ข้ามไปเนื้อหา

เรื้อน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Leprosy)
Leprosy
ชื่ออื่นHansen's disease (HD)[1]
ชายวัย 24 ปีติดโรคเรื้อน
การออกเสียง
สาขาวิชาInfectious disease
อาการความสามารถในการรับความรู้สึกเจ็บลดลง [3]
สาเหตุMycobacterium leprae or Mycobacterium lepromatosis[4][5]
ปัจจัยเสี่ยงการสัมผัส , ภาวะยากจน [3][6]
การรักษาMultidrug therapy[4]
ยาRifampicin, dapsone, clofazimine[3]
ความชุก209,000 (2018)[7]

โรคเรื้อน (อังกฤษ: Leprosy) หรือ โรคแฮนเซน (อังกฤษ: Hansen's disease, ย่อ: HD) เป็นโรคเรื้อรังอันเกิดจากแบคทีเรีย Mycobacterium leprae และ Mycobacterium lepromatosis[8][9] ตั้งตามชื่อแพทย์เจอร์ราด แฮนเซน (Gerhard Hansen) ชาวนอร์เวย์ โรคเรื้อนหลัก ๆ เป็นโรคผิวหนังเส้นประสาทส่วนปลายและเยื่อเมือกระบบทางเดินหายใจส่วนบน รอยโรคที่ผิวหนังเป็นสัญญาณภายนอกหลักอย่างหนึ่ง[10] หากไม่ได้รับการรักษา โรคเรื้อนอาจลุกลาม และสร้างความเสียหายถาวรต่อผิวหนัง เส้นประสาท แขนขาและตาได้ คติชาวบ้านมักเชื่อว่าโรคเรื้อนทำให้ส่วนของร่างกายหลุดออกมา แต่คตินี้ไม่เป็นความจริง แม้ส่วนนั้นอาจชาหรือเป็นโรคจากการติดเชื้อทุติยภูมิ ซึ่งเกิดขึ้นหลังภูมิคุ้มกันของร่างกายต่อสู้กับการติดเชื้อปฐมภูมิ[11][12] การติดเชื้อทุติยภูมิสามารถส่งผลให้สูญเสียเนื้อเยื่อตามลำดับ ทำให้นิ้วมือและนิ้วเท้าสั้นลงและผิดรูปร่าง เพราะกระดูกอ่อนถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย[11][12][13]

แม้วิธีการส่งผ่านโรคเรื้อนจะยังไม่ทราบแน่ชัด ผู้ทำการศึกษาส่วนใหญ่คิดว่า M. leprae ติดต่อจากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่งโดยฝอยละออง[14] การศึกษาได้แสดงว่า โรคเรื้อนสามารถส่งผ่านไปยังมนุษย์ได้โดยอาร์มาดิลโล[15][16][17] ปัจจุบันนี้ โรคเรื้อนทราบกันว่า ไม่ส่งผ่านทางเพศสัมพันธ์และการติดเชื้ออย่างรุนแรงหลังได้รับการรักษาแล้ว มนุษย์กว่า 95% มีภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติ[18] และผู้ป่วยจะไม่แพร่เชื้อหลังรักษาแล้วเพียง 2 สัปดาห์

ระยะฟักตัวน้อยสุดมีรายงานว่าสั้นเพียงไม่กี่สัปดาห์ ตามการเกิดโรคเรื้อนขึ้นอย่างน้อยครั้งมากในทารก ระยะฟักตัวมากสุดมีรายงานว่านานถึง 30 ปีหรือมากกว่า ดังที่สังเกตหมู่ทหารผ่านศึกที่เคยไปอยู่ในพื้นที่การระบาดช่วงสั้น ๆ แต่ปัจจุบันได้อยู่ในพื้นที่ไม่มีการระบาด เป็นที่ตกลงกันทั่วไปว่าระยะฟักตัวเฉลี่ยอยู่ระหว่างสามถึงห้าปี

โรคเรื้อนเป็นโรคที่มนุษย์เป็นมานานกว่า 4,000 ปีแล้ว[19] และเป็นที่รู้จักกันดีในอารยธรรมจีน อียิปต์และอินเดียโบราณ[20] ค.ศ. 1995 องค์การอนามัยโลกประเมินว่า ประชากรโลกระหว่าง 2 และ 3 ล้านคน พิการถาวรเพราะโรคเรื้อนในขณะนั้น[21] ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ประชากรโลก 15 ล้านคนได้รับการรักษาโรคเรื้อน[22] แม้การบังคับกักกันหรือการแยกผู้ป่วยออกนั้น เป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นอีกแล้ว ในสถานที่ซึ่งมีการบำบัดรักษา แต่หลายพื้นที่ของโลกก็ยังมีนิคมโรคเรื้อนอยู่ เคยเชื่อกันว่า โรคเรื้อนติดต่อทางสัมผัสและรักษาได้ด้วยปรอท ซึ่งทั้งหมดเป็นลักษณะของซิฟิลิส ซึ่งอธิบายครั้งแรกใน ค.ศ. 1530 ปัจจุบัน เชื่อกันว่าผู้ป่วยโรคเรื้อนสมัยโบราณหลายคนอาจเป็นโรคซิฟิลิส[23]

