect". The International Encyclopedia of Political Communication. pp. 1–5. doi:10.1002/9781118541555.wbiepc015. ISBN 9781118290750. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-11-15.
  13. "Bandwagon Effect". สืบค้นเมื่อ 2007-03-09.
  14. Asch, Solomon. [1951] 1983. "Effects of Group Pressure upon the Modification and Distortion of Judgments." Pp. 260-70 in Organizational Influence Processes, edited by R. W. Allen and L. W. Porter. Glenview, IL: Scott, Foresman, and Company.
  15. Nadeau, Richard; Cloutier, Edouard; Guay, J.-H. (1993). "New Evidence About the Existence of a Bandwagon Effect in the Opinion Formation Process". International Political Science Review. 14 (2): 203–213. doi:10.1177/019251219301400204. S2CID 154688571.
  16. Barnfield, Matthew (2020-11-01). "Think Twice before Jumping on the Bandwagon: Clarifying Concepts in Research on the Bandwagon Effect". Political Studies Review (ภาษาอังกฤษ). 18 (4): 553–574. doi:10.1177/1478929919870691. ISSN 1478-9299. S2CID 203053176.
  17. Farjam, Mike (2020-06-14). "The Bandwagon Effect in an Online Voting Experiment With Real Political Organizations". International Journal of Public Opinion Research (ภาษาอังกฤษ). 33 (2): 412–421. doi:10.1093/ijpor/edaa008.
  18. Henshel, Richard L.; Johnston, William (1987). "The Emergence of Bandwagon Effects: A Theory". The Sociological Quarterly. 28 (4): 493–511. doi:10.1111/j.1533-8525.1987.tb00308.x. ISSN 0038-0253. JSTOR 4120670.
  19. Zech, Charles E. (1975). "Leibenstein's Bandwagon Effect as Applied to Voting". Public Choice. 21: 117–122. doi:10.1007/BF01705954. ISSN 0048-5829. JSTOR 30022807. S2CID 154398418.
  20. McAllister, Ian; Studlar, Donley T. (1991). "Bandwagon, Underdog, or Projection? Opinion Polls and Electoral Choice in Britain, 1979-1987". The Journal of Politics. 53 (3): 720–740. doi:10.2307/2131577. JSTOR 2131577. S2CID 154257577.
  21. "Beware of the bandwagon effect, other cognitive biases". dumaguetemetropost.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-24. สืบค้นเมื่อ 2017-12-08.
  22. Leibenstein, Harvey (1950). "Bandwagon, Snob, and Veblen Effects in the Theory of Consumers' Demand". Quarterly Journal of Economics. 64 (2): 183–207. doi:10.2307/1882692. JSTOR 1882692.
  23. Rikkers, L. (2002). "The Bandwagon Effect". Journal of Gastrointestinal Surgery. 6 (6): 787–794. doi:10.1016/s1091-255x(02)00054-9. PMID 12504215. S2CID 24723738.
  24. Paumgartten, Francisco José Roma (2016). "Phosphoethanolamine: anticancer pill bandwagon effect". Cadernos de Saúde Pública (ภาษาอังกฤษ). 32 (10): e00135316. doi:10.1590/0102-311X00135316. ISSN 0102-311X. PMID 27783758.
  25. Cohen, Lawrence; Rothschild, Henry (1979). "The Bandwagons of Medicine". Perspectives in Biology and Medicine. 22 (4): 531–538. doi:10.1353/pbm.1979.0037. PMID 226929.
  26. "bandwagon fan". Dictionary.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2020-10-30.
  27. Fu, W. Wayne; Teo, Jaelen; Seng, Seraphina (2012). "The bandwagon effect on participation in and use of a social networking site". First Monday. 17 (5). doi:10.5210/fm.v17i5.3971. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-23.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
pFad - Phonifier reborn

Pfad - The Proxy pFad of © 2024 Garber Painting. All rights reserved.

Note: This service is not intended for secure transactions such as banking, social media, email, or purchasing. Use at your own risk. We assume no liability whatsoever for broken pages.


Alternative Proxies:

Alternative Proxy

pFad Proxy

pFad v3 Proxy

pFad v4 Proxy