ข้ามไปเนื้อหา

ริอา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ริอาทางตอนใต้ของซิดนีย์ ลักษณะนี้ทำให้ซิดนีย์เป็นเมืองท่าที่สำคัญ
ริอาในอ่าวไมซูรุ จังหวัดเกียวโต

ริอา (กาลิเซีย: ría) เป็นช่องเว้าชายฝั่งที่เกิดจากการจมน้ำของหุบเขา เรียกว่า "แม่น้ำหุบเขา" ซึ่งจะเปิดออกสู่ทะเล [1] [2]

การก่อตัว

[แก้]

เวิ้งน้ำที่เกิดจากการทรุดตัวของหุบเขาเรียกว่า "หุบเขาจมน้ำ" ริอาเป็นภูมิประเทศที่แต่เดิมทอดยาวในแนวตั้งฉากกับแนวชายฝั่ง แต่ต่อมาถูกแม่น้ำกัดเซาะกลายเป็นหุบเขาที่จมน้ำ มีลักษณะยาวต่อกันและแตกสาขาเหมือนกิ่งไม้ มีลักษณะของชายฝั่งแบบแดลเมเชียที่พบได้ในประเทศโครเอเชียเกิดจากหุบเขาขนานกับแนวชายฝั่งที่จมอยู่ใต้น้ำ แต่เมื่อภูมิประเทศสูงชันตั้งฉากกับแนวชายฝั่งที่จมน้ำลักษณะแบบนี้คือริอา แต่ถ้าจมลึกไปอีกจะกลายเป็นหมู่เกาะ ในอดีตมีทฤษฎีที่ว่าริอาเกิดจากการทรุดตัวรอบ ๆ หุบเขา แต่เมื่อมีการวิจัยเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และปัจจัยอื่น ๆ แสดงให้เห็นว่าริอาเกิดจากการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลจากสมัยไพลสโตซีน

เวิ้งอ่าวที่สลับซับซ้อนของชสยฝั่งเรียถูกใช้เป็นท่าเรือมาตั้งแต่สมัยโบราณ เพราะมีคลื่นทะเลไม่สูงและน้ำลึกจึงสะดวกในการส้รางท่าเรือ นอกจากนี้ยังมีสภาพแวดล้อมที่เป็นน้ำกร่อยทำให้เกิดการประมงและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเป็นส่วนใหญ่

แต่ด้วยลักษณะแผ่นดินที่มีภูเขาสูงชันใกล้ชายฝั่งที่เป็นที่ราบเล็ก ๆ ทำให้ยากต่อการคมนาคมทางบก ด้วยเหตุนี้บางแห่งจึงมีการคมนาคมทางเรือเพียงอย่างเดียว

คำศัพท์

[แก้]

คำว่าริอา (ría) มาจากภาษากาลิเซียซึ่งมีความเกี่ยวเนื่องกับภาษาสเปนและภาษาโปรตุเกส เนื่องจากแนวริอามีอยู่ตลอดตามแนวชายฝั่งแคว้นกาลิเซียของประเทศสเปน คำนี้จำกัดเฉพาะหุบเขาที่ถูกกัดเซาะจากแม่น้ำขนาดกับแนวผาหินที่ทำมุมฉากกับแนวชายฝั่ง

ในช่วงเวลาหนึ่งนักธรณีสัณฐานวิทยาชาวยุโรป[3] ได้ใช้คำว่า "ริอา" เป็นคำนิยามปากแม่น้ำที่มีขนาดใหญ่ และมีการเรียกฟยอร์ดว่าริอาด้วย เวิ้งน้ำเหล่านี้มีทั้งแคบยาว มีหน้าผาสูงชัน เกิดขึ้นจากภูเขาที่ถูกธารน้ำแข็งกัดเซาะ แต่ในศตวรรษที่ 21 นักธรณีวิทยาและนักธรณีสัณฐานนิยมใช้คำว่า "ริอา" กับหุบเขาที่ถูกแม่น้ำกัดเซาะเท่านั้นดังนั้นจึงไม่รวมฟยอร์ดตามคําจํากัดความก่อนหน้า เพราะฟยอร์ดเกิดจากภูเขาที่ถูกธารน้ำแข็งกัดเซาะ[4][5][6]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 『新版 地学事典』1996年10月20日発行、編集:地学団体研究会、新版地学事典編集委員会、発行:平凡社,ISBN 4-582-11506-3
  2. 『オックスフォード地球科学辞典』2004年5月30日、発行:朝倉書店,ISBN 4-254-16043-7
  3. Gulliver, F.P. (1899). "Shoreline Topography". Proceedings of the American Academy of Arts and Sciences. 34 (8): 151–258. doi:10.2307/20020880. JSTOR 20020880.
  4. Cotton, C.A. (1956). "Rias Sensu Stricto and Sensu Lato". The Geographical Journal. 122 (3): 360–364. doi:10.2307/1791018. JSTOR 1791018.
  5. Goudie, A. (2004) Encyclopedia of Geomorphology. Routledge. London, England.
  6. Bird, E.C.F. (2008) Coastal Geomorphology: An Introduction, 2nd ed. John Wiley and Sons Ltd. West Sussex, England.
pFad - Phonifier reborn

Pfad - The Proxy pFad of © 2024 Garber Painting. All rights reserved.

Note: This service is not intended for secure transactions such as banking, social media, email, or purchasing. Use at your own risk. We assume no liability whatsoever for broken pages.


Alternative Proxies:

Alternative Proxy

pFad Proxy

pFad v3 Proxy

pFad v4 Proxy