ความเป็นที่รังเกียจของสังคมช้านานกับโรคเรื้อนขั้นหนักยังเหลืออยู่ในหลายพื้นที่ และเป็นอุปสรรคสำคัญในการรายงานด้วยตัวเองและเข้ารับการรักษาเบื้องต้น การรักษาอย่างมีประสิทธิภาพมีขึ้นในปลายคริสต์ทศวรรษ 1930 ด้วยการริเริ่มยาแดปโซนและยาดัดแปลง การต้านทานของแบคทีเรียโรคเรื้อนต่อแดปโซนในไม่ช้าได้วิวัฒนาขึ้น และ จากการใช้แดปโซนเกิน ได้แพร่กระจายเป็นวงกว้างด้วย ไม่จนกระทั่งการริเริ่มการรักษาด้วยยาผสมระยะสั้น (multidrug therapy - MDT) ในต้นคริสต์ทศวรรษ 1980 ที่โรคเรื้อนสามารถวินิจฉัยและรักษาได้อย่างประสบผลในชุมชน[24]

MDT สำหรับโรคเรื้อนประเภทเชื้อมาก ประกอบด้วยการรับประทานยาไรแฟมพิซิน แดปโซน และคลอฟาซิมินนานกว่า 12 เดือน ขนาดใช้ที่ปรับให้เหมาะกับเด็กและผู้ใหญ่สามารถหาซื้อได้ตามศูนย์สาธารณสุขหลักทุกแห่งในรูปบลิสเตอร์แพ็ก[24]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Worobec, SM (2008). "Treatment of leprosy/Hansen's disease in the early 21st century". Dermatologic Therapy. 22 (6): 518–37. doi:10.1111/j.1529-8019.2009.01274.x. PMID 19889136. S2CID 42203681.
  2. "Definition of leprosy". The Free Dictionary. สืบค้นเมื่อ 2015-01-25.
  3. 3.0 3.1 3.2 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Aka2012
  4. 4.0 4.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ WHO2014
  5. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ New2008
  6. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Schreuder2016
  7. "Leprosy". www.who.int (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 10 February 2020.
  8. Sasaki S, Takeshita F, Okuda K, Ishii N (2001). "Mycobacterium leprae and leprosy: a compendium". Microbiol Immunol. 45 (11): 729–36. PMID 11791665. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-13. สืบค้นเมื่อ 2011-11-06.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  9. "New Leprosy Bacterium: Scientists Use Genetic Fingerprint To Nail 'Killing Organism'". ScienceDaily. 2008-11-28. สืบค้นเมื่อ 2010-01-31.
  10. Kenneth J. Ryan, C. George Ray, editors. (2004). Ryan KJ, Ray CG (บ.ก.). Sherris Medical Microbiology (4th ed.). McGraw Hill. pp. 451–3. ISBN 0838585299. OCLC 52358530 61405904. {{cite book}}: |author= มีชื่อเรียกทั่วไป (help); ตรวจสอบค่า |oclc= (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  11. 11.0 11.1 "Lifting the stigma of leprosy: a new vaccine offers hope against an ancient disease". Time. 119 (19): 87. May 1982. PMID 10255067. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-08-25. สืบค้นเมื่อ 2011-11-06.
  12. 12.0 12.1 Kulkarni GS (2008). Textbook of Orthopedics and Trauma (2 ed.). Jaypee Brothers Publishers. p. 779. ISBN 8184482426, 9788184482423. {{cite book}}: ตรวจสอบค่า |isbn=: ตัวอักษรไม่ถูกต้อง (help)
  13. "Q and A about leprosy". American Leprosy Missions. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-08. สืบค้นเมื่อ 2011-01-22.
  14. City of Houston Government Center, Health and Human Services. (n.d.). Hansen's disease (leprosy) Retrieved from http://www.houstontx.gov/health/ComDisease/hansens.html
  15. "Probable Zoonotic Leprosy in the Southern United States". The New England Journal of Medicine. สืบค้นเมื่อ April 28, 2011.
  16. "Armadillos linked to leprosy in humans". CNN. 2011-04-28.
  17. Truman, Richard W.; Singh, Pushpendra; Sharma, Rahul; Busso, Philippe; Rougemont, Jacques; Paniz-Mondolfi, Alberto; Kapopoulou, Adamandia; Brisse, Sylvain; Scollard, David M. (April 2011). "Probable Zoonotic Leprosy in the Southern United States". The New England Journal of Medicine. Massachusetts Medical Society. 364 (17): 1626–1633. doi:10.1056/NEJMoa1010536. PMC 3138484. PMID 21524213. สืบค้นเมื่อ 3 May 2011.
  18. "About leprosy: frequently asked questions". American Leprosy Missions, Inc. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-17. สืบค้นเมื่อ October 28, 2011.
  19. Holden (2009). "Skeleton Pushes Back Leprosy's Origins". ScienceNOW. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-09-22. สืบค้นเมื่อ 2010-01-31.
  20. "Leprosy". WHO. 2009-08-01. สืบค้นเมื่อ 2010-01-31.
  21. WHO (1995). "Leprosy disabilities: magnitude of the problem". Weekly Epidemiological Record. 70 (38): 269–75. PMID 7577430.
  22. Walsh F (2007-03-31). "The hidden suffering of India's lepers". BBC News.
  23. Syphilis through history Encyclopædia Britannica
  24. 24.0 24.1 "Communicable Diseases Department, Leprosy FAQ". World Health Organization. 2006-05-25. สืบค้นเมื่อ 2010-01-31.

หนังสืออ่านเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก
pFad - Phonifier reborn

Pfad - The Proxy pFad of © 2024 Garber Painting. All rights reserved.

Note: This service is not intended for secure transactions such as banking, social media, email, or purchasing. Use at your own risk. We assume no liability whatsoever for broken pages.


Alternative Proxies:

Alternative Proxy

pFad Proxy

pFad v3 Proxy

pFad v4 Proxy